ENG KU NEWS

วันพฤหัสที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
นิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้รับรางวัล First Prize จากการแข่งขัน “ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์”ระดับโลกคณะวิศวฯ ร่วมมือ บ.โกลบอล เอ็นไวรอนเมนทอล เทคโนโลยี จำกัด พัฒนาเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมนิสิตคณะวิศวฯ กวาด 3 รางวัลใหญ่ ชนะเลิศ-รองชนะเลิศอันดับ 1 – Popular Vote Campus Challenge 2023 โดย โตโยต้า ถนนสีขาวคณะวิศวฯ เข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันฟุตบอลประเพณีบุคลากร มก.คณะวิศวฯ ร่วมพิธีถวายพระพรชัยนิสิตคณะวิศวฯ-นิสิตคณะวิทยาศาสตร์ มก. คว้าแชมป์ และรองแชมป์ ประเทศไทย Thailand Open ROS and Smart Robot Competition 202410 เรื่องน่ารู้ วิศวฯ มก. (บางเขน)อาจารย์คณะได้รับการอนุมัติแต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์คณะวิศวฯ ต้อนรับผู้บริหาร อาจารย์และนักศึกษา จาก MIIGAiK สหพันธรัฐรัสเซีย เยี่ยมชมคณะคณะวิศวฯ ต้อนรับผู้แทนจาก NCHU ไต้หวัน นำเสนอข้อมูลด้านวิชาการ

อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้รับรางวัล ACM SIGKDD Test of Time Award

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนาวินท์ รักธรรมานนท์ ได้รับรางวัล ACM SIGKDD Test of Time Award ในงาน ACM SIGKDD CONFERENCE ครั้งที่28 ซึ่งจัดขึ้น ที่ Washington DC Convention Center เมื่อวันที่ 14-18 สิงหาคม 2565

รางวัลนี้เป็นรางวัลสำหรับบทความวิจัยที่ดีที่สุดในรอบทศวรรษที่ได้เคยนำเสนอในการประชุมวิชาการ SIGKDD ทั้งนี้ งานวิจัยนี้ยังเคยได้รับรางวัล best paper ward ในงาน SIGKDD 2012 ซึ่งได้ผ่านมาหนึ่งทศวรรษแล้ว และถือได้ว่างานชิ้นนี้เป็นงานชิ้นแรกที่ได้รับรางวัลทั้ง 2 ประเภท

บทความนี้ มีชื่อว่า “Searching and mining trillions of time series subsequences under dynamic time warping” โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพของอัลกอริทึมเพื่อให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้นมากจนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลขนาดเกิน 1 ล้านล้านอนุกรมได้ ซึ่งเทคโนโลยีในยุคนั้นยังทำไม่ได้ และปริมาณดังกล่าวยังนับว่าเป็นปริมาณมหาศาลมากแม้ว่าผ่านเลยมา 10 ปี นอกจากนี้ ผลจากงานนี้ได้นำไปทำเป็น subroutine เพื่อให้อัลกอริทึมอื่นๆ เรียกใช้ได้ ทำให้การวิเคราะห์เชิงเวลาต่างๆ ช่วยให้ประหยัดไปได้มาก

ปัจจุบันบทความนี้ได้รับการอ้างอิง มากกว่า 600 ครั้ง ทั้งนี้ ผลงานของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนาวินท์ รักธรรมานนท์ ในด้าน Data mining ยังมีอีกมาก ปัจจุบันมี h-index = 17

หากท่านใดสนใจในงานวิจัยนี้สามารถดูจาก url นี้ได้ที่ https://dl.acm.org/doi/10.1145/2339530.2339576

(ที่มา: ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์)

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่