ENG KU NEWS

วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
คณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มก. ครบรอบปีที่ 56[อาจารย์คณะวิศวฯ ร่วมเป็นกรรมการตัดสินรอบชิงชนะเลิศ การประกวดนวัตกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม]คณะวิศวฯ MOU ธนาคารกรุงไทย ร่วมมือด้านกิจกรรมทางวิชาการคณะวิศวฯ ต้อนรับคณะกรรมการคัดเลือก อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2567 รอบสัมภาษณ์นิสิต มก. ทีม Dongtaan Racing ได้รับรางวัล 2nd Prize PR Award Formula SAE Japan 2024 (FSAEJ)อาจารย์คณะได้รับรางวัลผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ผู้บริหารคณะ เยี่ยมชม ISAE-SUPAERO ฝรั่งเศสคณะวิศวฯ ร่วมงานแถลงข่าว การใช้งาน LinkedIn Learning และ Talent Insightsคณะวิศวฯ ต้อนรับคณะนักเรียน-นักศึกษา อินโดนีเชีย โครงการ YLEC เข้าชมห้องเรียน ห้องปฏิบัติการของคณะ

ผลงานนิสิตคณะวิศวฯ-คณะเศรษฐศาสตร์ มก. ได้รับทุนต่อยอดผลงาน ในโครงการ Angel Fund 2021

 เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทีมนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะเศรษฐศาสตร์ ได้รับทุนเพื่อพัฒนาต่อยอดผลงาน จากการนำผลงานเข้าร่วมประกวดพร้อมนำเสนอแผนธุรกิจผ่านระบบออนไลน์ ในโครงการ Angel Fund 2021 ซึ่งเป็นโครงการที่กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมมือกับบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในการพัฒนาสตาร์ทอัพจากโครงการเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ โดยผลงานที่ได้รับการสนับสนุนทุนต่อยอด มี 2 ผลงาน ได้แก่

1.ผลงาน FUKU INVENTORY MANAGEMENT & PREDICTION ได้รับทุนสนับสนุน จำนวน 20,000 บาท

FUKU INVENTORY MANAGEMENT & PREDICTION เป็น API ที่จะมาช่วยในการบริหารจัดการ SUPPLY CHAIN ในกลุ่มธุรกิจอาหารขนาดใหญ่ให้มีประสิทธิภาพ ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลที่มหาศาล (BIG DATA) เพื่อลดการเกิด Food waste ที่มาจากการ Over supply ของกลุ่มธุรกิจอาหาร รวมถึงการนําข้อมูลมาทํา CRM หรือ Customer Relationship Management โดยโปรเเกรมดังกล่าว คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 จากการเเข่งขัน Hackathon เเละจากการนำผลงานเข้าร่วมประกวดพร้อมนำเสนอแผนธุรกิจผ่านระบบออนไลน์ ในโครงการ Angel Fund 2021

 2. ผลงานหุ่นยนต์ 3 มิติสำหรับการเกษตร (AiGRIBOT) ได้รับทุนสนับสนุน จำนวน 20,000 บาท

หุ่นยนต์ 3 มิติสำหรับการเกษตร (AiGRIBOT) เป็นหุ่นยนต์แบบผสมผสานที่มีความแม่นยำสูง สามารถทำงานบนแปลงเกษตรได้มีประสิทธิภาพและความแม่นยำสูงกว่ากว่าการใช้แรงงานมนุษย์ ได้รับออกแบบให้มีลักษณะคล้ายเครื่อง CNC (Computer Numerical Control) สามารถทำงานได้อัตโนมัติที่โดยมีระบบคอมพิวเตอร์ควบคุม หุ่นยนต์ 3 มิติ มีจุดเด่น คือ การออกแบบหุ่นยนต์ที่เป็นลักษณะเชื่อมต่อกัน สามารถปรับขนาดได้ตามขนาดพื้นที่การเกษตร ปรับขนาดให้คลุมพื้นที่แปลงเกษตรในส่วนที่ต้องการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ตลอดจนมีความสามารถในการอารักขาพืช กำจัดวัชพืช บำรุงรักษาพืช ตลอดจนมีความสามารถในการจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ทีมนิสิตผู้ได้รับทุน ทั้ง 2 ผลงาน ประกอบด้วย นายภาณุพงศ์ ธนารักษ์วุฒิกร ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ นายเบญจมินทร์ เมฆเกิดชู นายนรุตม์ เจริญสมบัติ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล นายกฤษณะ เนตรภักดี ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า น.ส.นันทกาล ลิ้มคุณ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และ น.ส.ทิพย์วรินทร สุพัชญาอัคริมา นิสิตคณะเศรษฐศาสตร์

*********************************************************

 

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่