ENG KU NEWS

วันพฤหัสที่ 01 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ หารือความร่วมมือด้านวิชาการ วิจัย ร่วมกับ NCAC มองโกเลียคณบดีและผู้บริหารคณะ รับมอบทุนสนับสนุนจัดซื้อครุภัณฑ์สำหรับอาคารหัวลำโพง จากนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ รุ่น E37คณะจัดเสวนาวิชาการ i-Forum เรื่อง SMR นิวเคลียร์ขนาดเล็ก ดีจริงหรือ?คณะฯ จัด PQI 2025 : Workshop & Coaching & Training ในโครงการพัฒนาคุณภาพและผลิตภาพภายในองค์กร (Productivity Quality Improvement: PQI)คณะวิศวฯ จัดโครงการ พัฒนาศักยภาพการวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ประจำปี 2568ขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาควิชาวิศวกรรมเคมี พร้อมนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ ได้รับรางวัล STAR OF CAMP ในงาน Start Up Thailand Leage 2025คณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน ครบรอบ 22ปีคณะวิศวฯ นำถังหมักเศษอาหารแบบเติมอากาศ ร่วมแสดงและสาธิตการใช้งาน ในโครงการไม่เทรวมคณะวิศวฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ i-Connect เชื่อมโยงโลกด้วย AI และทักษะภาษาอังกฤษนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้รับรางวัลในโครงการสหกิจศึกษา ประจำปีการศึกษา 2568

วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงาน

เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2567 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) จัดพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ กับบริษัท อัลเตอร์วิม จำกัด โดยมี ศ.ดร.วันชัย ยอดสุดใจ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ลงนามร่วมกับ นายเมธี วินิชบุตร และนายสมบูรณ์ เลิศสุวรรณโรจน์ กรรมการ บริษัท อัลเตอร์วิม จำกัด และมี ผศ.ดร.ประพจน์ ขุนทอง รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและความร่วมมืออุตสาหกรรม ลงนามเป็นพยานร่วมกับ นายจักรกฤษณ์ ศิวพรเสถียร หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ มีผู้ปริหาร คณาจารย์และบุคลากรจากทั้งสองหน่วยงานร่วมในพิธีที่จัดขึ้น ณ ห้องประชุม 0203 อาคารชูชาติ กำภู คณะวิศวกรรมศาสตร์ มก.

การร่วมมือดังกล่าว ทั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์และบริษัท อัลเตอร์วิม จำกัด จะสนับสนุนองค์ความรู้ และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญระหว่างกัน รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานวิจัย และโครงการบริการวิชาการ ตลอดจนทรัพยากรที่จำเป็น  เพื่อจุดมุ่งหมาย Carbon Neutrality และพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเชิงธุรกิจ ภายในระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ลงนามในบันทึกความเข้าใจ โดยความร่วมมือที่จะทำการศึกษาร่วมกัน 3 ประเด็นหลัก คือ 1.ศึกษาเทคโนโลยีและการลงทุน แบตเตอรี่ สำหรับการกักเก็บพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ 2.ศึกษาเทคโนโลยีและการลงทุน ระบบ Hydrogen (H2) ที่ใช้สำหรับระบบการกักเก็บพลังงาน (electrolyze และ Fuel Cell)  และ 3.งานวิจัยเสาเข็มพลังงาน Ground-source heat pump system เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบปรับอากาศสำหรับอาคาร

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่