ENG KU NEWS

วันพฤหัสที่ 01 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
คณะวิศวฯ เข้าพบบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด หารือความร่วมมือทางวิชาการคณะวิศวฯ จัดอบรมการพัฒนาซอฟต์แวร์บนระบบสมองกลฝังตัวโดยใช้ภาษา Pythonนิสิตวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ จากการแข่งขัน Swift Student Challenge 2025อาจารย์คณะได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ (รอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง)อาจารย์คณะได้รับการอนุมัติแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองศาสตราจารย์อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ เข้าร่วมประชุมหารือความร่วมมือ กับ NCAC ประเทศมองโกเลียคณะวิศวฯ ร่วมงานสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 89 ปีบุคลากรคณะวิศวฯ ได้รับรางวัลชมเชยบุคลากรสายสนับสนุนผู้มีผลงานดีเด่นแห่งชาติ ปขมท. ประจำปี 2567 ด้านสร้างสรรค์นวัตกรรมดีเด่น[คณะวิศวฯ ร่วมงานสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 89 ปี]

นิสิตวิศวฯ คว้า 2 รางวัล ทักษะฝีมือมาตรวิทยา

สองนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 และอันดับ 3 จากการแข่งขัน Metrology Competition ประจำปี 2548    จัดโดย บริษัทมิตูโตโย (ประเทศไทย) จำกัด   รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร     พร้อมเงินรางวัลมูลค่า   US$ 500   และ   US$ 250   ตามลำดับ จากผู้เข้าแข่งขัน 22 คน จาก 11 สถาบันการศึกษา   ในงานที่จัดขึ้น  ณ  สำนักงานสาขานิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ 25 – 26 สิงหาคม 2548 ที่ผ่านมา

นางสาวภานุดา ชยธวัช และนายภัคธร สงวนสิน  นิสิตชั้นปีที่  4 สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต ผู้แทนเข้าแข่งขันและคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 และอันดับ 3 ตามลำดับ กล่าวว่า “ได้รับการคัดเลือกจากอาจารย์ให้เข้าร่วมการแข่งขันในระดับ Advanced ซึ่งเป็นการแข่งขันทดสอบความรู้และทักษะการใช้เครื่องมือวัด การสอบเทียบเครื่องมือวัดด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยและเทคโนโลยีที่ออกแบบขึ้นมาเฉพาะ   ต้องอาศัยความรู้ ทักษะและประสบการณ์จากการใช้อุปกรณ์เครื่องมือวัดจริงจึงจะสามารถผ่านเข้าร่วมการทดสอบได้

การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 วัน โดยการแข่งขันวันแรกเป็นการทดสอบภาคปฏิบัติให้ผู้เข้าแข่งขันทดสอบวัดชิ้นงานชิ้นเดียวกัน 1 ชิ้น โดยใช้เครื่อง CMM (Coordinate Measuring Machine) และเครื่องมือวัดความเรียบผิว (Surface Roughness) เพื่อหาค่าที่ใกล้เคียงที่สุด โดยอ้างอิงจากผลการวัดของผู้เชี่ยวชาญของทางบริษัท Mitutoyo  วันที่สองสอบทฤษฎีเป็นข้อสอบภาษาอังกฤษ 80 ข้อ ให้เวลาชั่วโมงครึ่ง จากนั้นนำคะแนนทั้งสองภาคมารวมกัน ใครได้คะแนนสูงสุดเป็นผู้ชนะ ซึ่งการแข่งขันคงไม่สามารถระบุได้ว่าภาคทฤษฎีหรือภาคปฏิบัติยากกว่ากัน เพราะภาคปฏิบัติผู้แข่งขันจะต้องเจอกับซอฟท์แวร์ที่ไม่คุ้นเคย  ส่วนภาคทฤษฎีก็ต้องอ่านตำราแบบกว้างๆ รวมทั้งตำรามาตรฐานอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เนื่องจากบริษัทผู้จัดงานเป็นบริษัทจากประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตเครื่องมือวัดและทดสอบที่นิยมใช้งานกันทั่วโลก

สำหรับในส่วนการเตรียมตัวก่อนการแข่งขัน   ผู้ได้รับรางวัลทั้งสองได้ค้นคว้าเพิ่มเติม ซักถามจากผู้เชี่ยวชาญประจำบริษัทมิตูโตโย (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมทั้งได้รับคำแนะนำเทคนิคต่างๆ จาก อ.กัมปนาท อ่วมกุล อาจารย์พิเศษจากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม และลงมือฝึกปฏิบัติจากเครื่องมือจริงที่ได้มาตรฐานซึ่งเป็นประโยชน์มากต่อการนำมาใช้ในการแข่งขันและการทำงานในอนาคต

ท้ายสุดทั้งสองได้ฝากถึงน้องๆ ว่า “เป็นโอกาสอันดีที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีวิชาเครื่องมือและการวัดละเอียด (Instrument And Precision Measurement) ซึ่งมีอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ได้มาตรฐานและเมื่อมีโอกาสเรียนก็ควรใช้โอกาสนั้นให้เต็มที่ เพราะเมื่อจบการศึกษาไปวิชานี้จะมีประโยชน์มากต่อการทำงาน และสำหรับน้องๆ ที่มีโอกาสเข้าแข่งขันในปีหน้าคงต้องบอกให้เตรียมความรู้ภาษาอังกฤษไว้แต่เนิ่นๆ เพราะข้อสอบและคำสั่งการใช้งานเครื่องมือเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ซึ่งถ้าสามารถอ่านได้คล่องก็ทำให้มีเวลาในการหาคำตอบหรือแก้ปัญหาอื่นได้มากขึ้น”

     

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่