ENG KU NEWS

วันพฤหัสที่ 01 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ หารือความร่วมมือด้านวิชาการ วิจัย ร่วมกับ NCAC มองโกเลียคณบดีและผู้บริหารคณะ รับมอบทุนสนับสนุนจัดซื้อครุภัณฑ์สำหรับอาคารหัวลำโพง จากนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ รุ่น E37คณะจัดเสวนาวิชาการ i-Forum เรื่อง SMR นิวเคลียร์ขนาดเล็ก ดีจริงหรือ?คณะฯ จัด PQI 2025 : Workshop & Coaching & Training ในโครงการพัฒนาคุณภาพและผลิตภาพภายในองค์กร (Productivity Quality Improvement: PQI)คณะวิศวฯ จัดโครงการ พัฒนาศักยภาพการวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ประจำปี 2568ขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาควิชาวิศวกรรมเคมี พร้อมนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ ได้รับรางวัล STAR OF CAMP ในงาน Start Up Thailand Leage 2025คณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน ครบรอบ 22ปีคณะวิศวฯ นำถังหมักเศษอาหารแบบเติมอากาศ ร่วมแสดงและสาธิตการใช้งาน ในโครงการไม่เทรวมคณะวิศวฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ i-Connect เชื่อมโยงโลกด้วย AI และทักษะภาษาอังกฤษนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้รับรางวัลในโครงการสหกิจศึกษา ประจำปีการศึกษา 2568

ผลงานอาจารย์คณะวิศวฯ ได้รับรางวัลชมเชย ผลงานวิจัยและหน่วยงานวิจัยดีเด่นด้านยุทโธปกรณ์ประจำปีกองทัพบก ประจำปี 2567

ผลงานอาจารย์คณะวิศวฯ ได้รับรางวัลชมเชย
ผลงานวิจัยและหน่วยงานวิจัยดีเด่นด้านยุทโธปกรณ์ประจำปีกองทัพบก ประจำปี 2567

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภสิทธิ์ รอดขวัญ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางแม่พิมพ์ยาง และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้ารับรางวัลชมเชย ด้านยุทโธปกรณ์ ในการประกวดผลงานวิจัยดีเด่นกองทัพบก ประจำปี 2567 จากโครงการวิจัยและพัฒนาการดำรงสภาพชิ้นส่วนซ่อมของยุทโธปกรณ์ของกองทัพบก: กรณีศึกษาของระบบสายพานรถถัง ขนาดเบา 32 คอมมานโดสติงเรย์ และรถสายพานลำเลียงพล แบบเอ็ม 113 จาก พลเอก อุกฤษฎ์ บุญตานนท์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ในพิธีมอบประกาศเกียรติคุณและโล่เกียรติยศ การประกวดผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปี 2567 ในงานการจัดแสดงนิทรรศการผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ของกองทัพบก ประจำปี 2567 โดย สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567 ณ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก

โครงการวิจัยและพัฒนาการดำรงสภาพชิ้นส่วนซ่อมของยุทโธปกรณ์ของกองทัพบก: กรณีศึกษา
ของระบบสายพานรถถัง ขนาดเบา 32 คอมมานโดสติงเรย์ และรถสายพานลำเลียงพล แบบเอ็ม 113 ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และได้รับความร่วมมือจากศูนย์การทหารม้า ในฐานะหัวหน้าเหล่าสายวิทยาการ โดย พลตรี สมศักดิ์ รักษาแสง ผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า ผ่านกองวิทยาการ ศูนย์การทหารม้า ผลงานดังกล่าวมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภสิทธิ์ รอดขวัญ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางแม่พิมพ์ยาง และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล เป็นหัวหน้าโครงการ และมีคณะนักวิจัยร่วม ประกอบด้วย พันเอก กรกต พรหมประโคน รองผู้อำนวยการ กองวิทยาการ ศูนย์การทหารม้า รองศาสตราจารย์ ดร.วีรชัย ชัยวรพฤกษ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.อนุรักษ์ เอกพยงค์ นายธนพงษ์ จันทร์อารักษ์ นายอัครเดช สุพิชญางกูร นายฐานวัฒน์​ ศศิเมธีพัชร์​ นางสาวดาริน ศรีเพ็ชร์ นักวิจัยศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางแม่พิมพ์ยาง ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ดร.ชุกรี แดสา อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการผลิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

การดำเนินงานในโครงการนี้ประกอบด้วย การศึกษาข้อมูลของระบบสายพานที่ใช้ในยุทโธปกรณ์ฯ การถอดแยกและจัดทำรายการชิ้นส่วนยางรองสายพานที่อยู่ในระบบสายพานฯ การใช้วิศวกรรมย้อนกลับเพื่อให้มาซึ่งข้อมูลของรูปทรงและวัสดุของต้นแบบยางรองสายพาน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบและผลิตยางรองสายพานและแม่พิมพ์ที่ใช้ในการผลิต การผลิตและขึ้นรูปยางรองสายพาน และการเก็บข้อมูลที่ได้จากการทดสอบการ
ใช้งานตามขั้นตอนฯ ณ โรงงานซ่อมสร้างสายยุทโธปกรณ์สรรพาวุธ ศูนย์ซ่อมสร้างยุทโธปกรณ์สายสรรพาวุธ
กรมสรรพาวุธทหารบก จังหวัดนครราชสีมา และศูนย์การทหารม้า จังหวัดสระบุรี รวมถึงการทดสอบการใช้งานของต้นแบบชิ้นส่วนซ่อม เพื่อให้ได้ชิ้นส่วนที่มีคุณภาพ จัดหาได้ภายในประเทศ ลดงบประมาณจากการนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศ รวมทั้งเป็นการสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนาเพื่อพึ่งพาตนเองได้ภายในประเทศ

ผลผลิตที่ได้จากการดำเนินโครงการวิจัยนี้ ได้แก่ ต้นแบบชิ้นส่วนซ่อมยางรองสายพานกรณีศึกษาระบบสายพานของรถถังขนาดเบา 32 คอมมานโด สติงเรย์ (จำนวน 166 ชิ้น/รถถัง 1 คัน) ที่ประจำการ จำนวน 106 คัน และรถสายพานลำเลียงพล เอ็ม 113 (จำนวน 127 ชิ้น/รถถัง 1 คัน) ที่ประจำการ จำนวน 455 คัน แบบ 2 และ 3 มิติ ของชิ้นส่วนซ่อมยางรองสายพาน แม่พิมพ์ที่ใช้ในการขึ้นรูป ข้อมูลของวัสดุที่เน้นการใช้ยางธรรมชาติเป็นส่วนประกอบหลัก การใช้วิศวกรรมย้อนกลับทางด้านวัสดุ โดยกองทัพบกสามารถนำต้นแบบชิ้นส่วนซ่อมยางรองสายพานของระบบสายพานฯ ไปขยายผลใช้งานในสายการผลิตอย่างแท้จริง และเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (S-Curve ที่ 11) ต่อไป

 

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่