ENG KU NEWS

วันพุธที่ 01 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
นิสิตวิศวฯ เครื่องกล คว้ารางวัลชนะเลิศ แผนรณรงค์ สร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในสถานศึกษา Toyota Campus Challenge 2023วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานคณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 88 ปีอาจารย์คณะวิศวฯ-คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานในการประชุม Sino-Thai Symposium on Energy and New Materialsผู้บริหาร-อาจารย์คณะ หารือความร่วมมือด้านวิจัย-วิชาการ กับ Tamkang University, Taiwanผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ National Tsing Hua University (NTHU) ไต้หวันผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ Tunghai University ไต้หวันร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ MCUT ไต้หวัน  ผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ ร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการกับผู้บริหาร Yuan Ze University, Taiwanอาจารย์คณะได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น (ศ.11)

ผลงานอาจารย์คณะ ร่วมแสดงในงาน เปลี่ยนวิถีเกษตรไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้นำผลงานการพัฒนาระบบการจัดการกล้วยไม้สกุลหวายแบบแม่นยำสูง ผลงานของ ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เข้าร่วมแสดงในการประชุมวิชาการและจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านการเกษตร ในงาน “เปลี่ยนวิถีเกษตรไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม” จัดโดยสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ณ ณ ฮอลล์ 5 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ระบบการจัดการกล้วยไม้สกุลหวายแบบแม่นยำสูง เป็นการพัฒนาหุ่นยนต์กล้วยไม้อัจฉริยะ (ระบบสลิง รุ่นที่ 2) เพื่อช่วยแก้ปัญหาต้นทุนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในการปลูกกล้วยไม้ของเกษตรกรทั้งปัจจัยการผลิตและค่าแรงงาน ให้มีสมรรถนะสูงขึ้นในด้านประสิทธิภาพเชิงไร่ ประสิทธิผลในการฉีดพ่น คุ้มค่าต่อการลงทุน มีศักยภาพในการผลิตและจำหน่ายได้ในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งรองรับการพัฒนาระบบฉีดพ่นเฉพาะจุดที่ควบคุมด้วยปัญญาประดิษฐ์สำหรับอนาคต โดยมีจุดเด่น คือ ช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ลดต้นทุนค่าปุ๋ยและค่ายาลงได้ 50% เมื่อเทียบกับการใช้แรงงานเกษตรกรโดยได้ผลผลิตเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น  ลดความสูญเสียจากการระบบของโรคและแมลงศัตรูกล้วยไม้ รวมถึงช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและแรงงานสูงวัย

ปัจจุบันมีผู้ใช้ประโยชน์จากระบบการจัดการกล้วยไม้ดังกล่าว คือ กลุ่มคลัสเตอร์กล้วยไม้ จังหวัดราชบุรี และเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้สกุลหวาย โดยมีแนวทางการขยายผลในอนาคต คือ การต่อยอดสู่การทดสอบภาคสนาม ถ่ายทอดกระบวนการผลิตให้แก่ผู้ประกอบการที่สนใจต่อไป

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่