ENG KU NEWS

วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ หารือความร่วมมือด้านวิชาการ วิจัย ร่วมกับ NCAC มองโกเลียคณบดีและผู้บริหารคณะ รับมอบทุนสนับสนุนจัดซื้อครุภัณฑ์สำหรับอาคารหัวลำโพง จากนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ รุ่น E37คณะจัดเสวนาวิชาการ i-Forum เรื่อง SMR นิวเคลียร์ขนาดเล็ก ดีจริงหรือ?คณะฯ จัด PQI 2025 : Workshop & Coaching & Training ในโครงการพัฒนาคุณภาพและผลิตภาพภายในองค์กร (Productivity Quality Improvement: PQI)คณะวิศวฯ จัดโครงการ พัฒนาศักยภาพการวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ประจำปี 2568ขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาควิชาวิศวกรรมเคมี พร้อมนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ ได้รับรางวัล STAR OF CAMP ในงาน Start Up Thailand Leage 2025คณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน ครบรอบ 22ปีคณะวิศวฯ นำถังหมักเศษอาหารแบบเติมอากาศ ร่วมแสดงและสาธิตการใช้งาน ในโครงการไม่เทรวมคณะวิศวฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ i-Connect เชื่อมโยงโลกด้วย AI และทักษะภาษาอังกฤษนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้รับรางวัลในโครงการสหกิจศึกษา ประจำปีการศึกษา 2568

นิสิตวิศวฯ ทีม SKUBA คว้ารางวัลรองชนะเลิศ การปฏิบัติภารกิจและการนำเสนอ RoboCup Asia Pacific 2021

[ นิสิตวิศวฯ ทีม SKUBA นำหุ่นยนต์ใช้งานในบ้าน RoboCup @Home คว้ารางวัลรองชนะเลิศ การปฏิบัติภารกิจและการนำเสนอ RoboCup Asia Pacific 2021 ]
.
นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ ทีม SKUBA คว้ารางวัลรองชนะเลิศ คะแนนรวมการปฏิบัติภารกิจ และรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอหุ่นยนต์ต่อคณะกรรมการ ในการแข่งขัน RoboCup Asia Pacific 2021 ในประเภท RoboCup @Home รุ่น Open Platform ในระดับ Super Reginal จัดขึ้นในรูปแบบออนไซน์ และ ออนไลน์ พร้อมกันโดยใช้กติกาเดียวกัน เมื่อวันที่ 25 – 28 พฤศจิกายน 2564 ณ เมือง Nagoya ประเทศญี่ปุ่น
.
ในการแข่งขันครั้งนี้ เป็นการแข่งหุ่นยนต์รับใช้ภายในบ้านแบบสร้างขึ้นเองที่ทุกทีมต้องสร้างหุ่นยนต์เองทุกส่วน โดยมุ่งเน้นการแสดงศักยภาพของหุ่นยนต์และผู้ประดิษฐ์หุ่นยนต์สูงสุด จึงทำให้การผ่านเข้ามาแข่งขันในรุ่นนี้จึงทำได้ยาก โดยมีทีม ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย 6 ทีม คือ ทีมจากประเทศไทย ญี่ปุ่น มาเลเซีย และจีน ทีม SKUBA ได้ทำการแข่งขันแบบ Online แบบหุ่นยนต์จริง คือ นำหุ่นยนต์จริงแข่งในสนามจริงในประเทศไทย แต่ส่งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว (Video) ไปยังคณะกรรมการที่ประเทศญี่ปุ่น แบบ Realtime โดยภารกิจในปีนี้แบ่งเป็น 3 ภารกิจ คือ ภารกิจความสามารถหุ่นยนต์ทางด้านฮาร์ดแวร์ ภารกิจความสามารถหุ่นยนต์ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ และภารกิจจัดเก็บบ้าน รวมทั้งการนำเสนอหุ่นยนต์ ซึ่งเป็นรางวัลที่ได้เป็นรางวัลที่ได้รับจากผลโหวตจากคณะกรรมการฝ่ายเทคนิคและจากบริษัทหุ่นยนต์ภายนอก โดยพิจารณาจากความคิดสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกันระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ ความหลากหลายการนำไปใช้งานจริง รวมถึง ความยากในการนำเสนอหุ่นยนต์ และประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์
.
สมาชิกทีมประกอบด้วย
นิสิตภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ได้แก่
1. นายนภณัฏฐ์ ทองตัน (นิสิตปริญญาเอก)
2. นายสิทธิพร ตันติบริรักษ์ (นิสิตปริญญาโท)
3. นายกวิน กลั่นจิตต์ (นิสิตปริญญาตรีโครงการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีนานาชาติ (IUP))
4. นายณัฐชนน นนทพิบูลย์ (นิสิตปริญญาตรีโครงการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีนานาชาติ (IUP))
นิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้แก่
5. นางสาวมัทวัน จิระเจริญวงศ์ษา (นิสิตปริญญาตรี)
6. นางสาวภคินี ศิริสุขโภคา (นิสิตปริญญาตรี)
โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนพันธุ์ สุขวิชชัย ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่