ENG KU NEWS

วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
คณะวิศวฯ มก. จับมือหน่วยงานชั้นนำด้านระบบราง สทร. – ESTACA และ EGIS ฝรั่งเศส ใช้เทคโนโลยี AI พัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศคณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดงาน ดงตาลผูกพัน สายสัมพันธ์วันเกษียณ 2566[นิสิตวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คว้ารางวัลชนะเลิศ และรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม การแข่งขัน Innovation Robotic AI&IoT Contest 2023 (iRAIC)]สมาคมนิสิตเก่าวิศวฯ มก. – คณะวิศวฯ จัดพิธีปิดโครงการ KAMP Engineering รุ่นที่ 3อาจารย์คณะร่วมเป็นกรรมการตัดสินการประกวดนวัตกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมระดับประเทศคณะวิศวฯ จับมือ ปตท. ร่วมมือทางวิชาการคณะวิศวฯ จัดประกวดโครงการ PQI ประเภทที่ 2 Output/Outcome Oriented Focusคณะวิศวฯ รับมอบทุนการศึกษานิสิต จากมูลนิธิมิตซูบิชิ อิเล็คทริคไทยคณะวิศวฯ – สอวช. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ Foresight Workshop ครั้งที่ 2นิสิตวิศวฯ ไฟฟ้า โครงการ IUP คว้ารางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 การแข่งขัน YouThful Issue Competition

คณะวิศวฯ มก. – ม.รังสิต – ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขต 5 สุพรรณบุรี ร่วมมือวิจัย พัฒนาอุปกรณ์ช่วยฝึกการเคลื่อนไหวสำหรับผู้ป่วยเด็กสมองพิการ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ร่วมมือกับคณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยรังสิต และศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 5 จังหวัดสุพรรณบุรี  วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ช่วยฝึกการเคลื่อนไหวสำหรับผู้ป่วยเด็กสมองพิการ โดยเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้จัดให้มีพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางงานวิจัยในการพัฒนาอุปกรณ์ช่วยฝึกการเคลื่อนไหวสำหรับผู้ป่วยเด็กสมองพิการ ณ ห้องประชุม 0203 อาคารชูชาติ กำภู คณะวิศวกรรมศาสตร์ มก. โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วชิระ จงบุรี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ผู้แทนคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมในพิธี พร้อมกับ ดร.วรชาติ เฉิดชมจันทร์ คณบดีคณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยรังสิต และนางวราภรณ์ เมฆขาว ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 5 จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีคณาจารย์และผู้บริหารทั้ง 3 สถาบัน ร่วมเป็นสักขีพยาน

ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว ทั้ง 3 สถาบัน จะร่วมกันดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัดเพื่อการฟื้นฟูการเคลื่อนไหวสำหรับผู้ป่วยเด็ก ได้แก่ การพัฒนาอุปกรณ์ช่วยฝึกการเคลื่อนไหวของแขนในระนาบ 6 มิติ พร้อมระบบประเมินสมรรถนะการฝึกการเคลื่อนไหว และการพัฒนาโต๊ะฝึกยืนของผู้ป่วยเด็ก เพื่อให้เกิดความพึงพอใจของทั้งนักกายภาพบำบัดผู้ป่วยเด็กและผู้ปกครองในด้านการใช้งานอุปกรณ์ รวมถึงประโยชน์ที่ผู้ป่วยเด็กจะได้รับจากการฝึกด้วยอุปกรณ์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่นี้ โดยมีระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่ลงนามของทั้ง 3 สถาบัน

 

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่