ENG KU NEWS

วันเสาร์ที่ 04 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
นิสิตวิศวฯ เครื่องกล-วิศวฯ วัสดุ คว้ารางวัลชนะเลิศ แผนรณรงค์ สร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในสถานศึกษา Toyota Campus Challenge 2023วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานคณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 88 ปีอาจารย์คณะวิศวฯ-คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานในการประชุม Sino-Thai Symposium on Energy and New Materialsผู้บริหาร-อาจารย์คณะ หารือความร่วมมือด้านวิจัย-วิชาการ กับ Tamkang University, Taiwanผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ National Tsing Hua University (NTHU) ไต้หวันผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ Tunghai University ไต้หวันร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ MCUT ไต้หวัน  ผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ ร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการกับผู้บริหาร Yuan Ze University, Taiwanอาจารย์คณะได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น (ศ.11)

คณะวิศวฯ – CNSA ร่วมหารือ พัฒนา Smart Agriculture

รศ.ดร.ศรปราชญ์ ธไนศวรรยางกูร รองอธิการบดีฝ่ายวางแผน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ รศ.ดร.พีรยุทธ์ ชาญเศรษฐิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก Earth Observation and Data Center, China National Space Administration (CNSA) สาธารณรัฐประชาชนจีน นำโดยนาย Wang Chen เพื่อร่วมหารือการรับข้อมูลจากดาวเทียมวงโคจรต่ำของสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงความร่วมมือพัฒนานิสิต บุคลากร งานวิจัยและการพัฒนาวิชาการในด้าน Smart Agriculture เมื่อวันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม 2562 ณ ห้องประชุมสถานีรับสัญญาณดาวเทียมจุฬาภรณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยคณะผู้แทนฝ่ายจีนได้นำเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้าน Remote Sensing ด้วยข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูงและรายละเอียดปานกลางบูรณาการร่วมกับข้อมูลภาพถ่ายจากโดรน และอุปกรณ์ Internet of Thing (IoT) เพื่อวางแผน ติดตามและคาดการณ์การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจของจีนทั้งพืชสวนและพืชไร่

.

ปัจจุบันสาธารณรัฐประชาชนจีนได้จัดส่งดาวเทียมวงโคจรต่ำเพื่อให้บริการข้อมูลรายละเอียดสูงกว่า 100 ดวง และพัฒนาเทคโนโลยีในการประมวลผล Big Data และ AI ให้สามารถประเมินสถานการณ์ล่วงหน้า 2 สัปดาห์ ทำให้เกษตรกรสามารถวางแผนและปรับตัวได้อย่างเหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ

.

จากการหารือดังกล่าว คณะผู้แทนฝ่ายจีนเล็งเห็นว่าสถานีรับสัญญาณดาวเทียมจุฬาภรณ์ มีศักยภาพในการรับข้อมูลดาวเทียมดังกล่าว จึงเสนอให้มีการปรับปรุงสถานีรับสัญญาณดาวเทียมจุฬาภรณ์ให้ทันสมัย รวมถึงเสนอให้มีการจัดทำข้อตกลงร่วมกันในการพัฒนานิสิต บุคลากร งานวิจัย และการพัฒนาวิชาการในด้าน Smart Agriculture โดยฝ่ายจีนจะเป็นผู้ร่าง Minutes of Meeting มาเพื่อเสนอให้แก่ผู้บริหารของ มก. ในการดำเนินการลำดับต่อไป

 

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่