ENG KU NEWS

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
คณะวิศวฯ จัดงาน Job Fair ครั้งที่ 21 “วันสร้างงาน ดงตาล สานฝัน”คณะวิศวฯ ต้อนรับคณะครู-นักเรียนโรงเรียนบางบ่อวิทยาคม รับฟังหลักสูตร – เยี่ยมชมภาควิชาอาจารย์-นิสิต ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ได้รับรางวัล Best Paper Award ในงาน ICA-SYMP 2025คณะวิศวฯ พบสื่อมวลชน แนะนำนวัตกรรมแสดงในงานเกษตรแฟร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ รับมอบอุปกรณ์ IIOT จาก Advantech สนับสนุนการศึกษาและงานวิจัย  นิสิตเก่าวิศวฯ มก. รุ่น KU41 E37 บริจาคเงินร่วมสร้างโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คณะวิศวฯ จัดอบรม การประเมินคาร์บอนฟุตพรินท์องค์กร (CFO) ครั้งที่ 1คณะวิศวฯ เข้าพบผู้บริหารกองกำจัดมูลฝอย สำนักสิ่งแวดล้อม กทม. หารือความร่วมมือการกำจัดและบำบัดขยะมูลฝอยคณะวิศวฯ ต้อนรับผู้แทนจาก WMG สหราชอาณาจักร เข้าหารือความร่วมมือทางวิชาการผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ ต้อนรับผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน เข้าพบสวัสดีปีใหม่ 2568

อาจารย์-นิสิตวิศวฯ โยธา ร่วมงานมูลนิธิชัยพัฒนา ป้องกัน-แก้ไข ปัญหาดินถล่มบนที่สูงชันตามแนวพระราชดำริ

ปัญหาดินถล่มในประเทศไทย นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะภูมิอากาศของโลก และการใช้ประโยชน์ที่ดินบนที่สูงชันมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดีปัญหานี้อยู่ในพระเนตรพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสมอมา จนกระทั่งเดือนสิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงรับสั่งกับ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ให้ ดำเนินการวิจัยและพัฒนาหาแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาดินถล่มบนที่สูงชันอย่างยั่งยืน โดยการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือ ไม่ว่าจะเป็นการปรับที่ดินทำกิน การปลูกพืชให้มีรากแก้วสลับกับรากลึก หรือปลูกแฝกสลับกับพืชอื่นร่วมกับการใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมเสริมแรงเพื่อป้องกันดินถล่ม การจัดการร่องน้ำ และการหาแนวทางให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ในการลดความเสี่ยง เป็นต้น

สำหรับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ได้มีส่วนร่วมงานกับมูลนิธิชัยพัฒนา โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วรากร ไม้เรียง ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพีและฐานราก ซึ่งเคยเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภินิติ โชติสังกาศ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา ได้รับการแต่งตั้งจากมูลนิธิฯ เข้าร่วมเป็นกรรมการบริหารโครงการเพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนาหาแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาดินถล่มบนที่สูงชันได้อย่างยั่งยืน ซึ่งนอกจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มก. แล้ว มูลนิธิชัยพัฒนาได้ประสานงานกับหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน  สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ  กรมทรัพยากรธรณี   กรมป้องกันและบรรเทาสารธารณภัย  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกองทัพเรือ เป็นต้น เพื่อร่วมกันศึกษาอย่างบูรณาการหลากหลายสาขาวิชาเข้าด้วยกัน โดยแบ่งกลุ่มทำงานวิจัยออกเป็น 6 กลุ่ม ประกอบด้วย

  1. กลุ่มสารสนเทศและคำนวณวิเคราะห์
  2. กลุ่มวิศวกรรมและธรณีวิทยา
  3. กลุ่มอนุรักษ์ดิน ป่าไม้ และพืช
  4. กลุ่มสังคมวิทยาและถ่ายทอดความรู้
  5. กลุ่มบริหารจัดการความปลอดภัย และ
  6. กลุ่มบริหารโครงการและประสานงาน

รองศาสตราจารย์ ดร.วรากร ไม้เรียง ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานวิจัยและหัวหน้ากลุ่มวิจัยที่ 2  รวมถึงเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย เรื่อง “การศึกษาแบบจำลองทางวิศวกรรมปฐพีเพื่อการทำนายการเกิดดินถล่มในพื้นที่ลาดชัน” และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภินิติ โชติสังกาศ ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย เรื่อง “การประยุกต์ใช้วิธีวิศวกรรมชีวภาพเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาดินถล่มระดับตื้น” และเป็นผู้ประสานงานหลักในโครงการวิจัย เรื่อง “การประยุกต์ระบบเฝ้าระวังภัยดินถล่ม โดยปัจจัยสภาพอากาศ แรงดันน้ำใต้ดิน และการเคลื่อนตัวของดิน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน” ซึ่งเป็นงานวิจัยร่วมกันระหว่างกองทัพเรือ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.)

   รองศาสตราจารย์ ดร.วรากร ไม้เรียง กล่าวว่า “ลักษณะงานวิจัยในโครงการนี้มีความหลากหลาย ทั้งการเก็บรวมรวมข้อมูลดินถล่มภาคสนาม สภาพธรณีวิทยา ปฐพีกลศาสตร์  พืชพรรณ เป็นต้น และการจัดทำฐานข้อมูล การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (KU-Slope)  การเตือนภัย การออกแบบโครงสร้างร่วมกับการใช้พืชในการเสริมเสถียรภาพของลาด ซึ่งเป็นการร่วมงานด้านกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และกรมทางหลวง  ตลอดจนการใช้อุปกรณ์วัด KU-Tensiometer ร่วมกับเทคโนโลยีเตือนภัยโคลนถล่มของกองทัพเรือ และสถานีตรวจวัดอากาศโดย สสนก. ฯลฯ โดยงานวิจัยนี้มีลักษณะเชิงพื้นที่ (Area-based research) และเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมีพื้นที่ต้นแบบในการศึกษาวิจัย 2 แห่ง ได้แก่ บ้านหน้าถ้ำ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฏร์ธานี และ อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ และจะรวมถึงพื้นที่โครงการอื่นๆของมูลนิธิฯซึ่งพบปัญหาดินถล่มบนที่สูงชันด้วยต่อไปในอนาคต”

  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภินิติ โชติสังกาศ กล่าวเสริมว่า “งานวิจัยดังกล่าวนับเป็นความต่อเนื่องจากโครงการต่างๆ ด้านดินถล่มซึ่งทางศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก และภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวฯ มก.  ได้ดำเนินมากว่า 10 ปี และได้ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาเอกและโทไปแล้วกว่า 10 ท่าน ในปัจจุบันมีนิสิตทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาตรี เข้าร่วมในงานวิจัยดังกล่าวกว่า 10 คน นับเป็นความภาคภูมิใจของบุคลากรภาควิศวกรรมโยธาที่ได้รับสนองพระราชดำริ ปฏิบัติหน้าที่ให้กับมูลนิธิชัยพัฒนาในโอกาสนี้”

 

 

 

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่