ENG KU NEWS

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
ผู้บริหาร- อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือ ม.ไต้หวันคณะวิศวฯ สำรวจ-แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม พื้นที่สหกรณ์กองทุนสวนยางโนนสัง จ.หนองบัวลำภูนิสิตภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ ได้รับคัดเลือกป็นนิสิตสหกิจศึกษาดีเด่น ประจำปี 2567  ระดับดีมากบุคลากรสายสนับสนุนได้รับอนุมัติดำรงตำแหน่งชำนาญการบุคลากรสายสนับสนุนภาควิชาวิศวกรรมเคมี ด้รับรางวัลอันดับที่ 3 พลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนร่วมยินดี คณะวิศวฯ มก. วิทยาเขตกำแพงแสน ครบรอบ 21 ปีนิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้รับรางวัล First Prize จากการแข่งขัน “ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์”ระดับโลกคณะวิศวฯ ร่วมมือ บ.โกลบอล เอ็นไวรอนเมนทอล เทคโนโลยี จำกัด พัฒนาเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมนิสิตคณะวิศวฯ กวาด 3 รางวัลใหญ่ ชนะเลิศ-รองชนะเลิศอันดับ 1 – Popular Vote Campus Challenge 2023 โดย โตโยต้า ถนนสีขาวคณะวิศวฯ เข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันฟุตบอลประเพณีบุคลากร มก.

ตู้ความดันบวก ผลงานทีมอาจารย์วิศวฯ มก. ใช้งานจริงในโรงพยาบาล ป้องกันโควิด-19 ทั้งผู้ใช้-ผู้เข้าตรวจ

     ตู้ความดันบวก ผลงานทีมอาจารย์วิศวฯ มก.

               ใช้งานจริงในโรงพยาบาล ป้องกันโควิด-19 ทั้งผู้ใช้-ผู้เข้าตรวจ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) โดยทีมอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล สานต่อ เดินหน้าพัฒนาตู้ความดันบวก ส่งมอบติดตั้งใช้งานจริงในหลายโรงพยาบาล เพื่อใช้คัดกรองผู้เข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) ช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยคณะวิศวฯ ได้รับผลตอบรับที่ดีถึงประสิทธิภาพการใช้งาน ตอบโจทย์แพทย์ผู้ใช้งานมากที่สุด

หนึ่งในโรงพยาบาลที่ได้ใช้งานตู้ความดันบวกจริงในสถานการณ์โควิด-19 ระลอกแรกจนถึงปัจจุบัน คือ โรงพยาบาลศิริราช โดยนายแพทย์สหรัฐ ลีลานุวัฒน์กุล แพทย์ประจำบ้าน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นหนึ่งในแพทย์ผู้ใช้งานตู้ความดันบวก ได้กล่าวถึงการใช้งานว่า “ตู้ความดันบวกที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มก. พัฒนาขึ้น เป็นตู้ที่ช่วยดูแลคนไข้ในเรื่องโควิด-19 ช่วยในการเก็บสิ่งส่งตรวจของคนไข้ ป้องกันการติดเชื้อของคนที่เก็บเชื้อสิ่งส่งตรวจของคนไข้ได้ ช่วยให้ทำงานสะดวกมากขึ้น โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงาน เช่น มีลำโพงที่สามารถสื่อสารกับคนไข้ภายนอกตู้ได้ รวมทั้งยังมีไฟ และเครื่องปรับอากาศด้วย”

          ตู้ความดันบวก เป็นผลงานการออกแบบและพัฒนาของทีมอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล นำโดย ผศ.ดร.ประพจน์ ขุนทอง หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล รศ.ดร.วีรชัย ชัยวรพฤกษ์ ผศ.ดร.เกรียงไกร อัศวมาศบันลือ ผศ.ดร.อรรถพร วิเศษสินธุ์ และ ผศ.ดร.เจตวีย์ ภัครัชพันธุ์

(ภาพจากซ้ายไปขวา: ผศ.ดร.เกรียงไกร อัศวมาศบันลือ อ.ดร.อรรถพร วิเศษสินธุ์ ผศ.ดร.ประพจน์ ขุนทอง ผศ.ดร.เจตวีย์ ภัครัชพันธุ์ และ รศ.ดร.วีรชัย ชัยวรพฤกษ์)

          ผศ.ดร.ประพจน์ เผยว่า “สำหรับตู้ความดันบวกที่พัฒนาขึ้น ได้ออกแบบติดตั้งกล่องความดันบวกและชุดกรอง HEPA (High Efficiency Particulate Air Filter) โดยใช้อุปกรณ์ในระดับเดียวกับที่ใช้ในห้องผ่าตัดที่ใช้ในประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์จากบริษัท แคมฟิล (ประเทศไทย) จำกัด สามารถปรับระดับความดันบวกในตู้ได้ตามต้องการ

          หลักการทำงานของตู้ความดันบวก คือ แพทย์ผู้ตรวจจะอยู่ภายในตู้ตรวจ และผู้ป่วยอยู่ภายนอก โดยแพทย์จะเข้า-ออกตู้ตรวจผ่านประตูกระจก ในตู้ตรวจประกอบด้วย หลอดไฟ ระบบความดันบวก ระบบกรองอากาศที่มีตัวกรอง Pre-filter สำหรับกรองอนุภาคหยาบ และมี HEPA-filter สำหรับกรองอนุภาคขนาดเล็กรวมถึงไวรัส ไม่ให้เข้าสู่ตู้ตรวจได้

          ภายในตู้ตรวจ จะมีเครื่องปรับอากาศที่สามารถลดอุณหภูมิเพื่อเพิ่มความสบายให้กับผู้ปฏิบัติงานภายในตู้ได้ ซึ่งในระหว่างการดึงเชื้อเพื่อนำไปตรวจนั้น ผู้เข้ารับการตรวจคัดกรองอาจมีอาการไอหรือจาม ตู้ความดันบวกจะช่วยป้องกันไม่ให้แพทย์ผู้ตรวจสัมผัสเชื้อโควิด-19 ผ่านลมหายใจหรือละอองน้ำลายของผู้เข้ารับการตรวจ จากการไอหรือจามได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ตู้ตรวจยังสามารถเปิดช่องให้ผู้เข้ารับการตรวจยื่นมือเข้าไปในตู้เพื่อทำการเจาะเลือดได้อีกด้วย”

 

“เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม 63 ซึ่งเป็นการระบาดของเชื้อโควิด-19 ระลอกแรก ตู้ตรวจความดันบวกที่ผลิตโดยคณะวิศวฯ ได้เริ่มติดตั้งใช้งานจริง ณ จุดตรวจหลักที่โรงพยาบาลศิริราช จำนวน 1 ตู้ โดยใช้คัดกรองผู้ป่วยมะเร็งก่อนเข้ารับการผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เฉลี่ยชั่วโมงละ 20 คน ซึ่งเป็นที่พึงพอใจของแพทย์เป็นอย่างมาก ในอนาคตโรงพยาบาลศิริราช จะขยายการคัดกรองผู้ป่วยรอรับการผ่าตัดในกลุ่มอื่น ตู้ความดันบวกจึงจำเป็นและเป็นที่ต้องการของโรงพยาบาลมากยิ่งขึ้น” รศ.ดร.วีรชัย ชัยวรพฤกษ์ หนึ่งในทีมอาจารย์ผู้ออกแบบกล่าวเสริม

ล่าสุด ปี  2564 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่ คณะวิศวฯ ได้พัฒนาประสิทธิภาพของตู้ความดันบวก โดยติดตั้งไมโครโฟนและลำโพง เพื่อเพิ่มความชัดเจนในการสื่อสารระหว่างแพทย์ผู้ตรวจและผู้เข้ารับการตรวจที่อยู่ภายนอกตู้ตรวจ ซึ่งการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งานอย่างต่อเนื่องของตู้ตรวจความดันบวกดังกล่าว คณะวิศวฯ ได้รับคำแนะนำจากการใช้งานจริงของทีมแพทย์

สำหรับการผลิตตู้ความดันบวก คณะวิศวฯ ได้สนับสนุนงบประมาณจากงบประมาณเงินรายได้คณะในการพัฒนา ออกแบบตู้ความดันบวก รวมถึงได้รับการสนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่งจากสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ มก. โรงพยาบาล และภาคเอกชน โดยคณะวิศวฯ ได้ส่งมอบตู้ความดันบวกไปยังหน่วยงานและโรงพยาบาลต่าง ๆ  รวม 13 ตู้ ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช 6 ตู้ / โรงพยาบาลพระปกเกล้า จ.จันทบุรี 1 ตู้ / โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า 1 ตู้ / โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี 1 ตู้ / โรงพยาบาลปทุมธานี 2 ตู้  /โรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี 1 ตู้ และส่งมอบให้กับบริษัท พี ซี ที ลาบอราตอรี เซอร์วิส จำกัด ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการเก็บสิ่งส่งตรวจในการตรวจคัดกรองโควิด-19 ที่ได้รับการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อีก 1 ตู้

นอกจากนี้ ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 คณะวิศวฯ จะส่งมอบตู้ความดันบวกให้กับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จำนวน 1 ตู้ โดยคณะวิศวฯ ได้รับการสนับสนุนการผลิตตู้จากกลุ่มบริษัทอินเทลโนเวชั่น

ทีมผู้พัฒนายังคงพัฒนาและปรับปรุงอุปกรณ์ย่อยของตู้ตรวจความดันบวกอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานของบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งเพื่อลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศด้วยต่อไปในอนาคต….

********************************

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่