ENG KU NEWS

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
คณะวิศวฯ ร่วมงานแถลงข่าว การใช้งาน LinkedIn Learning และ Talent Insightsคณะวิศวฯ ต้อนรับคณะนักเรียน-นักศึกษา อินโดนีเชีย โครงการ YLEC เข้าชมห้องเรียน ห้องปฏิบัติการของคณะ[นิสิตวิศวกรรมไฟฟ้า เข้าศึกษาดูงาน บ.ซินเนอร์ยี่ เทคโนโลยี จำกัด]คณะวิศวฯ นิสิต บุคลากร ได้รับรางวัลรักษ์สุขภาพ โครงการพุธหรรษา มก. ประจำปี 2567 (ปีที่ 7)คณะวิศวฯ จัดประกวดออกแบบ Graffiti I am proud to be a KU Engineerภาควิชาวิศวกรรมโยธา เป็นเจ้าภาพจัดงาน global Project Based Learning (gPBL) ครั้งที่ 14นักวิจัย-นิสิตวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ นำนักศีกษาในโครงการ MDP ลงพื้นที่ สำรวจลุ่มน้ำคลองสวนหมาก กำแพงเพชรภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ ต้อนรับนักศึกษาจาก TU Delft เนเธอร์แลนด์ ร่วมโครงการ Multidisplinary Project (รุ่นที่ 7)คณะวิศวฯ ต้อนรับ คณะครู-นักเรียนจากโรงเรียนหอวัง ปทุมธานี รับฟังข้อมูลหลักสูตร – เยี่ยมชมภาควิชาคณะวิศวฯ รับมอบห้องปฏิบัติการวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์กำลังไฟฟ้าจาก Delta ใช้ในการเรียนการสอนสำหรับนิสิตคณะ

ตู้ตรวจความดันบวกป้องกันแพทย์จากโควิด-19 ฝีมืออาจารย์วิศวฯ มก. ใช้งานจริงที่ศิริราช

ทีมอาจารย์วิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) นำโดย ผศ.ดร.ประพจน์ ขุนทอง หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ร่วมกับอาจารย์ในภาควิชา ออกแบบ พัฒนาตู้ตรวจความดันบวกสำหรับแพทย์ใช้ตรวจผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อผ่านลมหายใจหรือละอองน้ำลายจากผู้ป่วยสู่แพทย์ ติดตั้งใช้งานจริง ณ จุดตรวจถาวร โรงพยาบาลศิริราช

ผศ.ดร.ประพจน์ เผยว่า “โครงการออกแบบ พัฒนา และติดตั้งตู้ตรวจความดันบวกนี้ ได้ดำเนินการร่วมกับศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้รับการสนับสนุนการจัดทำจากคณะวิศวฯ มก. จำนวน 85,000 บาท และได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์การจัดทำตู้จากบริษัท แคมฟิล (ประเทศไทย) จำกัด ในการออกแบบและติดตั้งกล่องความดันบวกและชุดกรอง HEPA (High Efficiency Particulate Air Filter) ได้ใช้อุปกรณ์ในระดับเดียวกับที่ใช้ในห้องผ่าตัดที่ใช้ในประเทศไทย และสามารถปรับระดับความดันบวกในตู้   ได้ตามต้องการ”

“หลักการทำงานของตู้ความดันบวก คือ แพทย์ผู้ตรวจจะอยู่ภายในตู้ตรวจ และผู้ป่วยอยู่ภายนอก โดยแพทย์จะเข้า-ออกตู้ตรวจผ่านประตูกระจก ภายในตู้ตรวจประกอบด้วย หลอดไฟ ระบบความดันบวก ระบบกรองอากาศที่มีตัวกรอง Pre-filter สำหรับกรองอนุภาคหยาบ และมี HEPA-filter สำหรับกรองอนุภาคขนาดเล็กรวมถึงไวรัส ไม่ให้เข้าสู่ตู้ตรวจได้

นอกจากนี้ภายในตู้ตรวจ จะมีเครื่องปรับอากาศที่สามารถลดอุณหภูมิเพื่อเพิ่มความสบายให้กับผู้ปฏิบัติงานภายในตู้ได้ ซึ่งในระหว่างการดึงเชื้อเพื่อนำไปตรวจนั้น ผู้ป่วยอาจมีอาการไอหรือจาม ตู้ความดันบวกจะช่วยป้องกันไม่ให้แพทย์ผู้ตรวจสัมผัสเชื้อโควิด-19 ผ่านลมหายใจหรือละอองน้ำลายของผู้ป่วยจากการไอหรือจาม   ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ตู้ตรวจยังสามารถเปิดช่องให้ผู้ป่วยยื่นมือเข้าไปในตู้เพื่อทำการเจาะเลือดได้อีกด้วย

ตู้ตรวจความดันบวก ได้เริ่มติดตั้งใช้งานจริง ณ จุดตรวจหลักที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม 63 ที่ผ่านมา ใช้คัดกรองผู้ป่วยมะเร็งก่อนเข้ารับการผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เฉลี่ยชั่วโมงละ 20 คน ซึ่งเป็นที่พึงพอใจของแพทย์เป็นอย่างมาก โดยในอนาคตโรงพยาบาลศิริราช จะขยายการคัดกรองผู้ป่วยรอรับการผ่าตัดในกลุ่มอื่น ตู้ความดันบวกจึงจำเป็นและเป็นที่ต้องการของโรงพยาบาลมากยิ่งขึ้น” ผศ.ดร.วีรชัย ชัยวรพฤกษ์ หนึ่งในทีมอาจารย์ผู้ออกแบบกล่าวเสริม

ทีมอาจารย์ผู้ออกแบบและพัฒนาตู้ตรวจความดันบวก ประกอบด้วย ผศ.ดร.ประพจน์ ขุนทอง (หัวหน้าโครงการ) ผศ.ดร.เกรียงไกร อัศวมาศบันลือ ผศ.ดร.เจตวีย์ ภัครัชพันธุ์ ผศ.ดร.วีรชัย ชัยวรพฤกษ์ และ อ.ดร.อรรถพร วิเศษสินธุ์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มก.

ทีมผู้พัฒนายังคงพัฒนาและปรับปรุงอุปกรณ์ย่อยของตู้ตรวจความดันบวกอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานของบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งเพื่อลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศด้วยต่อไปในอนาคต….

***********************************************************

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่