ENG KU NEWS

วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
คณะวิศวฯ – สอวช. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ Foresight Workshop ครั้งที่ 5คณะวิศวฯ ร่วมเฝ้ารับเสด็จฯ และถวายการปลูกต้นไม้นิสิตคณะวิศวฯ คว้ารองแชมป์ การแข่งขันหุ่นยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก World RoboCup 2024 ประเภทหุ่นยนต์ใช้งานภายในบ้าน @Home SSPLวิศวะ ม.เกษตรฯ เปิดบ้านในงาน “KU ENGINEERING OPEN HOUSE”คณะวิศวฯ – NCKU ไต้หวัน ร่วมจัดประชุมวิชาการนานาชาติ 25th Conference of Asia Pacific Management Conferenceคณะวิศวฯ ร่วมพิธีลงนาม อนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัยอาจารย์คณะสมาคมนิสิตเก่าวิศวฯ มก. – คณะวิศวฯ จัดโครงการ KAMP4 Open House เปิดโอกาสให้นิสิตปัจจุบัน พบปะ ฟังวิสัยทัศน์จากรุ่นพี่-นิสิตเก่าที่ประสบความสำเร็จคณบดีนำนิสิตได้รับรางวัล เข้าพบอธิการบดีนิสิตเก่าวิศวฯ มก.- วิศวกรหญิง ได้รับรางวัลวิศวกรหญิงดีเด่น ปี 2567 ในงานวันวิศวกรหญิงสากลนิสิตวิศวฯ เครื่องกล คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 การแข่งขันนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ

คณะวิศวฯ – คณะสัตวแพทย์ มก. ร่วมพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์

คณะวิศวฯ – คณะสัตวแพทย์ มก. ร่วมพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์

คณาจารย์นักวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ร่วมกับคณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บูรณาการความรู้เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้มีประสิทธิภาพและความสะดวกในการดูแลสัตว์เลี้ยง รวมถึงยังเพิ่มความปลอดภัยให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในการรักษาให้มีมากยิ่งขึ้น ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของสัตว์ป่วยและอัตราการเกิดความบกพร่องทางกาย หรือความพิการของสัตว์เลี้ยงได้เป็นอย่างมาก

  • โครงการพัฒนาลู่วิ่งสุนัขขนาดเล็กสำหรับสุนัข (Design and Development of Small Dog Treadmill)

ผลงานของ อ.สพ.ญ.นภาภรณ์ นำสุวรรณกิจกุล และ รศ.ดร.ชวลิต กิตติชัยการ

ลู่วิ่งสุนัขขนาดเล็กสำหรับสุนัข เป็นลู่วิ่งสายพานที่มีลักษณะเหมือนของคน ใช้ในการรักษาและฟื้นฟูสัตว์ที่ป่วยด้วยโรคข้อกระดูกและข้อเสื่อมที่มีความจำเป็นต้องได้รับการทำกายภาพบำบัด ทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด รวมไปถึงสัตว์ที่มีน้ำหนักมากและจำเป็นต้องมีการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก โดยมีการประยุกต์ใช้ระบบมอเตอร์ไฟฟ้า ในการเอียงระดับลู่วิ่งสายพานวิ่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสะดวกในการรักษา รวมถึงพัฒนาระบบควบคุมเพื่อปรับตั้งค่าต่างๆ ของลู่วิ่งสายพานและเพื่อความเพลิดเพลินของสัตวแพทย์และเจ้าของสุนัขระหว่างการรักษา เครื่องที่ได้จากการสร้างนี้ จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและอัตราการเกิดความบกพร่องทางกาย หรือ ความพิการของสุนัขได้เป็นอย่างมากชุดแพทย์ฉลาด (Smart Scrub Suit)
ผลงานของ รศ.ดร.นริศ เต็งชัยศรี, รศ.ดร.อภิรัตน์ เลาห์บุตรี, ผศ.ดร.อมรรัตน์ เลิศวรสิริกุล และผศ.ดร.อรทัย จงประทีป
Smart Scrub Suit เป็นชุดแพทย์ที่มีการผสมผสานเทคโนโลยีสิ่งทอร่วมกับการพัฒนาสูตรน้ำยาเคลือบ เพื่อปรับปรุงชุดแพทย์ให้มีสมบัติพิเศษด้านกายภาพ เพิ่มความนุ่มนวลของใยผ้า ลดการเกิดรอยยับของผ้า ทำให้เนื้อผ้ามีกลิ่นหอมขณะสวมใส่ เช่น กลิ่นมะลิ ลาเวนเดอร์ และกุหลาบ สามารถยับยั้งเจริญเติบโตของเชื้อ

  • แบคทีเรีย เพื่อส่งเสริมสุขอนามัยของบุคลากรทางการแพทย์ อีกทั้งยังทำให้ชุดแพทย์ดูแลรักษาง่าย ประหยัดเวลา รวมถึงเป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สิ่งทอซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย
  • เตียงตรวจไฮดรอลิกสำหรับสัตว์เลี้ยง
    ผลงานของ อาจารย์ชาญเวช ศีลพิพัฒน์
    เตียงตรวจไฮดรอลิกสำหรับสัตว์เลี้ยง เป็นเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรทางการสัตวแพทย์และเจ้าของสัตว์เลี้ยงช่วยในการเคลื่อนย้ายสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ป่วยที่มีน้ำหนักมากขึ้นโต๊ะตรวจโรค หรือโต๊ะผ่าตัดได้สะดวกสบาย โดยสามารถยกน้ำหนักสัตว์เลี้ยงได้สูงสุดถึง 100 กก. สามารถปรับระดับของตัวรถยกให้มีระดับที่เหมาะสมและสะดวกในการยกตัวสัตว์ สามารถปรับระดับความสูงจากพื้นได้ ตั้งแต่ 45 – 100 ซม. โดยการใช้ไฟฟ้ากระแสตรงจากแบตเตอรี่ ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน ลดแรงงานคนในการเคลื่อนย้าย ซึงปกติต้องใช้คนเป็นจำนวนมาก ลดการได้รับบาดเจ็บของสัตว์ในขณะเคลื่อนย้าย ช่วยให้การรักษาสัตว์ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • Smart Cage สำหรับสัตว์เลี้ยง
    ผลงานของ ผศ.ดร.ดุสิต ธนเพทาย, ผศ.ดร.คงศักดิ์ เที่ยงธรรม และนายเพิ่มทรัพย์ สุขแสงจันทร์
    Smart Cage เป็นกรงอัจฉริยะ สามารถดูแลสัตว์เลี้ยงระหว่างที่เจ้าของไม่อยู่หรือมีธุระและต้องปล่อยสัตว์เลี้ยงไว้เพียงลำพังโดยกรงอัจฉริยะสามารถช่วยดูแลปัจจัยพื้นฐานสำหรับสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว นก กระต่าย เป็นต้น แทนเจ้าของได้ ด้วยการให้อาหาร ให้น้ำตามเวลา พร้อมทำความสะอาดสิ่งปฏิกูล โดยเจ้าของสัตว์เลี้ยงสามารถมอนิเตอร์สัตว์เลี้ยงจากนอกบ้านผ่านแอพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโรงพยาบาลสัตว์สำหรับช่วยดูแลสัตว์ป่วยหรือสถานที่รับฝากเลี้ยงที่ต้องค้างคืนได้อีกด้วย
  • เครื่องกายภาพบำบัดแบบสายพานเดินในน้ำสำหรับสุนัข
    ผลงานของ รศ.ดร.ชวลิต กิตติชัยการ และนายพิทยา ผาริวงศ์
    เครื่องกายภาพบำบัดแบบสายพานเดินในน้ำ
    เป็นเครื่องกายภาพบำบัดที่อาศัยหลักการนำประโยชน์ของแรงลอยตัวของน้ำที่ช่วยพยุงและลดแรงที่กดลงบนข้อเข่า โดยใช้น้ำเป็นสื่อหรือตัวกลางในการบำบัด นอกจากจะลดแรงกระแทก และช่วยบรรเทาความเจ็บปวดในขณะฝึกและออกกำลังในน้ำแล้ว ยังช่วยฟื้นฟูสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจของสุนัขที่เป็นโรคต่างๆ ได้อีกด้วย เหมาะสำหรับสุนัขที่ได้รับการผ่าตัดข้อเข่าใช้สำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพ และสุนัขที่ต้องการออกกำลังกาย ตัวเครื่องสามารถปรับระดับความเร็วของสายพานและตั้งเวลาในการทำกายภาพบำบัดได้ โดยมีขนาดและน้ำหนักที่เหมาะสม ง่ายต่อการผลิต การประกอบ และการซ่อมบำรุง มีราคาถูกกว่าเครื่องนำเข้าจากต่างประเทศ
  • ปลอกคออัจฉริยะ (Smart Collar)
    ผลงานของ รศ.ดร.นริศ เต็งชัยศรี และอ.ดร.พิสุทธิ์ รพีศักดิ์
    ปลอกคออัจฉริยะ Smart Collar เป็นอุปกรณ์ใช้ในการติดตามสัตว์เลี้ยงทั้งภายในและภายนอกอาคารโดยอาศัยเทคโนโลยี GPS โดยคณะผู้วิจัยได้พัฒนาเพื่อรองรับการนำไปใช้ของบุคคลทั่วไปด้วยการใช้งานผ่าน สมาร์ท คอลาร์ แอพลิเคชั่น (Smart Collar Application) แบบสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์หรือจากคอมพิวเตอร์ผ่านทางเว็บบราวเซอร์โดยระบบสามารถแจ้งเตือนเมื่อสัตว์เลี้ยงออกนอกบริเวณที่กำหนด แสดงระดับการเคลื่อนไหว เจ้าของสามารถสื่อสารกับสัตว์เลี้ยงระยะทางไกลได้และจัดการพลังงานเพื่อยืดระยะเวลาการใช้งานของปลอกคอ ปัจจุบันปลอกคออัจฉริยะได้นำไปใช้งานในการติดตามสัตว์เลี้ยงที่เข้ามารักษาที่โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เตียงผ่าตัดช้าง
    ผลงานของอาจารย์ ดร.อัญชนา วงษ์โต
    เตียงผ่าตัดช้าง ได้รับการออกแบบและพัฒนาปรับปรุงเพื่อช่วยในการรักษาและผ่าตัดช้าง ซึ่งเป็นสัตว์ใหญ่และมีน้ำหนักมาก โดยเตียงได้รับการออกแบบให้สามารถรับน้ำหนักของช้างได้สูงสุด 5 ตัน และทำงานโดยระบบไฮดรอลิกในการปรับระดับเตียงแทนที่ระบบการขับเคลื่อนด้วยเฟืองและมอเตอร์ในเตียงผ่าตัดข้างในรุ่นก่อนหน้านี้ เตียงผ่าตัดช้าง มีขนาด 3×4 ม. น้ำหนัก 4.5 ตัน ทำงานด้วยระบไฮดรอลิก บริเวณเตียงกระบอกไฮ
  • ดรอลิกติดตั้งอยู่ 2 ชุด เพื่อช่วยในการยกและพยุงข้างในกรณีที่ไม่มีเครน และบริเวณแผ่นพื้นรองรับตัวช้างจะมีเสาเหล็กค้ำยันรับน้ำหนักตัวข้างสามารถเลื่อนปรับระดับและเปลี่ยนตำแหน่งได้ เพื่อให้สามารถใช้ได้กับช้างที่มีขนาดแตกต่างกัน
  • การสังเคราะห์ พัฒนาวัสดุและกระบวนการผลิตเซรามิกขั้นสูง
    ผลงานของผศ.ดร.อรทัย จงประทีป, นายเจตนุพงศ์ พาโลมัส และภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์
    การสังเคราะห์ พัฒนาวัสดุและกระบวนการผลิตเซรามิกขั้นสูง เป็นงานวิจัยในห้องปฏิบัติการที่มุ่งศึกษากระบวนการสังเคราะห์ผลเซรามิก โดยเน้นการที่ใช้พลังงานในการสังเคราะห์ที่ต่ำ ใช้เวลาในการสังเคราะห์น้อย ซึ่งช่วยลดต้นทุนในการสังเคราะห์ นอกจากการพัฒนาสังเคราะห์วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยการนำวัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติและโรงงานอุตสาหกรรมนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์และใช้กระบวนการสังเคราะห์ที่ลดพลังงานในการสังเคราะห์ผงเซรามิก งานพัฒนาการลอยตัวของแม่เหล็กเหนือวัสดุตัวนำไฟฟ้ายิ่งยวด เสื้อที่ผ่านการชุบด้วยวัสดุนาโนและวัสดุเรืองแสงโดยการกระตุ้นด้วยแสงยูวี การสังเคราะห์ผงเซรามิกสำหรับเก็บประจุ ประสิทธิภาพการสังเคราะห์ผลเซรามิกสำหรับวัสดุคล้ายซีเมนต์การสังเคราะห์และการขึ้นรูปผงเซรามิกสำหรับผลิตวัสดุชีวภาพการสังเคราะห์อนุภาคนาโนไททาเนียมไดออกไซด์และการสังเคราะห์ผงเซรามิกเรืองแสง
  • วัสดุขั้นสูงเพื่อการประยุกต์ใช้
    ผลงานของ รศ.ดร.อภิรัตน์ เลาห์บุตรี, ดร.วรวัชร วัฒนฐานะ, นางสาวนลพรรณ นุชสุวรรณ, นายวรวุฒิ นันทรักษ์ และสมาชิกกลุ่มวิจัย AFM
    เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ตอบโจทย์ในการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ล้วนใช้วัสดุขั้นสูงเป็นองค์ประกอบ วัสดุทั่วไปจะมีความโดดเด่นทางด้านฟังก์ชั่นการใช้งานเพียงด้านเดียว จากผลดังกล่าวทำให้ทีมวิจัยเล็งเห็นถึงการพัฒนาวัสดุให้เกิดฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลายในวัสดุเพียงชนิดเดียว โดยจะเน้นไปที่การพัฒนาวัสดุพอลิเมอร์ชีวภาพให้มีสมบัติการต้านเชื้อ แม่เหล็ก ไดอิเล็กทริก และเปล่งแสง ซึ่งสามารถนำวัสดุที่เตรียมได้นี้ไปประยุกต์ใช้เป็นวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ปลอดจุลชีพ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในอุตสาหกรรม เช่น ตัวเก็บประจุ วัสดุเก็บข้อมูล รวมถึงการตรวจสอบลักษณะเฉพาะที่ปลอมแปลงได้ยากจากการเปล่งแสง เช่น ธนบัตร เป็นต้น
    วัสดุพอลิเมอร์เชิงประกอบที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้น นอกจากใช้พอลิเมอร์ชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้ด้วยกระบวนการทางธรรมชาติแล้วยังสามารถขึ้นรูปได้อย่างหลาหลายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้งาน

รถเข็นสัตว์เพื่อใช้ในโรงพยาบาลสัตว์
ผลงานของ อ.นสพ. เกียรติศักดิ์ ต้นเจริญ และรศ.ดร. ชวลิต กิตติชัยการ
การพัฒนารถเข็นสัตว์เพื่อใช้ในโรงพยาบาลสัตว์ ออกแบบและพัฒนาสร้างรถเข็นสัตว์ป่วยใน 2 รูปแบบ คือ แบบที่ใช้กับสัตว์ป่วยที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักไม่เกิน 50 กิโลกรัม และแบบที่ใช้กับสัตว์ป่วยที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัม โดยออกแบบให้สะดวกต่อการใช้งานทั้งเจ้าของสัตว์เลี้ยงและเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลสัตว์ สามารถปรับระดับขึ้น-ลงได้ โดยระดับต่ำสุดจะอยู่ระดับเดียวกับเบาะนั่งของรถยนต์ส่วนตัวและมีที่กั้นเพื่อป้องกันสัตว์ป่วยตกลงมาจากรถเข็น เพิ่มความปลอดภัยแก่สัตว์ป่วย ประหยัด พื้นที่ในการจัดเก็บ โดยสามารถถอดเก็บหรือพับให้มีขนาดเล็กลง
นอกจากนี้ รถเข็นยังมีระบบช่วยผ่อนแรงในการปรับระดับ ทำให้สะดวกในการเคลื่อนย้ายสัตว์ป่วย และมีระบบห้ามล้อ ทำให้รถเข็นไม่เคลื่อนที่เมื่อต้องการหยุดรถ
รถเข็นสัตว์ป่วยขนาดเล็กใช้สำหรับเคลื่อนย้ายสัตว์ป่วยที่มีขนาดเล็กน้ำหนักไม่เกิน 50 กิโลกรัม ตัวรถเข็นทำจากสแตนเลสเกรด 304 ออกแบบให้ปรับระดับความสูงได้ด้วยระบบเฟือง เพื่อตอบสนองต่อการใช้งานในการนำสุนัขลงจากรถขึ้นมารถเข็น โดยความสูงต่ำสุดและสูงสุดจะอยู่ในช่วง 74 ถึง 95 เซนติเมตร นอกจากนี้มีอุปกรณ์เพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย โดยเพิ่มที่กั้นเพื่อป้องกันสุนัขตกสองข้างที่ด้านซ้านและด้านขวาของรถเข็นเพิ่มสายรัดตัวสุนัขขนาด 2 นิ้ว เพื่อความปลอดภัยเวลาสุนัขขยับตัวไปมาบนรถเข็นเพิ่มที่ล็อคล้อเพื่อให้รถเข็นไม่เคลื่อนที่ในเวลาตรวจใช้ล้อ 5 ล้อ เพื่อให้รถเข็นมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้นโดยไม่พลิกคว่ำได้ง่าย

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่