ENG KU NEWS

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ ต้อนรับนักศึกษาจาก TU Delft เนเธอร์แลนด์ ร่วมโครงการ Multidisplinary Project (รุ่นที่ 7)คณะวิศวฯ ต้อนรับ คณะครู-นักเรียนจากโรงเรียนหอวัง ปทุมธานี รับฟังข้อมูลหลักสูตร – เยี่ยมชมภาควิชาคณะวิศวฯ รับมอบห้องปฏิบัติการวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์กำลังไฟฟ้าจาก Delta ใช้ในการเรียนการสอนสำหรับนิสิตคณะคณะวิศวฯ ต้อนรับผู้บริหารมูลนิธิมิตซูบิชิ อิเล็คทริคไทย มอบทุนการศึกษาแก่นิสิตคณะอาจารย์วิศวฯ การบินและอวกาศ ได้รับรางวัล Best Paper ในงาน SAWAE2024คณะวิศวฯ จัดเสวนา “วิกฤตน้ำท่วม ปัญหา และการแก้ไขอย่างยั่งยืน”คณะวิศวฯ ร่วมงาน สืบสาน วันสืบ นาคะเสถียรศูนย์วิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม บางเขน คณะวิศวฯ – เทศบาลเมืองคูคต นำผลงานถังหมักเศษอาหาร กึ่งอัตโนมัติแบบเติมอากาศ ตัวช่วยชุมชนเดชเจริญ เพื่อลดขยะให้เป็นศูนย์ ร่วมแสดงในงาน RUN towards IMPACTนิสิตวิศวกรรมวัสดุ กวาด 4 รางวัล การประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2567คณะวิศวฯ ม.เกษตร – จุฬา – ม. KOREA ร่วมจัดงานสัมมนาระดับนานาชาติ ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี

นิสิตวิศวฯ ทีม NOVA ได้รับทุนพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ พร้อมรางวัลชมเชย การแข่งขัน MEA Hackathon for Smart Energy 2021

นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ ทีม NOVA ได้รับทุนเพื่อพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ จำนวน 80,000 บาท พร้อมได้รับรางวัลชมเชย จากการนำเสนอผลงาน “Smart Module and Smart Platform” ในการแข่งขันรูปแบบออนไลน์ การพัฒนานวัตกรรมด้านการขับเคลื่อนพลังงานอัจฉริยะ MEA Hackathon for Smart Energy 2021 ภายใต้แนวคิด IoT Solutions for Smart Energy System จัดโดยการไฟฟ้านครหลวง (MEA) ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ และอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) โดยการแข่งขันดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-15 สิงหาคม 2564 เป็นรอบการนำเสนอแนวคิดผลงาน และในวันที่ 8 มีนาคม 2565 เป็นการนำเสนอการสาธิตผลงาน (Demo Day) โดยมีนายพิพัฒน์ ชลอำไพ รองผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง ร่วมกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัญชนา สินธวาลัย รักษาการแทนผู้ช่วยผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ ม.อ. เป็นประธานเปิดการแข่งขัน DEMO DAY ณ โรงแรม อมารี วอเตอร์ เกท (ประตูน้ำ) กรุงเทพมหานคร

ทีม NOVA เป็น 1 ใน 5 ทีม จากทั้งหมด 16 ทีม ที่ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับทุนเพื่อพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ของทีม คือ Smart Module and Smart Platform ซึ่งเป็น Module พัฒนาระบบกลางของการไฟฟ้านครหลวง โดยสามารถอ่านค่าและควบคุมอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงกับระบบ Solar Cell ได้ทุกชนิด สมาชิกทีมประกอบด้วย นายภาณุพงศ์ ธนารักษ์วุฒิกร นิสิตภาควิชาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 นายกฤษณะ เนตรภักดี นิสิตภาควิชาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 3  นายกันทรากร ทุมชะและนายชีวิต สุธรรมน้อย นิสิตภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ชั้นปีที่ 3

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ศูนย์วิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม บางเขน คณะวิศวฯ – เทศบาลเมืองคูคต นำผลงานถังหมักเศษอาหาร กึ่งอัตโนมัติแบบเติมอากาศ ตัวช่วยชุมชนเดชเจริญ เพื่อลดขยะให้เป็นศูนย์ ร่วมแสดงในงาน RUN towards IMPACT

อ่านต่อ »

ติดตามเราได้ที่