ENG KU NEWS

วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ หารือความร่วมมือด้านวิชาการ วิจัย ร่วมกับ NCAC มองโกเลียคณบดีและผู้บริหารคณะ รับมอบทุนสนับสนุนจัดซื้อครุภัณฑ์สำหรับอาคารหัวลำโพง จากนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ รุ่น E37คณะจัดเสวนาวิชาการ i-Forum เรื่อง SMR นิวเคลียร์ขนาดเล็ก ดีจริงหรือ?คณะฯ จัด PQI 2025 : Workshop & Coaching & Training ในโครงการพัฒนาคุณภาพและผลิตภาพภายในองค์กร (Productivity Quality Improvement: PQI)คณะวิศวฯ จัดโครงการ พัฒนาศักยภาพการวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ประจำปี 2568ขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาควิชาวิศวกรรมเคมี พร้อมนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ ได้รับรางวัล STAR OF CAMP ในงาน Start Up Thailand Leage 2025คณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน ครบรอบ 22ปีคณะวิศวฯ นำถังหมักเศษอาหารแบบเติมอากาศ ร่วมแสดงและสาธิตการใช้งาน ในโครงการไม่เทรวมคณะวิศวฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ i-Connect เชื่อมโยงโลกด้วย AI และทักษะภาษาอังกฤษนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้รับรางวัลในโครงการสหกิจศึกษา ประจำปีการศึกษา 2568

อาจารย์-นิสิตภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดนวัตกรรม Ford Innovator Scholarship 2024

          คณะวิศวกรรมศาสตร์ขอแสดงความยินดีและชื่นชมกับอาจารย์และนิสิตภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ ทีม Upcycling ENG KU นำผลงานนวัตกรรมวัสดุเพื่อความยั่งยืนในอุตสาหกรรมแฟชั่น หนังเทียม (Vegan leather) หนังเทียมจากเปลือกโกโก้และเปลือกมังคุดผสมผสานใยเปลือกทุเรียน ต้านเชื้อแบคทีเรีย คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับประเทศ จากการประกวดนวัตกรรม Ford Innovator Scholarship 2024 ภายใต้หัวข้อ “นวัตกรรมเชื่อมชุมชนเพื่อโลกที่ดีกว่า : Connect Innovation with Communities for a Better World Challenge” จัดโดยฟอร์ด ประเทศไทย ร่วมกับสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA) สถาบันนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และบริษัท ทีวีบูรพา จำกัด เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 ณ Knowledge Xchange Building

หนังเทียมจากเปลือกโกโก้และเปลือกมังคุดผสมผสานใยเปลือกทุเรียน เป็นกระบวนการผลิตเครื่องหนังในรูปแบบใหม่ โดยการผลิตกระเป๋าหนังเทียมจากพืช โดยการเลือกใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรด้วยการนำเปลือกโกโก้และเปลือกมังคุดมาใช้ในการผลิต เนื่องจากวัสดุที่กล่าวข้างต้นสามารถหาได้ง่าย ต้นทุนต่ำ และมีคุณสมบัติยืดหยุ่น ทนทาน และสามารถย่อยสลายได้อย่างสมบูรณ์ เหมาะสำหรับนำมาเป็นวัสดุทดแทนหนังจึงกลายมาเป็นโอกาสที่จะนำทรัพยากรที่มีอยู่มาพัฒนาต่อยอด และสร้างมูลค่าให้กับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรนำมาเป็นสินค้าที่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันที่มีความทันสมัย และมีการใช้งานที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้งยังช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนได้อีกด้วย

สมาชิกทีม Upcycling ENG KU ประกอบด้วยนิสิตระดับปริญญาเอก ได้แก่ Mr. Aung Ko Myat นายณัฐพล ซื่อตรง และนายศิลา แย้มพุชชงค์ และนิสิตระดับปริญญาโท ได้แก่ น.ส.อรุณทิพทย์ ซื้อสุวรรณ โดยมี ผศ.ดร.วรวัชร วัฒนฐานะ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาทีม

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่