ENG KU NEWS

วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
นิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้รับรางวัล First Prize จากการแข่งขัน “ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์”ระดับโลกคณะวิศวฯ ร่วมมือ บ.โกลบอล เอ็นไวรอนเมนทอล เทคโนโลยี จำกัด พัฒนาเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมนิสิตคณะวิศวฯ กวาด 3 รางวัลใหญ่ ชนะเลิศ-รองชนะเลิศอันดับ 1 – Popular Vote Campus Challenge 2023 โดย โตโยต้า ถนนสีขาวคณะวิศวฯ เข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันฟุตบอลประเพณีบุคลากร มก.คณะวิศวฯ ร่วมพิธีถวายพระพรชัยนิสิตคณะวิศวฯ-นิสิตคณะวิทยาศาสตร์ มก. คว้าแชมป์ และรองแชมป์ ประเทศไทย Thailand Open ROS and Smart Robot Competition 202410 เรื่องน่ารู้ วิศวฯ มก. (บางเขน)อาจารย์คณะได้รับการอนุมัติแต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์คณะวิศวฯ ต้อนรับผู้บริหาร อาจารย์และนักศึกษา จาก MIIGAiK สหพันธรัฐรัสเซีย เยี่ยมชมคณะคณะวิศวฯ ต้อนรับผู้แทนจาก NCHU ไต้หวัน นำเสนอข้อมูลด้านวิชาการ

คณะวิศวฯ มก. จับมือ กทม. – บช.น. พัฒนาระบบอัจฉริยะ ITS แก้ปัญหาการจราจรและขนส่ง

คณะวิศวฯ มก. จับมือ กทม. – บช.น.

พัฒนาระบบอัจฉริยะ ITS แก้ปัญหาการจราจรและขนส่ง

                      คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) และกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ศึกษา วิจัยและพัฒนาระบบจราจรและขนส่งอัจฉริยะ (Intelligent Transport System: ITS) แก้ปัญหาการจราจรและการขนส่งในเขต กทม. และปริมณฑล ด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial intelligence) ในเขต กทม. และจะขยายผลต่อไปยังจังหวัดต่าง ๆ ต่อไปในอนาคต

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มก. หัวหน้าโครงการพัฒนากล้อง CCTV (Closed Circuit Television)  และคณะทำงานศึกษามาตรการแก้ไขปัญหาการจราจร  ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เปิดเผยว่า “คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ทำ MOU ร่วมมือกับ กทม. และ บช.น. เพื่อศึกษา วิจัย และพัฒนาระบบ ITS เพื่อแก้ปัญหาการจราจรและการขนส่ง ในเขต กทม. ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการเร่งด่วนของแผนยุทธศาสตร์ชาติ คือ การนำผลงานวิจัยกล้อง CCTV อัจฉริยะที่มีสมรรถนะสูง พร้อมระบบ AI เพื่อควบคุมและจัดการจราจร โดยจะเลือกบริเวณพื้นที่นำร่องที่มีสถานศึกษา สถานที่ราชการ พื้นที่เศรษฐกิจ ตลาดและชุมชนที่ต้องใช้เส้นทางร่วมกันหรือเขตเมืองร่วมกันเป็นวงรอบ เพื่อเป็นสถานที่ทดสอบระบบ

ในส่วนของคณะวิศวฯ โดยศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีองค์รวมและปัญญาประดิษฐ์ มีหน้าที่ในการพัฒนาระบบ ITS โดยใช้พื้นฐานงานวิจัยกล้อง CCTV และใช้ AI แบบ Deep Learning ในการแยกวัตถุต่าง ๆ เช่น รถยนต์ส่วนบุคคล รถบัส รถบรรทุก รถโดยสารประจำทาง มอเตอร์ไซค์ จักรยาน คน ฯลฯ

ระบบดังกล่าวสามารถแยกแยะสี และระบุหมายเลขทะเบียนรถ การนับจำนวนรถและแยกประเภทรถได้ พร้อมถ่ายภาพนิ่งและบันทึกเป็นคลิบวีดีโอสำหรับการสืบค้นที่สะดวก ซึ่งผลจากการแยกวัตถุต่าง ๆ บนท้องถนน รวมทั้งการตรวจวัดความเร็วรถและจำนวนรถทุกประเภท และจำนวนเลนจราจร สามารถนำมากำหนดวิธีการควบคุมสัญญาณไฟจราจรแบบอัตโนมัติที่สอดสัมพันธ์กันทุกแยกได้อัตโนมัติตามการเปลี่ยนแปลงของจำนวนรถ ความเร็วรถในภาพรวมของแต่ละเส้นทาง แต่ละแยก ในเวลาจริงแบบ Real Time เพื่อควบคุมสัญญาณไฟจราจรที่แม่นยำตามสภาพจริง ณ เวลานั้น ๆ ช่วยลดภาระงานและลดจำนวนเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรผู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร”

จุดเด่นของกล้องวงจร CCTV ที่พัฒนาในครั้งนี้ สามารถใช้เป็นเครื่องมือหลักฐานในการบังคับใช้กฏหมายได้ คือ การตรวจจับความเร็ว การสวมหมวกกันน็อค การขับขี่บนทางเท้า การจอดบนพื้นที่ห้ามจอด ตลอดจนการติดตามทะเบียนรถยนต์/จักรยานยนต์   มีหลักการทำงาน คือ เมื่อกล้องวงจรปิด CCTV จับภาพได้และแปลงข้อมูล  ด้วย AI ที่ตัวกล้องให้เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการสั่งการจราจร หรือการเก็บหลักฐานการกระทำผิดกฎจราจร คือ ความเร็วรถ จำนวนรถติดหรือแถวคอย และจำนวนรถแบบแยกประเภทรถ ตามเส้นทางถนนต่าง ๆ  และส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตไปยังเครื่องแม่ข่ายและระบบเฝ้าระวังและควบคุมการจราจร  ควบคู่ไปกับการส่งการบังคับสัญญาณไฟจราจรแบบอัตโนมัติไปยังเครื่องควบคุมสัญญาไฟจราจรตามแยกต่าง ๆ  และรายงานแจ้งข้อมูลการจราจรไปยังระบบ ITS โดยอัตโนมัติ เพื่อจัดการจราจรให้เหมาะสมกับช่วงเวลานั้น ๆ พร้อมรายงานสภาพการจราจรบน Smart Phone หรือ Website ให้ผู้ใช้เส้นทางได้รับทราบแบบ Real Time

ข้อดีของการพัฒนาระบบ ITS โดยคนไทย คือ สามารถลดต้นทุนการนำเข้าระบบ ITS จากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาสูงมาก สามารถบำรุงรักษาระบบทำได้เองและคล่องตัวกว่า เพราะบางเรื่องต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นที่อาจแตกต่างกัน ซึ่งระบบจากต่างประเทศจะแก้ไขไม่ได้ นอกจากนี้ยังเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารข้อมูลให้มีความมั่นคงและปลอดภัยของข้อมูล ตลอดจนสามารถประยุกต์และต่อยอดเทคโนโลยีอื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ในอนาคต

จากความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงาน คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีองค์รวมและปัญญาประดิษฐ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานครและกองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้จัดให้มีพิธีลงนามความร่วมมือขึ้น โดยมี รศ.ประดนเดช นีละคุปต์ รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีดิจิทัล มก. ลงนามร่วมกับนายประพาส เหลืองศิริรนภา ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กทม. และพลตำรวจตรี จิรสันต์ แก้วแสงเอก รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ 401-407 อาคารรัฐสภา และมีรองศาสตราจารย์ ดร.พีรยุทธ์ ชาญเศรษฐิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วยพลเอก ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม วุฒิสภา และ ศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ร่วมเป็นพยาน ในพิธีดังกล่าว

 

ภาพประกอบ: Facebook งานวิจัยโครงการพัฒนาระบบกล้อง CCTV อัจฉริยะ ม.เกษตรศาสตร์ /หน่วยสารสนเทศและประชาสัมพันธ์  คณะวิศวฯ มก.

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่