แนะนำคณะ

แนะนำคณะ

FACULTY

แนะนำคณะ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถือกำเนิดมาจากโรงเรียนช่างชลประทานสังกัดกรมชลประทาน กระทรวงเกษตราธิการ ซึ่งได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2481โดยระยะแรกเป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรช่างชลประทาน (2 ปี)และมีประวัติความเป็นมายาวนานก่อนจะได้รับการจัดตั้งให้เป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์อย่างเป็นทางการและได้มีการพัฒนาการต่างๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ดังนี้

1 สิงหาคม 2481

ม.ล.ชู ชาติ กำภู ได้จัดตั้งโรงเรียนช่างชลประทาน สังกัดกรมชลประทาน(สามเสน) กระทรวงเกษตราธิการ เปิดทำการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรช่างชลประทาน(2 ปี) เพื่อผลิตช่างชลประทานให้เป็นกำลังสำคัญของกรมชลประทาน สำหรับการสำรวจการออกแบบ การก่อสร้าง การบริหารงานก่อสร้างและบำรุงรักษาโครงการชลประทาน พ.ศ.2485-2492 หยุดสอนในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

2 ตุลาคม พ.ศ. 2492

โรงเรียนการชลประทาน สังกัดกรมชลประทาน กระทรวงเกษตราธิการหลักสูตรประกาศนียบัตรช่างชลประทาน (3 ปี)

23 สิงหาคม พ.ศ. 2494

เปลี่ยน ชื่อเป็น “โรงเรียนการชลประทาน” สมทบเข้าเป็นเครือของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พ.ศ. 2497

คณะวิศวกรรมชลประทาน เครือของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลักสูตรช่างชลประทานบันฑิต (5 ปี)

พ.ศ. 2498

ย้ายคณะฯ จากกรมชลประทาน สามเสน ไปที่กรมชลประทาน ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

พ.ศ. 2507

เปลี่ยนเป็นหลักสูตรวิศวกรรมชลประทานบัณฑิต (4 ปี)คณะวิศวกรรมศาสตร์ : ก้าวแรกของสถาบันชั้นแนวหน้าในด้านวิศวกรรมศาสตร์ของประเทศ

1 มีนาคม พ.ศ. 2509

เปลี่ยน เป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทบวงมหาวิทยาลัย หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (4 ปี)

พ.ศ. 2509-2510

เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร

พ.ศ. 2510-2511

เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา และสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล-ไฟฟ้า

พ.ศ. 2512-2513

เปิดสอนระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรมชลประทาน

1 ตุลาคม พ.ศ. 2513

ย้ายคณะฯ จากกรมชลประทาน ปากเกร็ด มาอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

พ.ศ. 2514-2515

  • เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • ปรับหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล-ไฟฟ้า เป็นสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

พ.ศ. 2518-2519

เปิดสอนระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

พ.ศ. 2519-2520

เปิดสอนระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

พ.ศ. 2522-2523

ย้ายภาควิชาวิศวกรรมเกษตร และวิศวกรรมชลประทาน ชั้นปีที่ 3-4 ไปอยู่วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม

พ.ศ. 2525-2526

เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ และสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

พ.ศ. 2526-2527

เปิดสอนระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ

พ.ศ. 2530-2531

  • เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • เปิดสอนระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

พ.ศ. 2532-2533

  • เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • เปิดสอนโครงการวิศวฯ ภาคพิเศษ 4 สาขา ได้แก่
    • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
    • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
    • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
    • สาขาวิชา วิศวกรรมอุตสาหการ

พ.ศ. 2534

  • ยกเลิกการเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ ภาคพิเศษ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • จัดตั้งศูนย์บริการวิชาการและสนเทศทางวิศวกรรม
  • จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม
  • จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม

พ.ศ. 2535

  • เปิดสอนระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร
  • เปิดสอนโครงการวิศวฯ ภาคพิเศษ สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • รับวิทยาลัยการชลประทานเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • จัดตั้งศูนย์บริการวิชาการและสนเทศทางวิศวกรรม จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม
  • จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม
  • จัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์วิศวกรรม

พ.ศ. 2536

  • เปิดสอนระดับปริญญาตรี
    • สาขาวิชาวิศวกรรมการอาหาร
    • สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ
    • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • เปิดสอนระดับปริญญาโท
    • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • เปิดสอนระดับปริญญาเอก
    • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมเกษตรศาสตร์ –ไอบีเอ็ม AIX ณ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัท IBM จำกัด

พ.ศ. 2537

  • เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาชาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์

พ.ศ. 2538

  • เปิดสอนระดับปริญญาโท
    • สาขาวิชาวิศวกรรมชลประทาน ภาคพิเศษ
    • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
    • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • จัดตั้งศูนย์วิชาการจัดระบบการจราจรและการขนส่งเมืองภูมิภาค (ภาคกลาง)โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (สจร.)

พ.ศ. 2540

  • เปิดสอนระดับปริญญาโท
    • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ภาคพิเศษ
  • จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการวิจัยวิศวกรรมชลประทาน เกษตร และอาหาร กำแพงแสน

พ.ศ. 2541

  • เปิดสอนระดับปริญญาตรี
    • สาขาวิศวกรรมวัสดุ
  • เปิดสอนระดับปริญญาโท
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาคพิเศษ
    • สาขาวิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ ภาคพิเศษ
    • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ นานาชาติ
    • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา นานาชาติ
  • จัดตั้งสถาบันค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม (RDiPT)
  • จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก
  • จัดตั้งศูนย์พัฒนาระบบคุณภาพ

พ.ศ. 2542

  • เปิดสอนระดับปริญญาตรี
    • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต
    • ปริญญาตรีร่วมนานาชาติ 2 ปริญญา สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศยานและบริหารธุรกิจ
  • เปิดสอนระดับปริญญาเอก
    • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
    • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้รับการจัดตั้งเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และแยกออกจากสังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์
  • จัดตั้งศูนย์ปฏฺิบัติการวิจัยเทคโนโลยีทรัพยากน้ำ
  • จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการวิจัยลักษณะผงและอนุภาค
  • จัดตั้งศูนยืศึกษาการจัดการบำรุงรักษา
  • จัดตั้งสถาบันวิศวกรรมพลังงาน
  • จัดตั้งศูนย์วิศวกรรมประยุกต์และสารสนเทศ กำแพงแสน

พ.ศ. 2543

  • เปิดสอนระดับปริญญาโท
    • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ภาคพิเศษ
    • สาขาวิชาวิศวกรรมการอาหาร
  • วิทยาลัยการชลประทาน เปิดสอนระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมชลประทาน ภาคพิเศษ
  • เปิดสอนระดับปริญญาเอก
    • สาขาวิชาวิศวกรรมชลประทาน
    • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • จัดตั้งสถาบันเครือข่ายพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)
  • จัดตั้งสถาบันวิศวกรรมป้องกันอัคคีภัย

พ.ศ. 2544

  • เปิดสอนระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ ภาคพิเศษ
    • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา วิทยาเขตกำแพงแสน เฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์
  • เปิดสอนระดับปริญญาโท
    • สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย ภาคพิเศษ
    • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม นานาชาติ
  • เปิดสอนระดับปริญญาเอก
    • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ นานาชาติ
  • จัดตั้งศูนย์วิจัยคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

พ.ศ. 2545

  • เปิดสอนระดับปริญญาเอก
    • สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร
    • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
    • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
    • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ภาคพิเศษ

พ.ศ. 2546

  • เปิดสอนระดับปริญญาตรี ภาคพิเศษ
    • สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์
  • เปิดสอนระดับปริญญาตรี นานาชาติ
    • สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้
    • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
    • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศยาน เปลี่ยนชื่อหลักสูตรจากหลักสูตร วศ.บ. สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศยาน เป็น วศ.บ.สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน ซึ่งดูแลหลักสูตรทางด้านวิศวกรรมเกษตร วิศวกรรมชลประทาน วิศวกรรมการอาหาร ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยวิศวกรรมชลประทาน เกษตร และอาหาร และศูนย์วิศวกรรมประยุกต์และสารสนเทศ กำแพงแสน แยกการบริหาร ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2546
  • จัดตั้งสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ปิดศูนย์วิชาการจัดระบบการจราจรและการขนส่งเมืองภูมิภาค
  • ปิดศูนย์ฝึกอบรมเกษตรศาสตร์-ไอบีเอ็ม AIX
  • ยุบสถาบันเครือข่ายวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อย และโอนกิจการของสถาบันฯ ไปสังกัดศูนย์พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีรัฐร่วมเอกชน

พ.ศ. 2547

  • เปิดสอนระดับปริญญาตรี
    • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต นานาชาติ
  • เปิดสอนระดับปริญญาโท
    • สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรม นานาชาติ
    • สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรม ภาคพิเศษ
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม ภาคพิเศษ
    • สาขาวิชาวิศวกรรมป้องกันอัคคีภัย ภาคพิเศษ
    • สาขาวิชาวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐานและการบริหาร ภาคพิเศษ
  • จัดตั้งศูนย์วิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม บางเขน

พ.ศ. 2548

  • เปิดสอนระดับปริญญาตรี
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีการบิน (วท.บ.)
    • สาขาวิชาการจัดการการบิน (วท.บ.)
  • เปิดสอนระดับปริญญาโท
    • สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ ภาคพิเศษ
    • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี นานาชาติ
    • สาขาวิชาวิศวกรรมป้องกันอัคคีภัย ภาคพิเศษ
  • เปิดสอนระดับปริญญาเอก
    • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี นานาชาติ

พ.ศ. 2549

  • เปิดหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
    • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา นานาชาติ
  • เปิดหลักสูตรระดับปริญญาโท
    • สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ
  • จัดตั้งศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการจัดการทรัพยากรและระบบภูมิสารสนเทศ
  • จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีความปลอดภัยสำหรับอาคารและโรงงงานอุตสาหกรรม

พ.ศ. 2550

  • งดรับนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ นานาชาติ
  • เริ่มรับนิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรมวัสดุ
  • จัดตั้งศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางแม่พิมพ์ยาง
  • จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมระบบอุตสาหกรรมอัตโนมัติ
  • จัดตั้งศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางยานยนต์พลังงานทางเลือก
  • จัดตั้งศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางระบบสมองกลฝังตัวเพื่อการเกษตร
  • รับโอนย้ายศูนย์วิจัยโลหะและวัสดุ จากเดิมสังกัดสถาบันวิจัยฯ มก. มาสังกัด คณะวิศวกรรมศาสตร์
    (เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์นวัตกรรมวัสดุ เมื่อ 3 มีนาคม 2551)

พ.ศ. 2551

  • เปิดสอนระดับปริญญาโท
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัว (นานาชาติ) ภาคพิเศษ
  • ศูนย์วิจัยโลหะและวัสดุ เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์นวัตกรรมวัสดุ
  • จัดตั้งศูนย์นิติสารสนเทศ

พ.ศ. 2552

  • ปิดศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีทรัพยากรน้ำ

พ.ศ. 2553

  • รวมหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการบิน กับ สาขาวิชาการจัดการการบิน เป็นสาขาการจัดการเทคโนโลยีการบิน (วท.บ.)
  • เปิดสอนระดับปริญญาโท
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีโครงสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง ภาคพิเศษ

พ.ศ. 2554

  • จัดตั้งศูนย์วิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ

พ.ศ. 2555

  • เปิดสอนระดับปริญญาโท
    • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมขั้นสูงและยั่งยืน (นานาชาติ)

พ.ศ. 2556

  • จัดตั้งศูนย์การจัดการวิศวกรรมและเทคโนโลยี
  • ปรับโครงสร้างและเปลี่ยนชื่อสถาบันค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม เป็น ศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม
  • จัดตั้งศูนย์วิจัยและบริการวิชาการด้านการขนส่งทางอากาศ

พ.ศ. 2557

  • จัดตั้งสถานีรับสัญญาณดาวเทียมจุฬาภรณ์
  • จัดตั้งศูนย์ที่ปรึกษาแบบจำลองทางด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

พ.ศ. 2558

  • ยกเลิกศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางระบบสมองกลฝั่งตัวเพื่อการเกษตร

พ.ศ. 2559

  • เปิดสอนระดับปริญญาโท
    • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (ภาคพิเศษ)
  • จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีวิศวกรรมโลจิสติกส์และการจัดการ

พ.ศ. 2560

  • เปลี่ยนชื่อ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมขั้นสูงและยั่งยืน เป็น สาขาวิศวกรรมพลังงานและทรัพยากรเพื่อความยั่งยืน (นานาชาติ)

พ.ศ. 2561

  • จัดตั้งศูนย์วิจัยการรับรู้จากระยะไกลเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

พ.ศ. 2563

  • จัดตั้งศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีองค์รวมและปัญญาประดิษฐ์
  • จัดตั้งศูนย์วิจัยการบำรุงรักษาซ่อมแซมโครงสร้างพิ้นฐานแห่งภูมิภาคอาเซียน

พ.ศ. 2564

  • เปลี่ยนชื่อ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัว (นานาชาติ) เป็น สาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์และอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (นานาชาติ)

วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์คณะวิศวกรรมศาสตร์

  • Vision:
    consistent leadership in the creation and provision of knowledge that responds to the dynamic and ever-evolving needs of the global community.เป็นผู้นำในการสร้างและให้บริการความรู้ที่ตอบสนองพลวัตของสังคมโลกอย่างยั่งยืน
  • Mission:
    produce engineers who possess high moral and ethical standards and who are responsive to the needs of society. create advanced research, innovation and academic services. manage and deploy the faculty’s resources effectively. apply engineering knowledge to nurture and sustain arts and culture.
  1. ผลิตบุคลากรมืออาชีพทางวิศวกรรมที่มีคุณธรรม จริยธรรมและตอบสนองความต้องการของสังคม
  2. สร้างสรรค์งานวิจัย นวัตกรรม และให้บริการทางวิชาการสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
  3. บริหารทรัพยากรของคณะอย่างมีประสิทธิภาพ
  4. สืบสาน ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และดำรงอัตลักษณ์/วิสัยทัศน์ของคณะ

 

  • Strategy: Desire (ยุทธศาสตร์ 10 ปี พ.ศ.2562 – 2571)
  1. Digital Faculty : คณะที่ขับเคลื่อนโดยใช้ดิจิทัล
    หมายถึง บุคลากรทุกคนต้องมี (Digital Mindset) ประกอบด้วย มีความแคล่วคล่องว่องไว (Agility) ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) มีความร่วมมือ (Collaboration) มีทักษะสูง (High Skill) มีนวัตกรรม (Innovation) : ADCHI อ่านว่า ad-chi แปลว่า มีพลัง
  2. Economically Sustainable Faculty : คณะที่สามารถพึ่งพาตนเองได้
    หมายถึง ความสามารถในการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน มีแผนงานรองรับความเสี่ยงจากสภาพการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
  3. Socially Responsible Faculty : คณะที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
    หมายถึง ความรับผิดชอบต่อสังคมโดยการใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
  4. Innovative and Research Faculty : คณะที่มุ่งพัฒนานวัตกรรมและวิจัย
    หมายถึง พัฒนาคณะเป็นองค์กรวิจัยและนวัตกรรมด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มีความเป็นเลิศในด้านศาสตร์แห่งแผ่นดิน

ผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์

ศ.ดร.วันชัย ยอดสุดใจ

คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์

รองคณบดี

รศ.ดร.สุชาติ เหลืองประเสริฐ

ฝ่ายบริหาร

รศ.ดร.ดุลย์พิเชษฐ์ ฤกษ์ปรีดาพงศ์

ฝ่ายวิชาการ

รศ.ดร.สิริพล อนันตวรสกุล

ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม

รศ.ดร.อภิชาติ โรจนโรวรรณ

ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์

ผศ.ดร.ประพจน์ ขุนทอง

ฝ่ายบริการวิชาการและความร่วมมืออุตสาหกรรม

ผศ.ปรีดา เลิศพงศ์วิภูษณะ

ฝ่ายเทคโนโลยีดิจิทัล

ผศ.ดร.สุสิทธิ์ ฉายประกายแก้ว

ฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม

ผศ.ดร.ปฐมาภรณ์ ศรีผดุงธรรม

ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์

ผศ.ดร.วีรวุฒิ กนกบรรณกร

ฝ่ายกิจการนิสิตและกิจการพิเศษ

ผู้ช่วยคณบดี

ผศ.ดร.กฤษฎา สุรวัฒนวิเศษ

ฝ่ายบริหารยุทธศาสตร์

ผศ.ดร.เปรม รังสิวณิชพงศ์

ฝ่ายคลังและพัสดุ

ผศ.ดร.อมรรัตน์ เลิศวรสิริกุล

ฝ่ายวิชาการ

ผศ.ดร.ธนาวินท์ รักธรรมานนท์

ฝ่ายวิชาการ

ผศ.ดร.กษิดิศ พนมสุวรรณ

ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม

รศ.ดร.จักรพันธ์ อร่ามพงษ์พันธ์

ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม

ผศ.ดร.เนาวรัตน์ เทพหริรักษ์

ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์

อ.ดร.คเณศ คัจฉสุวรรณมณี

ฝ่ายบริการวิชาการ
และความร่วมมืออุตสาหกรรม

ผศ.ดร.หัชทัย ชาญเลขา

ฝ่ายเทคโนโลยีดิจิทัล

ผศ.ดร.อัครพงศ์ พัชรรุ่งเรือง

ฝ่ายเทคโนโลยีดิจิทัล

ผศ.ดร.วิทรัช ยุทธวงศ์

ฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม

รศ.ดร.ชวลิต กิตติชัยการ

ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์

อ.ดร.อัญชนา วงษ์โต

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต
และกิจการพิเศษ

อ.วิศว์ ศรีพวาทกุล

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต
และกิจการพิเศษ

หัวหน้าภาควิชา

รศ.ดร.ศุภวุฒิ มาลัยกฤษณะชลี

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา

รศ.ดร.วีรชัย ชัยวรพฤกษ์

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล

รศ.ดร.ศิริโรจน์ ศิริสุขประเสริฐ

ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

รศ.ดร.อดิชัย พรพรหมินทร์

ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ

รศ.ดร.พันธุ์ปิติ เปี่ยมสง่า

ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

ผศ.ดร.พรเทพ อนุสสรนิติสาร

ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

รศ.ดร.ชนินทร์ ปัญจพรผล

ภาควิชาวิศวกรรมเคมี

รศ.ดร.วิลาสินี อยู่ชัชวาล

ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

อาจารย์ ดร.นวทัศน์ ก้องสมุทร

ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ

รศ. ดร.ราชธีร์ เตชไพศาลเจริญกิจ

ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ

หัวหน้าสำนักงานเลขานุการ

นางสุกิจจา พงษ์สุวรรณ

80 Year of the faculty Engineering, Kasetsart University

แนะนำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มก. บรรยายไทย

แนะนำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มก. บรรยายอังกฤษ

แนะนำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มก. 3 นาที บรรยายอังกฤษ

 

24,299 Views
ข้ามไปยังทูลบาร์