ENG KU NEWS

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
คณะวิศวฯ ต้อนรับคณะนักเรียน-นักศึกษา อินโดนีเชีย โครงการ YLEC เข้าชมห้องเรียน ห้องปฏิบัติการของคณะ[นิสิตวิศวกรรมไฟฟ้า เข้าศึกษาดูงาน บ.ซินเนอร์ยี่ เทคโนโลยี จำกัด]คณะวิศวฯ นิสิต บุคลากร ได้รับรางวัลรักษ์สุขภาพ โครงการพุธหรรษา มก. ประจำปี 2567 (ปีที่ 7)คณะวิศวฯ จัดประกวดออกแบบ Graffiti I am proud to be a KU Engineerภาควิชาวิศวกรรมโยธา เป็นเจ้าภาพจัดงาน global Project Based Learning (gPBL) ครั้งที่ 14นักวิจัย-นิสิตวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ นำนักศีกษาในโครงการ MDP ลงพื้นที่ สำรวจลุ่มน้ำคลองสวนหมาก กำแพงเพชรภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ ต้อนรับนักศึกษาจาก TU Delft เนเธอร์แลนด์ ร่วมโครงการ Multidisplinary Project (รุ่นที่ 7)คณะวิศวฯ ต้อนรับ คณะครู-นักเรียนจากโรงเรียนหอวัง ปทุมธานี รับฟังข้อมูลหลักสูตร – เยี่ยมชมภาควิชาคณะวิศวฯ รับมอบห้องปฏิบัติการวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์กำลังไฟฟ้าจาก Delta ใช้ในการเรียนการสอนสำหรับนิสิตคณะคณะวิศวฯ ต้อนรับผู้บริหารมูลนิธิมิตซูบิชิ อิเล็คทริคไทย มอบทุนการศึกษาแก่นิสิตคณะ

นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์-คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มก. ทีมเกี๊ยว ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ในโครงการ The Comprehensive Course in Japanese Business Innovation

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์และนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ทีมเกี๊ยว ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ในการแข่งขันการนำเสนอผลงาน หัวข้อ “Innovation in upcycling the eco-friendly products & services” นวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่มาจากการ upcycle” ภายใต้โครงการ The Comprehensive Course in Japanese Business Innovation จัดโดยหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ โดยทีมเกี๊ยวได้เข้ารับรางวัลจากนายฮิโรยาซุ ซาโต้ รองประธานหอการค้าญี่ปุ่นฯ-กรุงเทพฯ และประธานส่วนการศึกษา คณะกรรมการฝ่ายความช่วยเหลือสังคม หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ ในพิธีที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 ณ โรงแรม The Landmark Bangkok กรุงเทพฯ

การแข่งขันดังกล่าวมีทีมนิสิต นักศึกษา 3 สถาบันเข้าร่วมแข่งขัน ประกอบด้วยทีมจากมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รวมทั้งสิ้น 6 ทีม (มหาวิทยาลัยละ 2 ทีม) โดยนิสิตทีมเกี๊ยวได้นำเสนอแนวคิดนวัตกรรมในผลงานชื่อ “Been Back” “Been Back คือ Upcycled Product & Service จากการนำไวนิลแบนเนอร์เหลือใช้ ซึ่งไม่สามารถรีไซเคิลได้ มาผลิตเป็นสินค้าเครื่องเรือน (Furniture) ที่มีคุณสมบัติทนทาน ยืดหยุ่น และสีสันสดใส พร้อม Web Application สำหรับการจำหน่าย  ที่ลูกค้าสามารถปรับแต่งชนิดสินค้าและลวดลายได้ตามความพอใจ เพื่อสร้างความยั่งยืนทั้งทางธุรกิจและสิ่งแวดล้อม

สมาชิกในทีมเกี๊ยว ประกอบด้วย นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 2 คน ได้แก่ นางสาวชนนันท์ วัฒนชานนท์ นิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และนางสาวภรภัทร วงศ์สาวิตร นิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จำนวน 3 คน ได้แก่ นางสาวชลธิชา แสงสังข์ นางสาวธัญรัตน์  สิริโสภณวรกุล และนางสาวเพ็ชชรี อุปรีที นิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงบูรณาการ

นอกจากนี้ ยังมีทีมนิสิตจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานอีก 1 ทีม คือ ทีมไฟฟ์เตอร์ โดยทีมได้นำเสนอแนวคิดนวัตกรรมในผลงานชื่อ “สานสร้าง” เป็นการสร้างเซอร์วิสที่เป็นแหล่งรวบรวมเปลือกข้าวโพดที่เป็นเศษเหลือจากภาคการเกษตร เพื่อนำมาออกแบบใหม่เป็นเซ็ทเครื่องเรือน ของใช้ในบ้านหรือผลิตภัณฑ์ในการตกแต่งบ้าน โรงแรม เช่น เสื่อสานจากเปลือกข้าวโพด แผ่นรองจาน โคมไฟ ฉากกั้นห้อง เก้าอี้ ฯลฯ ผ่านวิธีการสร้างผลิตภัณฑ์ด้วยการทำมือ ส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์แฮนด์เมดจากกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร หรือกลุ่มคนว่างงานที่ต้องการสร้างรายได้สร้างอาชีพ   แล้วส่งขายให้กับกลุ่มโรงแรมที่มีแนวคิดในการประกอบธุรกิจแบบ  Green hotel นำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเข้าไปใช้ในโรงแรมให้เป็นเรื่องปกติสร้างความแตกต่างกับโรงแรมอื่น ๆ และสามารถจัดจำหน่ายต่อในลูกค้าของโรงแรมที่สนใจในผลิตภัณฑ์ไปใช้งานต่อที่บ้านได้ด้วยการสนับสนุนสินค้าที่ส่งเสริมความยั่งยืน อาจทำให้ได้รับคาร์บอนเครดิตซึ่งหมายถึง สิทธิที่เกิดจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการที่บุคคลหรือองค์กรได้ดำเนินโครงการหรือมาตรการที่มีเป้าหมาย เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม

สมาชิกในทีมไฟฟ์เตอร์ ประกอบด้วย นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 2 คน ได้แก่ นายจรูญพงษ์ สุขเลิศ นิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และนายณัฐ วีรกุล นิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จำนวน 3 คน ได้แก่ นางสาวปะริชาภรณ์ ตะวันอตินันท์ นายพฤฒพรหม แก้วสองเมือง และนางสาวอัจฉริยา เสาร์โท นิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงบูรณาการ)

โดยทั้ง 2 ทีม มี รศ.ดร.คมสันต์ หงษ์สมบัติ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า รศ.ดร.จิตร์ทัศน์ ฝักเจริญผล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ผศ.ดร.อรช กระแสอินทร์ อาจารย์ประจำสาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงบูรณาการ อ.วิริทธิ์พล โพธ์นาค อาจารย์ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และ ผศ.ดร.กมลพรรณ แสงมหาชัย อาจารย์ประจำภาควิชาการจัดการเทคโนโลยีและการปฏิบัติการ คณะบริหารธุรกิจ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาในการนำเสนอผลงานของนิสิตในโครงการ

 

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่