ENG KU NEWS

วันพฤหัสที่ 01 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
[คณะวิศวฯ ร่วมงานสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 89 ปี]อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ หารือความร่วมมือด้านวิชาการ วิจัย ร่วมกับ NCAC มองโกเลียคณบดีและผู้บริหารคณะ รับมอบทุนสนับสนุนจัดซื้อครุภัณฑ์สำหรับอาคารหัวลำโพง จากนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ รุ่น E37คณะจัดเสวนาวิชาการ i-Forum เรื่อง SMR นิวเคลียร์ขนาดเล็ก ดีจริงหรือ?คณะฯ จัด PQI 2025 : Workshop & Coaching & Training ในโครงการพัฒนาคุณภาพและผลิตภาพภายในองค์กร (Productivity Quality Improvement: PQI)คณะวิศวฯ จัดโครงการ พัฒนาศักยภาพการวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ประจำปี 2568ขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาควิชาวิศวกรรมเคมี พร้อมนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ ได้รับรางวัล STAR OF CAMP ในงาน Start Up Thailand Leage 2025คณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน ครบรอบ 22ปีคณะวิศวฯ นำถังหมักเศษอาหารแบบเติมอากาศ ร่วมแสดงและสาธิตการใช้งาน ในโครงการไม่เทรวมคณะวิศวฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ i-Connect เชื่อมโยงโลกด้วย AI และทักษะภาษาอังกฤษ

นิสิตวิศวฯ คว้ารองชนะเลิศ ซอฟท์แวร์เพื่องานอุตสาหกรรม

นายสุชา  สุพิทยภรณ์พงศ์ และ นายอาทิตย์ สาหร่าย    2 นิสิตวิศวกรรมคอมพิวเตอร์   ชั้นปีที่ 4 นำผลงาน โครงงานระบบวัดอุณหภูมิและความชื้นอัจฉริยะ ผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย (Intelligent Wireless Sensor Network for Temperature and Humidity monitoring) คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โครงการประกวดซอฟท์แวร์เพื่องานอุตสาหกรรม จากทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 40 ทีม    ซึ่งงานนี้จัดโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม        รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ประกาศนียบัตรและเงินรางวัล   จำนวน 20,000 บาท    (สองหมื่นบาทถ้วน)    จาก นายจารึก เฮงรัศมี     ผู้อำนวยการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์       ในพิธีมอบรางวัลที่จัดขึ้น ณ โรงแรมปทุมวัน ปรินเซส มาบุญครอง    เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2548 ที่ผ่านมา

จากจำนวนผู้เข้าแข่งขันจากทั่วประเทศ การที่จะฝ่าฟันและคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 มาครอง จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก  นิสิตผู้ได้รับรางวัลทั้งสอง กล่าวถึงแรงบันดาลใจที่ทำให้คิดโครงงานนี้ว่า   “อยากจะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาพัฒนาและประยุกต์ใช้งานได้จริง โดยเฉพาะโครงงานนี้เป็นการนำเอาเทคโนโลยีส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายไร้สาย (wireless sensor network) มาประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ซึ่งในประเทศไทยยังไม่มีใครทำ จุดที่ยากคือต้องทำให้น่าสนใจ ใช้งานได้จริง และต้องดีกว่าของเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยโครงงานนี้เป็นสิ่งใหม่และเน้น Friendly User Interface คือ พัฒนาให้ผู้ใช้งานใช้ได้สะดวกโดยไม่ต้องมีความรู้เรื่องระบบคอมพิวเตอร์มากนัก “

นิสิตทั้งสองกล่าวต่อว่า “โครงงานประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือ ซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ ซึ่งฮาร์ดแวร์ คือ อุปกรณ์ที่ใช้วัดอุณหภูมิและความชื้น ซึ่งมีขนาดเล็กประมาณกล่องไม้ขีด ใช้ติดตั้งตามจุดต่างๆ ที่เราต้องการวัดภายในอาคาร โรงงาน ห้องทดลองต่างๆ หรือแม้กระทั่งในสวนหรือเรือนเพาะชำที่มีขนาดใหญ่ ที่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้น โดยจะวัดข้อมูลแล้วส่งสัญญาณเป็นคลื่นวิทยุไปตามจุดที่เราติดตั้งไว้ จุดสุดท้ายจะส่งคลื่นวิทยุส่งเข้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยเก็บข้อมูลและประมวลผล ลักษณะพิเศษนี้คือ เป็นการส่งข้อมูลแบบไร้สาย ไม่เปลืองเนื้อที่ ติดตั้งง่าย ไม่ต้องยุ่งยากกับการเดินสายไฟ”

ในส่วนของการแข่งขัน “มีการเตรียมตัวก่อนการแข่งขันประมาณ 2 เดือน   ศึกษาหาข้อมูล โดยมี อ.ดร.ยอดเยี่ยม ทิพย์สุวรรณ์ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ได้ให้คำแนะนำในเรื่องข้อมูลและอุปกรณ์ต่างๆ เป็นเวลา 1 เดือน และเริ่มลงมือทำอีก 1 เดือน

การแข่งขันแบ่งเป็น 2 รอบ  ทีมละไม่เกิน 3 คน  โดยรอบแรกให้ส่งข้อเสนอโครงงานว่าเราต้องการทำอะไร  โดยในระดับปริญญาตรีมีทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก 50 ทีมจากทั่วประเทศ แต่เข้าแข่งขันรอบสองเพียง 40 ทีม   ส่วนรอบสอง ใช้เวลา 1 วัน โดยแบ่งเป็นรอบเช้าเป็นการจัดบูธเสนอตัวอย่างโครงงานที่ทำ   คณะกรรมการจะเดินตรวจและซักถามเกี่ยวกับโครงงาน แล้วคัดเพียง 10 ทีม  เพื่อเข้าแข่งขันในรอบบ่ายซึ่งเป็นการนำเสนอโครงงานบนเวที

จากการแข่งขันครั้งนี้ทำให้เห็นความคิดของเพื่อนต่างสถาบันที่เข้าแข่งขัน เป็นการเปิดโลกกว้างให้กับตัวเอง ได้แนวคิดใหม่ๆ เพื่อสร้างสรรค์งานอื่นๆ ต่อไป และที่สำคัญเป็นการฝึกความรับผิดชอบในการทำงานซึ่งเป็นเหมือนการเตรียมตัวในการทำงานจริงในอนาคต ซึ่งอยากจะขอบคุณอาจารย์อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานที่ได้ชี้แนะแนวทาง รวมถึงคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ได้เปิดโอกาสให้เราได้ทำ ได้คิด อย่างเต็มที่ครับ”

นิสิตทั้งสองยังได้กล่าวฝากไว้ว่า “การเป็นคนเก่งไม่ใช่เรียนเก่งเพียงอย่างเดียว ควรหากิจกรรมทำด้วย นอกจากจะได้ประสบการณ์ ได้เพื่อนแล้ว ยังเป็นการสร้างคุณค่าให้ตัวเองและยังเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างงานเพื่อคนอื่นด้วย”

การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยจะก้าวหน้าไปได้เพียงใดนั้น  ขึ้นอยู่นักคิด นักประดิษฐ์ผู้มีแนวคิดที่ก้าวหน้านำสิ่งใหม่ๆ มาพัฒนาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มก. ได้วางรากฐานนั้นไว้เป็นอย่างดี ………….

 

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่