ENG KU NEWS

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
นิสิตวิศวฯ เครื่องกล-วิศวฯ วัสดุ คว้ารางวัลชนะเลิศ แผนรณรงค์ สร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในสถานศึกษา Toyota Campus Challenge 2023วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานคณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 88 ปีอาจารย์คณะวิศวฯ-คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานในการประชุม Sino-Thai Symposium on Energy and New Materialsผู้บริหาร-อาจารย์คณะ หารือความร่วมมือด้านวิจัย-วิชาการ กับ Tamkang University, Taiwanผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ National Tsing Hua University (NTHU) ไต้หวันผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ Tunghai University ไต้หวันร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ MCUT ไต้หวัน  ผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ ร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการกับผู้บริหาร Yuan Ze University, Taiwanอาจารย์คณะได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น (ศ.11)

ทีมนิสิตวิศวฯ คอมพิวเตอร์ ได้รับรางวัล First Prize Award จากการแข่งขันนานาชาติ ASC15 Asian Student Supercomputer Challenge

ทีมนิสิตวิศวฯ คอมพิวเตอร์ ได้รับรางวัล First Prize Award จากการแข่งขันนานาชาติ ASC15 Asian Student Supercomputer Challenge

สมาชิกทีม Lightning Green ประกอบด้วย นิสิตชั้นปีที่ 4 จำนวน 4 คน คือนายสุภชีพ อ่ำเทศ (หัวหน้าทีม) นายณัช เรือนเพ็ชร์ นายศตพัสส์ นวพานิชย์ และนายอัครเดช สินเสมอสุข และนิสิตชั้นปีที่ 2 จำนวน 1 คน คือนายนมัสวิน หาญมงคลชัย โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.จันทนา จันทราพรชัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภุชงค์ อุทโยภาศ และนายพิสิษฐ์ มรรคไพสิฐ นักวิจัย ร่วมเป็นที่ปรึกษาทีม

รองศาสตราจารย์ ดร.จันทนา เล่าว่า “การแข่งขัน ASC15 Asian Student Supercomputer Challenge เป็นการแข่งขันระดับโลก ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี โดยปีนี้เป็นปีที่ 4 การแข่งขันนี้ เป็นการแข่งขันในการสร้างระบบซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กให้ทำงานเร็วที่สุดโดยที่กินกำลังไฟไม่เกิน 3,000 วัตต์ วิธีการคัดเลือกผู้เข้ารอบ 16 ทีมสุดท้าย คือการให้แต่ละทีมออกแบบระบบและทำการทดสอบมาจากนั้นยื่นข้อเสนอทางเทคนิคให้กรรมการทางเทคนิคคัดเลือก โดยในทุกปี ผู้เข้ารอบสุดท้ายมักจะเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก

แต่ในปีนี้ทีมจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลกกว่า 150 แห่ง ยื่นข้อเสนอทางเทคนิคเข้าไป ซึ่งทางคณะกรรมการได้คัดเลือกให้ข้อเสนอของทีม Lightning Green จากห้องปฏิบัติการวิจัยระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ผ่านเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้าย ซึ่งเป็นครั้งแรกของการแข่งขันที่มีทีมไทยผ่านเข้ารอบไปแข่งขันร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่ง เช่น ทีมจาก Tsinghua University และ Shanghai Jiaotong University สาธารณรัฐประชาชนจีน Nanyang Technological University สาธารณรัฐสิงคโปร์ Boston Green MIT Boston University Northeast University ประเทศสหรัฐอเมริกา”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภุชงค์ เล่าเสริมว่า “การแข่งขันคราวนี้ เริ่มจากวันที่ 18-22 พฤษภาคม 2558 รวม 5 วัน โดยทีมนิสิตจะต้องสร้างระบบซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กให้ทำงานได้ภายในสองวันแรก จากนั้นต้องรันโปรแกรมทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมจำนวน 6 โปรแกรม ได้แก่ HPL, NAMD WRF-CHEM PALABOS Gridding และ Secret Application ให้ทำงานเร็วที่สุด โดยกินกำลังไฟไม่เกิน 3000 วัตต์ โดยคณะกรรมการการแข่งขันได้กำหนดงานที่ต้องทำมาให้ ซึ่งทำให้การแข่งขันมีความซับซ้อนสูงมาก เพราะต้องแข่งกันปรับเครื่อง ปรับซอฟต์แวร์และแก้ปัญหาทันที

ถ้าตัดสินใจพลาดจะทำให้โปรแกรมนั้นทำงานไม่ทันในเวลาที่กำหนด โดยทางทีมนิสิตทำงานได้อย่างดียิ่ง และสามารถทำให้โปรแกรมทุกตัวทำงานได้อย่างดี

สำหรับรางวัลในการแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายจะได้รับรางวัล First Prize Award จากทีมทั่วโลกที่สมัครร่วมการแข่งขันกว่า 150 ทีม โดยภายในการแข่งขันจะมีการให้รางวัลเฉพาะผู้ที่เร็วสุดในแต่ละโปรแกรมเรียกว่า Application Innovation Award ผู้ที่ทำให้ Gridding ทำงานเร็วที่สุด เรียกว่า e-innovation award ซึ่งทีม Sun Yat-Sen University สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้รับรางวัลนี้ไป สำหรับรางวัล HPL เร็วที่สุด ได้แก่ ทีม NTU จากประเทศสิงคโปร์ รางวัลคะแนนรวมสูงสุดตกเป็นของ Tsinghua University จากสาธารณรัฐประชาชนจีน สำหรับทีมจากคณะ

วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำคะแนนได้ในระดับบกลาง ซึ่งนับว่าเป็นคะแนนที่ดีมากสำหรับการเข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรก”

สุภชีพ หัวหน้าทีม เล่าทิ้งท้ายว่า “การแข่งขันคราวนี้เปิดโอกาสให้นิสิตและอาจารย์มีโอกาสเห็นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้านซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ นิสิตได้มีโอกาสสัมผัสติดตั้งระบบซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ของจริง รวมทั้งได้ประสบการณ์ทักษะในการติดตั้งปรับแต่งโปรแกรมที่รันบนซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ เพื่อให้มีประสิทธิภาพรวมทั้งได้แลกเปลี่ยนความรู้กับทีมอื่น ๆ เช่น ทีมจากมหาวิทยาลัยชื่อดังจากสิงคโปร์ (NTU) จากฮ่องกง จากอเมริกา (MIT) และจากฮังการี เป็นต้น

นอกจากนั้นยังได้เห็นแนวทางการเตรียมการสำหรับการแข่งขันในปีหน้าอย่างชัดเจน ประสบการณ์การแข่งขันครั้งนี้ ช่วยเพิ่มศักยภาพการเรียนการสอนและการวิจัยเชิงลึกในสาขาอีกมาก การแข่งขันลักษณะนี้มีจัดทุกปี โดยจัดเพียง 3 แห่งทั่วโลก ได้แก่ ในงาน ISC International Supercomputing Conference หรือ ISC ประเทศเยอรมนี งาน Supercomputing Conference ประเทศสหรัฐอเมริกา และในงาน ASC Student Supercomputer Challenge ที่ไปเข้าแข่งในครั้งนี้ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน การแข่งขันครั้งนี้จึงเป็นการเตรียมการเพื่อความพร้อมสำหรับการแข่งขันในเวทีอื่น เช่น สหรัฐอเมริกาและเยอรมนีในปีหน้าต่อไป”

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่