ENG KU NEWS

วันพฤหัสที่ 01 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
[คณะวิศวฯ ร่วมงานสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 89 ปี]อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ หารือความร่วมมือด้านวิชาการ วิจัย ร่วมกับ NCAC มองโกเลียคณบดีและผู้บริหารคณะ รับมอบทุนสนับสนุนจัดซื้อครุภัณฑ์สำหรับอาคารหัวลำโพง จากนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ รุ่น E37คณะจัดเสวนาวิชาการ i-Forum เรื่อง SMR นิวเคลียร์ขนาดเล็ก ดีจริงหรือ?คณะฯ จัด PQI 2025 : Workshop & Coaching & Training ในโครงการพัฒนาคุณภาพและผลิตภาพภายในองค์กร (Productivity Quality Improvement: PQI)คณะวิศวฯ จัดโครงการ พัฒนาศักยภาพการวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ประจำปี 2568ขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาควิชาวิศวกรรมเคมี พร้อมนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ ได้รับรางวัล STAR OF CAMP ในงาน Start Up Thailand Leage 2025คณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน ครบรอบ 22ปีคณะวิศวฯ นำถังหมักเศษอาหารแบบเติมอากาศ ร่วมแสดงและสาธิตการใช้งาน ในโครงการไม่เทรวมคณะวิศวฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ i-Connect เชื่อมโยงโลกด้วย AI และทักษะภาษาอังกฤษ

ศูนย์คลัสเตอร์วิศวฯ ร่วมมือ ม.มาลายา จัดตั้งระบบกริด

ผศ.ดร.ภุชงค์ อุทโยภาศ หัวหน้าศูนย์วิจัยคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีคลัสเตอร์และกริด ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยมาลายา ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศมาเลเซีย  ให้ไปบรรยายและร่วมแบ่งปันความรู้ด้านเทคโนโลยีระบบกริดและคลัสเตอร์  โดยทางศูนย์ฯ ได้ใช้งานซอฟท์แวร์ NPACI Rocks Cluster เป็นซอฟท์แวร์พื้นฐานหลักในการจัดตั้งระบบคลัสเตอร์และระบบพื้นฐานสำหรับระบบกริดและใช้งานซอฟท์แวร์ Globus เป็นซอฟท์แวร์ตัวกลางพื้นฐานสำหรับระบบกริดทั้งหมด

นอกจากนี้     ศูนย์ฯ ได้ร่วมจัดตั้งระบบกริดสำหรับการวิจัยภายใน ม.มาลายา ซึ่งมีชื่อว่า (Geranium Grid)   โดยการเชื่อมระบบคลัสเตอร์จำนวน 2 คลัสเตอร์และเซอร์เวอร์ 1 เซอร์เวอร์     เพื่อสร้างระบบทดสอบสำหรับการวิจัยทางด้านระบบกริดภายในมหาวิทยาลัย     อีกทั้งระบบกริดดังกล่าวยังเชื่อมต่อกับ MyREN (Malaysia Research & Education Network) ซึ่งเป็นระบบเครือข่ายเพื่อการวิจัยในอนาคตของมาเลเซียอีกด้วย

ทั้งนี้ เทคโนโลยีกริดคอมพิวติ้ง กำลังเป็นเทคโนโลยีที่เชื่อกันว่าจะเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศมาเลเซียภายใต้แผนพัฒนาประเทศ ฉบับที่ 9 คู่กับเทคโนโลยีด้านอื่นๆ เช่น IPv6  RFID  และศูนย์วิจัยคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คณะวิศวฯ เป็นสถาบันหนึ่งที่มีผลงานวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีกริดและคลัสเตอร์เป็นที่รู้จักและยอมรับกันอย่างกว้างขวางในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและในกลุ่มนักวิจัยด้านนี้ทั่วโลก

 

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่