ENG KU NEWS

วันจันทร์ที่ 06 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
นิสิตวิศวฯ เครื่องกล-วิศวฯ วัสดุ คว้ารางวัลชนะเลิศ แผนรณรงค์ สร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในสถานศึกษา Toyota Campus Challenge 2023วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานคณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 88 ปีอาจารย์คณะวิศวฯ-คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานในการประชุม Sino-Thai Symposium on Energy and New Materialsผู้บริหาร-อาจารย์คณะ หารือความร่วมมือด้านวิจัย-วิชาการ กับ Tamkang University, Taiwanผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ National Tsing Hua University (NTHU) ไต้หวันผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ Tunghai University ไต้หวันร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ MCUT ไต้หวัน  ผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ ร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการกับผู้บริหาร Yuan Ze University, Taiwanอาจารย์คณะได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น (ศ.11)

วิศวฯ ม.เกษตรร่วมสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์ยิงขึ้นสู่วงโคจรแล้ว

วิศวฯ ม.เกษตรร่วมสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์ยิงขึ้นสู่วงโคจรแล้ว

นับเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของคนไทยและคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวxxxxกาศ และภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์ หรือ Small Multi-Mission Satellite (SMMS) ซึ่งเป็นดาวเทียมที่ใช้ประโยชน์ในการวางแผนภาพรวมในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่งและเฝ้าระวังภัยพิบัติ รวมถึงการจัดการพื้นที่ทางการเกษตรกรรม ด้านชลประทาน ด้านการประมง ด้านการสำรวจจัดทำแผนที่ รวมถึงการวิจัยศึกษาด้านการสื่อสารความถี่สูงย่าน Ka-Band ของประเทศไทย

ล่าสุดเมื่อเวลา 11.25 น. (ของเวลาท้องถิ่น ซึ่งตรงกับเวลา 10.25 น. ในประเทศไทย) ของวันที่ 6 กันยายน 2551 ดาวเทียม SMMS ได้ถูกยิงขึ้นสู่วงโคจรแบบ Sun-Synchronous ซึ่งโคจรในแนวเหนือ-ใต้ อยู่เหนือจากพื้นโลก 650 กิโลเมตร โดยมี รศ. วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อ.นนทวัฒน์ จันทร์เจริญ คณบดี รศ.ดร.ศานติ วิริยะวิทย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ รศ.ดร.มงคล รักษาพัชรวงศ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า พร้อมด้วยคณะทำงาน และนายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ร่วมเป็นสักขีพยานในการร่วมส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรด้วยโดยปล่อยดาวเทียม ณ ศูนย์ส่งดาวเทียมเมืองไท่หยวน (Taiyuan Satellite Launching Center: TSLC) ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

สำหรับโครงการสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์ SMMS ดวงนี้ เป็นโครงการร่วมสร้างดาวเทียมขนาดเล็กระหว่างประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยประเทศไทยรับผิดชอบในการจัดสร้างระบบสื่อสารเพื่อใช้ในการทดลองย่าน Ka-band ซึ่งสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ว่าจ้างคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในวงเงิน 105 ล้านบาท ให้ทำการศึกษา ออกแบบและจัดสร้างอุปกรณ์สื่อสารระบบ Ka-Band เพื่อติดตั้งในดาวเทียม SMMS รวมถึงจัดสร้างสร้างสถานีภาคพื้นดินและติดตั้งอยู่กับที่และแบบเคลื่อนที่ได้ ซึ่งในการนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ประสานความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีสื่อสารอวกาศแห่งเมืองซีอาน (Xi’an Institute of Space Radio Technology—XISRT) สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นหน่วยงานขององค์การอวกาศแห่งชาติจีน (China National Space Administration—CNSA) เพื่อร่วมศึกษา วิจัย ออกแบบ และพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าว รวมถึงบุคลากรของไทยให้มีศักยภาพในการต่อยอดวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศในอนาคต โดยสถานีเทคโนโลยีภาคพื้นดินระบบสื่อสารย่าน Ka-Band ตั้งอยู่ ณ อาคารชูชาติ กำภู คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดสร้างอุปกรณ์ด้าน Remote Sensing การทดลองวิทยาศาสตร์ และจรวดส่งดาวเทียม รวมทั้งสถานีติดตามและควบคุมดาวเทียม

                รศ.ดร.ศานติฯ กล่าวในฐานะหัวหน้าโครงการฯ นี้ว่า “ความท้าทายเชิงวิศวกรรมของการดำเนินการโครงการนี้ มีอยู่หลายประการที่ล้วนต้องอาศัยความรู้ความสามารถและความอดทนของคณะวิจัย ในการพัฒนาอุปกรณ์สื่อสารและสถานีภาคพื้นดิน คือ การสื่อสารระบบ Ka-Band เป็นย่านความถี่สูงว่าย่าน Ku-Band ที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการสื่อสารผ่านดาวเทียมในปัจจุบันเกือบ 2 เท่า ทำให้มีการรบกวนและการลดทอนของสัญญาณมาก จึงต้องออกแบบระบบด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างมาก อีกทั้งดาวเทียม SMMS มีวงโคจรต่ำและเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว การสื่อสารที่ย่านความถี่สูงมากจำเป็นต้องออกแบบระบบขับเคลื่อนของจานรับสัญญาณที่สถานีภาคพื้นดินให้มีความรวดเร็วและความแม่นยำสูง (น้อยกว่า 0.1 องศา) ประกอบกับปรากฏการณ์ความถี่เลื่อนของสัญญาณ (Doppler Frequency Shift) อันเกิดจากการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงของดาวเทียม เมื่อเทียบกับสถานีพื้นดินทำให้ต้องออกแบบอุปกรณ์ประมวลผลสัญญาณที่ซับซ้อนเพื่อแก้ไขปรากฏการณ์ดังกล่าว”
รศ.ดร.มงคลฯ หัวหน้าคณะวิจัย กล่าวเสริมว่า “กว่าทศวรรษแห่งความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยใช้เวลาพัฒนาและจัดสร้างกว่า 3 ปี บัดนี้ดาวเทียม SMMS ได้ถูกจัดส่งขึ้นสู่วงโคจรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกเหนือจากอุปกรณ์สื่อสาร KABES (Ka-Band Experiment System)  บนดาวเทียม SMMS ยังได้ติดตั้งกล้องเพื่อใช้ในการถ่ายภาพพื้นผิวโลก ซึ่งมีทั้งแบบ CCD Multi-spectrum จำนวน 2 กล้องที่สามารถถ่ายภาพได้กว้างถึง 700 กิโลเมตร และแบบ Hyperspectrum ที่สามารถถ่ายภาพได้ถึง 125 แถบความถี่ โดยมีความกว้างของแถบความถี่ (Spectral Resolution) เพียง 5nm ทำให้ข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานร่วมกันสำหรับประเทศไทยได้อย่างหลากหลาย”
ภายหลังจากการยิงดาวเทียม SMMS ขึ้นสู่วงโคจรแล้ว  จะเข้าสู่กระบวนการทดสอบการทำงานในวงโคจร (In-Orbit-Test :IOT) ณ สถานีภาคพื้นดินคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากนั้นจะเป็นการส่งมอบการใช้งานให้แก่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งในส่วนของการประยุกต์ใช้ข้อมูลด้านภารกิจสำรวจโลกของดาวเทียม SMMS นั้น คณะวิศวฯ และกระทรวงไอซีทีพร้อมให้ความร่วมมือในการจัดเก็บข้อมูลที่ได้จากประเทศจีน การบริหารจัดการและเผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ รวมถึงการให้บริการวิชาการในการวิจัยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป โดยผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดของโครงการและกิจกรรมต่างๆ ได้ที่เว็บไซต์  http://space.mict.go.th หรือ http://smms.ee.ku.ac.th

   

รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ซ้าย) และ อ.นนทวัฒน์ จันทร์เจริญ คณบดี (ขวา) ร่วมในพิธีส่งดาวเทียม SMMS ขึ้นสู่วงโคจร ด้วย

 

คณะทำงานโครงการดาวเทียม SMMS

 

อ.นนทวัฒน์ฯ คณบดี ร่วมถ่ายภาพกับคณะทำงาน ขณะตรวจดูการติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียม SMMS ณ อาคารชูชาติ กำภู คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่