ENG KU NEWS

วันอังคารที่ 07 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
นิสิตวิศวฯ เครื่องกล-วิศวฯ วัสดุ คว้ารางวัลชนะเลิศ แผนรณรงค์ สร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในสถานศึกษา Toyota Campus Challenge 2023วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานคณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 88 ปีอาจารย์คณะวิศวฯ-คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานในการประชุม Sino-Thai Symposium on Energy and New Materialsผู้บริหาร-อาจารย์คณะ หารือความร่วมมือด้านวิจัย-วิชาการ กับ Tamkang University, Taiwanผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ National Tsing Hua University (NTHU) ไต้หวันผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ Tunghai University ไต้หวันร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ MCUT ไต้หวัน  ผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ ร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการกับผู้บริหาร Yuan Ze University, Taiwanอาจารย์คณะได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น (ศ.11)

เปิดศูนย์ Climate Change Data Center

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดพิธีเปิดศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Data Center) ขึ้น เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2557 โดยมีรองศาสตราจารย์วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานและรับมอบเซิร์ฟเวอร์สมรรถนะสูงจาก Mr.Shuichi Ikeda หัวหน้าคณะผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ประจำประเทศไทย เพื่อใช้ในการเรียนการสอนและการวิจัยของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มก. นอกจากนั้นยังมีรองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญะ เกียรติวัฒน์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ Prof.Dr.Taikan Oki, Tokyo University Chief Advisor of IMPAC-T  และอาจารย์นนทวัฒน์ จันทร์เจริญ ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ตลอดจนนักวิจัยในโครงการ IMPAC-T ร่วมในพิธีที่จัดขึ้น ณ อาคารบุญสม สุวชิรัตน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์

ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จัดตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ มก. กับโครงการวิจัย IMPAC-T (Integrated Study Project on Hydro-Meteorological Prediction and Adaption to Climate Change in Thailand) ภายใต้การสนับสนุนจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency Thailand Office: JICA)

ภายในศูนย์ข้อมูลฯ มีเซิร์ฟเวอร์สมรรถนะสูง (HPS)  ขนาดใหญ่และขนาดกลาง ประมาณ 20 เครื่อง ในการเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย รวมทั้งระบบการทำนายปริมาณน้ำฝน ระบบการเตือนภัยน้ำท่วมและดินถล่ม และระบบสารสนทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีโครงการ IMPAC-T พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผลแบบจำลองทางอุทกวิทยาและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับน้ำมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 และสิ้นสุดโครงการในเดือนมีนาคม 2557 โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก JICA เป็นเงินจำนวนประมาณ 25 ล้านบาท

                        สรุป Outputs/Outcomes ที่สำคัญของโครงการวิจัย IMPAC-T

โครงการวิจัย IMPAC-T  มีโครงสร้างที่แตกต่างไปจากโครงการวิจัยอื่นโดยทั่วไป คือ นำนักวิจัยหรืออาจารย์ในมหาวิทยาลัยมาทำวิจัยร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานภาคปฎิบัติ    ทำให้หัวเรื่องการวิจัยมาจากงานหรือปัญหาจริงของหน่วยงานปฎิบัติและผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยเกือบทั้งหมดสามารถนำไปสนับสนุนการทำงานจริงของผู้ปฎิบัติได้ทันทีอย่างเป็นรูปธรรม    ซึ่ง Outputs และ Outcomes  ที่สำคัญของโครงการวิจัย IMPAC-T  สรุปได้ดังนี้

1)  การติดตั้งสถานีตรวจวัดการแลกเปลี่ยนน้ำ พลังงาน และคาร์บอน ระหว่างระบบนิเวศและบรรยากาศในพื้นที่การเกษตร     

โครงการ IMPAC-T ได้ติดตั้งสถานีตรวจวัดการแลกเปลี่ยนน้ำ พลังงาน และ คาร์บอน หรือเรียกว่า ฟลักส์ (Flux) ระหว่างระบบนิเวศและบรรยากาศ   จำนวน 4 แห่ง   ในนาข้าว  ไร่อ้อย  ไร่มันสำปะหลัง และ ป่าไม้เขตร้อน ที่จังหวัดราชบุรี นครสวรรค์  ตาก  และ พะเยา ตามลำดับ    เพื่อให้สามารถทราบปริมาณการแลกเปลี่ยนมวลสารเหล่านี้ระหว่างพื้นผิวโลกของประเทศไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่การเกษตรกับชั้นบรรยากาศ   โดยสถานีวัดแต่ละแห่ง (Flux tower)  ติดตั้งอุปกรณ์วัดนับ 10 ชนิด  ที่สำคัญคือ อุปกรณ์วัดการปล่อย CO2  ซึ่งเป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดแก๊สเรือนกระจก และนำไปสู่สภาวะโลกร้อน  หรือ Climate Change  โดย  มักกล่าวกันว่านาข้าวเป็นแหล่งที่มีอัตราการปล่อย CO2 ออกมาสู่บรรยากาศมากที่สุด

ข้อมูลจากทั้ง 4 สถานีถูกส่งผ่านทางระบบโทรมาตรมายัง   Climate Change Data Center แบบออนไลน์ นอกจากนั้นยังได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครือข่ายหน่วยงานวิจัยด้านฟลักซ์ทั่วโลก (Flux Pro)  ซึ่งสามารถดูรายละเอียดของข้อมูลได้จากทางเว็บไซด์  http://impact.eng.ku.ac.th  ข้อมูลและความรู้ที่ได้ เป็นประโยชน์ต่อการจัดการทรัพยากรน้ำ  การเพาะปลูก/ประเมินความต้องการน้ำ การตอบสนองของระบบนิเวศต่อการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาเครื่องมือ/แบบจำลองเพื่อการจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดิน และ การศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

2)  การประมาณฝนตกโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมและเรดาร์ (Rainfall Estimation by Sattelite and Radar)

โครงการ IMPAC-T ได้ศึกษาวิจัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการพยากรณ์ฝนตก โดยใช้ดาวเทียมและเรดาร์ตรวจจับสภาพและอุณหภูมิของเมฆฝนพร้อมทั้งมีการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์หรือโมเดลเพื่อคาดการณ์พื้นที่ฝนตกและปริมาณน้ำฝน ทั้งนี้อาศัยภาพถ่ายดาวเทียมจากสถานีรับสัญญาณดาวเทียมจุฬาภรณ์และเรดาร์ของกรมอุตุนิยมวิทยา  ผลที่ได้จึงสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่พยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาได้เป็นอย่างดี    อันจะทำให้การพยากรณ์มีการตรวจสอบความถูกต้องตรงกันหลายแนวทางและมีความแม่นยำขึ้น

นอกจากนั้นยังนำผลที่ได้ไปใช้งานจริงกับภารกิจของสำนักงานฝนหลวงและการบินเพื่อการเกษตร เพื่อวิเคราะห์และตรวจสอบพื้นที่ทำการบินในการทำฝนหลวงอีกด้วย  รายละเอียดดูได้จาก http://dvbs.ee.ku.ac.th

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่