ENG KU NEWS

วันจันทร์ที่ 06 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
นิสิตวิศวฯ เครื่องกล-วิศวฯ วัสดุ คว้ารางวัลชนะเลิศ แผนรณรงค์ สร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในสถานศึกษา Toyota Campus Challenge 2023วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานคณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 88 ปีอาจารย์คณะวิศวฯ-คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานในการประชุม Sino-Thai Symposium on Energy and New Materialsผู้บริหาร-อาจารย์คณะ หารือความร่วมมือด้านวิจัย-วิชาการ กับ Tamkang University, Taiwanผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ National Tsing Hua University (NTHU) ไต้หวันผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ Tunghai University ไต้หวันร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ MCUT ไต้หวัน  ผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ ร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการกับผู้บริหาร Yuan Ze University, Taiwanอาจารย์คณะได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น (ศ.11)

วิศวฯ ม.เกษตรสร้างต้นแบบรถ Mini EV พลังงานแสงอาทิตย์คันแรกของไทย

วิศวฯ ม.เกษตรสร้างต้นแบบรถ Mini EV พลังงานแสงอาทิตย์คันแรกของไทย

                คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประสบความสำเร็จกับการพัฒนารถยนต์มินิ อีวี หรือ Mini Electric Vehicle (Mini EV) ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์คันแรกของประเทศไทย ใช้งานได้จริง ประหยัดค่าใช้จ่าย รองรับสถานการณ์น้ำมันทีจะมีปริมาณลดลงและหมดไปในอนาคต

                รศ.มนตรี ค้ำชู รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและกิจการพิเศษ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ดัดแปลงรถยนต์มินิโรเวอร์ (Mini Rover) เป็นรถมินิ อีวี พลังงานแสงอาทิตย์ กล่าวว่า “จากการที่คณะวิศวฯ ได้ให้ความสำคัญกับการร่วมรณรงค์ลดภาวะโลกร้อนและการหาพลังงานทางเลือกใหม่ทดแทนน้ำมัน รวมถึงการเป็น Green Campus ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้น   ทำให้คณะวิศวฯ คิดค้นและพัฒนายานยนต์ประหยัดน้ำมันในรูปแบบต่างๆ   และเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา   คณะวิศวฯ ได้มีโอกาสต้อนรับ Mr.Louis Palmer นักวิจัยชาวสวิสเซอร์แลนด์ ผู้พัฒนารถพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Taxi) พร้อมทีมงานที่เดินทางมายังประเทศไทย ได้จุดประกายให้คณะวิศวฯ ต้องการสร้างรถพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้น”

สำหรับรถ มินิ อีวี คันดังกล่าว นับเป็นรถนำร่องของคณะวิศวฯ ที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อร่วมฉลองในวาระที่คณะวิศวฯ ครบรอบ 70 ปีแห่งการก่อตั้ง เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2551 ที่ผ่านมา    โดยการออกแบบรถคันนี้ ใช้เวลา 1 เดือนในการวางแผน และอีก 2 เดือนสำหรับการดัดแปลงและติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคารถ ซึ่งเป็นแผ่นสำหรับรองรับพลังงานแสงอาทิตย์ โดยนำพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้รับจากแผงโซลาร์เซลล์มาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าเก็บสะสมไว้ที่แบตเตอรี่หน้ารถและท้ายรถ     และนำมาขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็ก 1,500 วัตต์   2 แรงม้า สามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้   2 ทาง   คือ การใช้แผงโซลาร์เซลล์รับพลังงานแสงอาทิตย์ โดยใช้เวลา 6-8 ชั่วโมง และชาร์จไฟได้ด้วยการเสียบรับไฟจากปลั๊กไฟฟ้าทั่วไป ใช้เวลาในการชาร์จ 4-6 ชั่วโมง

หากขับด้วยความเร็ว 30-40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง   จะขับไปได้ในระยะทาง 80-100 กิโลเมตร และใช้พลังงานในการขับเคลื่อนโดยประมาณ 4-6 บาทต่อชั่วโมง ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 4- 6 เท่าของการใช้พลังงานน้ำมัน

ล่าสุด รศ.มนตรีฯ ยังได้ทำการคิดพัฒนารถยนต์มินิ อีวี ให้มีความสามารถมากขึ้น โดยออกแบบแผงโซลาร์เซลล์ให้สามารถกางออกเมื่อต้องการรับแสงอาทิตย์และพับเก็บหรือเลื่อนซ้อนกันเมื่อไม่ใช้งาน และยังเพิ่มขนาดพื้นที่ในการรับแสงอาทิตย์ให้มากขึ้น นอกจากนั้นยังจะมีการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ให้แผงโซลาร์เซลล์สามารถปรับมุม เปลี่ยนทิศทางหันตามดวงอาทิตย์เพื่อรับแสงอาทิตย์ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งคณะวิศวฯ มีการวางแผนจะนำรถที่ออกแบบพิเศษโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์เข้าร่วมแสดงในงานยานยนต์ Advanced Car Exhibition ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ในปลายปี 2552 ที่จะถึงนี้ด้วย

“ในอนาคต   คณะวิศวกรรมศาสตร์   มีแผนสร้างธนาคารโซลาร์ (Solar Bank ) บนชั้นดาดฟ้าอาคารชูชาติ กำภู เพื่อรับพลังงานแสงอาทิตย์และเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า   แต่อย่างไรก็ตาม รถต้นแบบพลังงานแสงอาทิตย์ ยังมีการใช้แผงโซล่าร์เซลล์และแบตเตอรี่ที่มีราคาสูง     หากมีการคิดค้นพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าวให้มีราคาที่ถูกลง รถพลังงานแสงอาทิตย์จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับประชาชนคนไทยอย่างแน่นอน” รศ.มนตรีฯ กล่าวทิ้งท้าย….

 

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่