ENG KU NEWS

วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
คณะวิศวฯ ร่วมมือ บ.โกลบอล เอ็นไวรอนเมนทอล เทคโนโลยี จำกัด พัฒนาเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมนิสิตคณะวิศวฯ กวาด 3 รางวัลใหญ่ ชนะเลิศ-รองชนะเลิศอันดับ 1 – Popular Vote Campus Challenge 2023 โดย โตโยต้า ถนนสีขาวคณะวิศวฯ เข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันฟุตบอลประเพณีบุคลากร มก.คณะวิศวฯ ร่วมพิธีถวายพระพรชัยนิสิตคณะวิศวฯ-นิสิตคณะวิทยาศาสตร์ มก. คว้าแชมป์ และรองแชมป์ ประเทศไทย Thailand Open ROS and Smart Robot Competition 202410 เรื่องน่ารู้ วิศวฯ มก. (บางเขน)อาจารย์คณะได้รับการอนุมัติแต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์คณะวิศวฯ ต้อนรับผู้บริหาร อาจารย์และนักศึกษา จาก MIIGAiK สหพันธรัฐรัสเซีย เยี่ยมชมคณะคณะวิศวฯ ต้อนรับผู้แทนจาก NCHU ไต้หวัน นำเสนอข้อมูลด้านวิชาการผู้บริหารคณะวิศวฯ เข้าพบรองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ กฟภ. หารือแนวทางความร่วมมือ

วิศวฯ การบิน – กรมอุทยานแห่งชาติฯ ร่วมสำรวจสัตว์ป่าโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ

ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชสำรวจสัตว์ป่าและประชากรกระทิงของกรมอุทยานแห่งขาติฯ  ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่า บริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรี อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 4 พฤษภาคม 2557 โดยใช้ระบบอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aircraft System: UAS) ที่ออกแบบ พัฒนาและสร้างขึ้นโดยภาควิชาวิศวกรรมการบินฯ เพื่อใช้ในการติดตามสัตว์ป่าทางอากาศโดยเฉพาะ

          ทีมงานสำรวจ ประกอบด้วย ดร.ไชยวัฒน์ กล่ำพล หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ พร้อมด้วย นักวิจัย ช่างเทคนิค และนิสิตในภาควิชาฯ และนายธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช รวมทั้งเจ้าหน้าที่ ผู้เชี่ยวชาญ จากสถานีวิจัยสัตว์ป่าทั่วประเทศ รวมกว่า 60 ท่าน

ดร.ไชยวัฒน์ กล่ำพล เล่าว่า “ทีมสำรวจได้ร่วมกันปฏิบัติภารกิจติดตามตรวจสอบสุขภาพสัตว์ป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทิงที่มีสภาวะน่าเป็นห่วง หลังจากที่มีการพบว่าตายแล้วถึง 24 ตัว ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่า บริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยการสำรวจดังกล่าวใช้ระบบอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aircraft System: UAS) ที่ออกแบบ พัฒนาและสร้างขึ้นโดยภาควิชาวิศวกรรมการบินฯ จากห้องปฏิบัติการโครงสร้างอัจฉริยะและระบบควบคุมอัตโนมัติ (iSAAC LAB)”

ระบบอากาศยานไร้คนขับดังกล่าว ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ ให้สามารถใช้งานจากบริเวณที่จำกัดได้และเคลื่อนที่ไปตามพิกัดที่กำหนดได้อย่างอัตโนมัติและถูกต้องแม่นยำ การใช้ระบบอากาศยานไร้คนขับนั้น เป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่ตรวจตรา ลดความเสี่ยงอันตรายจากสัตว์ป่า ลดภาระการลาดตระเวนของเจ้าหน้าที่ทหารและพิทักษ์ป่า รวมทั้งสามารถแจ้งพิกัดการพบสัตว์ป่าได้อย่างแม่นยำแบบทันท่วงที (real time) เพื่อประสานงานส่งต่อข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ประจำห้างส่องสัตว์ได้ติดตามสุขภาพสัตว์ป่า พฤติกรรมสัตว์ป่า โครงสร้างของประชากรกระทิงและสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ ในพื้นที่

“ในการทำงานของคณะทำงานจากภาควิชาฯได้ทำการบินสำรวจโดยอยู่ในที่ตั้งของสำนักงานโครงการพระราชดำริฯ ขึ้นบินที่ระดับความสูงเพียง80 เมตรจากพื้นผิว ผ่านร่องเขาผ่านไปยังหน้าผา จุดชมวิว เป็นระยะทางอากาศมากกว่า 15 กิโลเมตร ด้วยเครื่องอากาศยานไร้นักบิน โดยออกบินสำรวจตามพฤติกรรมการออกหากินของกระทิง ในช่วงเช้า ระหว่างเวลา 06.00-09.00 น. และช่วงบ่าย เวลา 16.00-19.00 น. สามารถตรวจพบกระทิง50 ตัว พบช้างมากกว่า 100 ตัว จากทั้งหมด 250 ตัว นอกจากนี้ยังพบเก้ง กวาง และหมูป่า   ในโอกาสเดียวกันนี้ ทางทีมงานสำรวจ ได้ทดลองการทำแผนที่ขนาดใหญ่ด้วยอากาศยานไร้นักบินเป็นครั้งแรกของประเทศ ผลลัพธ์ที่ได้คือแผนที่ทางอากาศที่มีขนาดใหญ่ถึง 16.7 ตารางกิโลเมตรมีความละเอียดสูงถึง 5 เซนติเมตรต่อพิกเซล ซึ่งมีความละเอียดมากกว่าภาพถ่ายจากดาวเทียมTHEOS ถึง 40 เท่า ภาพถ่ายทางอากาศดังกล่าว นับเป็นภารกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยมซึ่งได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและโอกาสในการการตรวจพบกระทิงของทีมงาน เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และมีแนวทางที่จะสร้างความร่วมมือกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในการทำงานวิจัยด้านการติดตามสัตว์ป่าทางอากาศ เร็วๆ นี้” ดร.ไชยวัฒน์ กล่าวเสริม

          นับเป็นอีกหนึ่งภารกิจบริการวิชาการของภาควิชาฯ ในการช่วยเหลืองานอนุรักษ์สัตว์ป่าด้วยเทคโนโลยีวิศวกรรมการบิน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของประเทศที่ได้นำความเชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนา อากาศยานมาพัฒนาเพื่อใช้ในงานรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นการเปิดโฉมหน้าใหม่ของการใช้เทคโนโลยีในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติด้านงานอนุรักษ์สัตว์ป่าในเมืองไทย อย่างไรก็ตาม มาตรการเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการตายของกระทิงรวมถึงสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ ต้องดำเนินการตามหลักวิชาการเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคและสาเหตุการตายอื่น และกำหนดเขตกันชน (buffer zone) จำกัดการเข้าออกพื้นที่ฯ โดยอนุญาตเฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานเท่านั้น

 

*********************************************************************************

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่