ENG KU NEWS

วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ หารือความร่วมมือด้านวิชาการ วิจัย ร่วมกับ NCAC มองโกเลียคณบดีและผู้บริหารคณะ รับมอบทุนสนับสนุนจัดซื้อครุภัณฑ์สำหรับอาคารหัวลำโพง จากนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ รุ่น E37คณะจัดเสวนาวิชาการ i-Forum เรื่อง SMR นิวเคลียร์ขนาดเล็ก ดีจริงหรือ?คณะฯ จัด PQI 2025 : Workshop & Coaching & Training ในโครงการพัฒนาคุณภาพและผลิตภาพภายในองค์กร (Productivity Quality Improvement: PQI)คณะวิศวฯ จัดโครงการ พัฒนาศักยภาพการวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ประจำปี 2568ขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาควิชาวิศวกรรมเคมี พร้อมนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ ได้รับรางวัล STAR OF CAMP ในงาน Start Up Thailand Leage 2025คณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน ครบรอบ 22ปีคณะวิศวฯ นำถังหมักเศษอาหารแบบเติมอากาศ ร่วมแสดงและสาธิตการใช้งาน ในโครงการไม่เทรวมคณะวิศวฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ i-Connect เชื่อมโยงโลกด้วย AI และทักษะภาษาอังกฤษนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้รับรางวัลในโครงการสหกิจศึกษา ประจำปีการศึกษา 2568

วิศวฯ การบินและอวกาศ นำอากาศยานไร้คนขับ ร่วมหาแนวทางอนุรักษ์สัตว์ป่า

วิศวฯ การบินและอวกาศ นำอากาศยานไร้คนขับ ร่วมหาแนวทางอนุรักษ์สัตว์ป่า

อาจารย์ ดร.ไชยวัฒน์ กล่ำพล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ พร้อมด้วยทีมนักวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (iSAAC Laboratory) นำอากาศยานไร้คนขับ ร่วมลงพื้นที่สำรวจบริเวณ อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี เพื่อร่วมหาแนวทางในการใช้เทคโนโลยีทางวิศวกรรมเพื่อสนับสนุนภารกิจงานด้านอนุรักษ์ในพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก โดยมีนายสัตวแพทย์ ภัทรพล มณีอ่อน ประธานอนุกรรมการ ฝ่ายอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่า มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก ได้ร่วมกันลงพื้นที่และหารือ พร้อมกับทีมงาน ประกอบด้วย นายอยู่ เสนาธรรม ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 นายรนัตถ์ชัย พุ่งเจริญ นายอำเภอแก่งหางแมว และนายพิทักษ์ ยิ่งยง เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅในและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง หลังจากนั้นก็ได้ร่วมกันทดลองใช้อากาศยานไร้คนขับ iSAAC Mapper ขึ้นบินจากสนามหน้าที่ว่าการอำเถอแก่งหางแมว ไปยังพื้นที่เขาป้อม รวมระยะทางไป-กลับ 21 กิโลเมตร

นอกจากนี้ยังได้ร่วมกันลงพื้นที่รอยต่อระหว่างป่าและพื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้านที่มักจะพบข้างป่า ใช้เป็นทางผ่านเพื่อออกมาหากินในพื้นที่ โดยทีมงานจะรวบรวมปัญหาและความเป็นไปได้ต่างๆ ในพื้นที่จริงเหล่านี้มาสร้างสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมด้วยหลักการทางวิศวกรรม เพื่อใช้แก้ปัญหาต่อไป

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่