ENG KU NEWS

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
นิสิตวิศวฯ เครื่องกล-วิศวฯ วัสดุ คว้ารางวัลชนะเลิศ แผนรณรงค์ สร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในสถานศึกษา Toyota Campus Challenge 2023วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานคณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 88 ปีอาจารย์คณะวิศวฯ-คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานในการประชุม Sino-Thai Symposium on Energy and New Materialsผู้บริหาร-อาจารย์คณะ หารือความร่วมมือด้านวิจัย-วิชาการ กับ Tamkang University, Taiwanผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ National Tsing Hua University (NTHU) ไต้หวันผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ Tunghai University ไต้หวันร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ MCUT ไต้หวัน  ผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ ร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการกับผู้บริหาร Yuan Ze University, Taiwanอาจารย์คณะได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น (ศ.11)

Start อย่างไรให้ Up

“แบดด์” ปรัชญา ไพศาลวิภัชพงศ์ นิสิตเก่าวิศวฯ กับการเป็น CEO รุ่มใหม่ ข้อคิดจากปรัชญา ไพศาลวิภัชพงศ์ CEO, AdsOptimal นิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ รุ่น CPE18 E60 KU64

            เมื่อพูดถึงคำว่า “Startup” ในวันนี้ หลายคนมักจะนึกถึงกระแสที่กำลังเป็นที่นิยมของคนรุ่นใหม่ในการสร้างธุรกิจเทคโนโลยีซึ่งกว่าจะเป็น Startup ที่ประสบความสำเร็จได้ ต้องฝ่าฟันและต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง “แบดด์ ปรัชญา ไพศาลวิภัชพงศ์” นิสิตเก่าวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะมาเล่าถึงเส้นทางสู่การเป็น Startup ที่ประสบความสำเร็จได้ในวันนี้กับระยะเวลากว่า 8 ปี หลังเรียนจบที่คณะวิศวฯ มก. ต้องพบเจอกับอะไรบ้าง กว่าจะได้เป็น CEO ของบริษัทที่ได้ชื่อว่าเป็น Startup ของคนไทยเพียงแห่งเดียวในซิลิคอนวัลเลย์ สหรัฐอเมริกา แหล่งรวมบริษัทไอทีชื่อดังที่นักเทคโนโลยีหลายคนต้องการเข้าทำงาน

เชื่อมั่น – ลงมือทำ – พัฒนาตลอดเวลา

ปรัชญา มีข้อคิดอยู่สามอย่างในการทำงาน คือ เชื่อมั่น ลงมือทำ และพัฒนาอยู่ตลอดเวลา โดยไม่ลืมที่จะสนุกกับงานที่ทำด้วย บางทีการที่เราจริงจังกับบางสิ่งเกินไป อาจทำให้เราลืมจุดประสงค์ของการใช้ชีวิตไป และนอกจากจะทำให้คนอื่นรู้สึกดีแล้ว ตัวเราเองต้องรู้สึกดีกับทุกสิ่งที่ทำด้วยไม่ว่าแต่ละคนจะมีจุดหมายในชีวิตอย่างไร

เชื่อมั่น อย่างแรกต้องเชื่อว่าสิ่งที่เราทำอยู่มีคุณค่ามากพอที่จะทำให้เราจดจ่อเพื่อไปสู่จุดหมายเหล่านั้น ต้องถามตัวเองว่า สิ่งที่เราเชื่อมั่นนั้นสำคัญที่สุดกับเราจริงหรือเปล่า เช่น การตั้งเป้าหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พอเราทำอะไรบางอย่าง เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้ เราก็มองไปว่า สุดท้ายเราทำได้แค่ไหน ดูเป็นวิสัยทัศน์ที่ทะเยอทะยาน แต่ว่าถ้าหากทำได้สำเร็จ นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่า นอกจากเชื่อมั่นแล้วต้องลงมือทำด้วย ถ้าเราจะลงมือทำธุรกิจ ต้องมี 3 อย่าง คือ มีแผน สร้างทีมงาน และการหาพันธมิตร

  1. มีแผน การมีแผนจะทำให้เรารู้ทิศทางของการทำงาน หากเรา ไม่มีแผน เมื่อต้องคุยงานกับคนอื่น จะทำให้คนอื่นจะไม่เข้าใจว่าเราต้องการจะทำอะไร
  2. ต้องมีทีมงาน เพราะธุรกิจทำงานกันเป็นทีม และคนเดียวไม่สามารถทำงานได้ทุกอย่าง
  3. หาพันธมิตร

นอกจากจะเชื่อมั่นและลงมือทำแล้ว การพัฒนาตลอดเวลาเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการทำงานซึ่งหากได้ลองลงมือทำอะไรบ้างอย่าง เราควรรู้ว่า มีจุดไหน สิ่งไหนที่เราทำได้ไม่ดี และควรพัฒนาตัวเองในจุดนั้นๆ เพื่อให้ดียิ่งขึ้น การพัฒนาตลอดเวลาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญทั้งการพัฒนาตนเอง และการพัฒนางาน

ทุกคนนั้น ต้องเริ่มพัฒนาจาการที่ยังไม่รู้อะไรมาก่อนเสมอ การทำธุรกิจ startup ก็เช่นเดียวกัน จากเริ่มหัดทำด้วยตัวเองต้องหัดให้ชำนาญมากขึ้นถึงจะเริ่มถ่ายทอดความรู้ไปสู่ทีมงานได้และพัฒนาทีมงานให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ จึงจะทำให้ธุรกิจเป็นที่ยอมรับของตลาดได้

จุดเริ่มต้น… ก่อนออกตัวสตาร์ท

ปรัชญาได้เล่าถึงเส้นทางก่อนที่จะได้เปิดบริษัทเป็นของตนเองโดยเริ่มตั้งแต่สมัยเรียนที่ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จนถึงช่วงการเริ่มพัฒนาผลงานและหาประสบการณ์ในการทำงานต่างประเทศ ก่อนสุดท้ายจะเปลี่ยนบทบาท เป็น CEO อย่างในปัจจุบัน ซึ่งในแต่ละช่วงชีวิตปรัชญาได้เก็บเกี่ยวการเรียนรู้และประสบการณ์ทุกเม้ด และได้นำสิ่งเหล่านั้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์เมื่อต้องพัฒนางานของตนเองและยังพัฒนาอย่าง ไม่หยุดยั้งตลอดเวลา

ปี 2006 (พ.ศ.2549) นับเป็นครั้งแรกที่ได้รู้จักกับซิลิกอน วัลเลย์ (Silicon Valley) จากการเข้าค่ายโครงการแลกเปลี่ยนกับนักเรียนไทยในมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด จากการเข้าค่ายทำให้ซึมซับความรู้มาทั้งด้านธุรกิจอินเทอร์เน็ต และเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ซึ่งในการพรีเซนต์ได้เจอกับชาวต่างชาติทำให้รู้ว่าหากเราจะเติบโตไประดับโลกได้นั้น เรายังต้องพัฒนาตัวเองอีกมากจึงได้เริ่มฝึกภาษาด้วนการดูภาพยนตร์อังกฤษแล้วปิดข้อความที่แปลภาษาไทยออก หรือการเข้าร่วมโครงการต่างๆ ที่ต้องพัฒนางานให้เป็นระดับนานาชาติมากขึ้น นอกจากการฝึกฝนทักษะด้านภาษาแล้วยังต้องฝึกคิดค้นและทดลองทำธุรกิจไปด้วยซึ่งในภาพรวมนี้การฝึกฝนอะไรก็ตาม ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เวลา ไม่ใช่ว่าจะฝึกฝนแล้วสำเร็จได้ในทันทีทันใด

จนแม้แต่ทุกวันนี้ ปรัชญาก็ยังต้องขวนขวายหาความรู้และพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา

ปี 2008 (พ.ศ.2551) เป็นช่วงที่เริ่มทำงานกับบริษัทไมโครซอฟต์สาขาใหญ่ ในรัฐวอชิงตัน ที่จริงการทำงานในบริษัทใหญ่ๆ แบบไมโครซอฟต์นั้นค่อนข้างง่ายกว่าการสร้างธุรกิจของตัวเอง เพราะมีความชัดเจนในสิ่งที่ต้องทำมากกว่า แต่เนื่องจากเป็นช่วงแรกๆ ที่ต้องใช้ชีวิตและทำงานในต่างประเทศ จึงต้องใช้เวลาเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตจากการเป็นนิสิตไทยเป็นบุคลากรทำงานกับทีมในไมโครซอฟต์ ซึ่งการทำงานให้ดีได้นั้นนอกจากจะต้องใช้ทักษาะการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เก่งแล้ว ยังต้องฝึกฝนศิลปะในการพูด เพื่อที่ใช้สื่อสารอธิบาย หรือโน้มน้าวคนในทีมให้เข้าใจเรา ซึ่งเรื่องนี้น่าจะเป็นสิ่งหลักๆ ที่การทำงานในบริษัทใหญ่ๆ ช่วยพัฒนาให้เราดีขึ้น

ในช่วงสองปีแรกนั้นทำงานอยู่ในทีม Office.com ในส่วนของ Office Online ซึ่งเป็นระบบเปลี่ยนการจัดเก็บไฟล์เอกสารบนคอมพิวเตอร์แบบเดิมๆ ให้มาจัดเก็บและใช้งานแบบออนไลน์แทน และหลังจากทำงานที่ไมโครซอฟต์ได้สองปีก็ตัดสินใจย้ายมาหาประสบการณ์ที่กูเกิ้ลสาขาใหญ่ใน Mountain View โดยอยู่ในทีมสร้างโฆษณาในรูปแบบวิดีโอบนผลการค้นหาของกูเกิ้ล นอกจากนี้ปรัชญายังได้ใช้เวลาว่างเข้าร่วมงานแข่งขันไอเดียธุรกิจเพื่อพบปะกับคนในท้องถิ่นและสร้างทีมเพื่อทดลองทำธุรกิจเล็กๆ ด้วยกัน

ปี 2012 (พ.ศ.2555) เมื่อเริ่มหาประสบการณ์จากการทำงานในไมโครซอฟท์และกูเกิ้ลมาได้ครบสี่ปีแล้ว ก็ตัดสินใจเริ่มแสวงหาหนทางในการตั้งบริษัทและเริ่มเรี่ยรายเงินลงทุนจากนักลงทุนใน Silicon Valley นี้สิ่งที่นักลงทุนที่นี่มองหาคือ เขาต้องการธุรกิจที่มีโอกาสสำเร็จแบบผูกขาดได้ในระดับโลกโดยที่เขายอมรับความเสี่ยงในการลงเงินลงทุนให้

ในช่วงนั้นเองเป็นช่วงที่ได้เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะธุรกิจ startup Y-Combinator พอดี ใน Y-Combinator นั้นมีการนำ startup ที่ประสบความสำเร็จอย่าง Instagram Dropbox และ Airbnb มาเล่าชีวิต ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจให้ฟังเพื่อให้เราซึมซับเรื่องสำคัญของสิ่งที่เจ้ของธุรกิจต้องทำเพื่อให้ธุรกิจเติบโตไปจนสำเร็จได้ในระดับโลก พร้อมกับช่วยขัดเกลาการนำเสนอ ช่วยดึงเงินลงทุนจากกองทุนชื่อดังใน Silicon Valley อย่าง Andresen Horowitz, SV Angel และ Start Fund มาให้

การได้รับเงินทุนมาใช้สร้างธุรกิจนั้น นักลงทุนนอกจากมองหาไอเดียที่ดีแล้ว เขายังมาหาบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและทีมงานชั้นเลิศที่มีผลงานด้วยกันมาก่อน ซึ่งของทุกสิ่งเหล่านี้ปรัชญาได้เรียนรู้และเตรียมตัวมาตั้งแต่สมัยเรียนแล้ว จะเห็นได้ว่าทุกอย่างนั้นได้มาจากการฝึกฝน โดยมีความเชื่อมั่น ลงมือทำ และพัฒนาตนเองเรื่อยมา

ปี 2013 (พ.ศ.2556) เป็นช่วง Takeover ธุรกิจมาเป็นของตัวเอง และเป็นผู้บริหารเอง โดยเลือกธุรกิจโฆษณา เพราะว่าช่วงที่ทำงานอยู่ที่ Google มีหน้าที่ทำโฆษณาบน Google และทำธุรกิจออนไลน์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำมาตั้งแต่สมัยเรียนแล้ว เลยคิดว่าเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับตนเองได้ เลยเลือกที่จะทำธุรกิจโฆษณา แต่การที่จะเปลี่ยนไอเดียจากของเดิมๆ เราต้องบริหารจัดการภายในบริษัทก่อน ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ สร้างลูกค้าใหม่ ให้ความเชื่อมั่นกับผู้ที่จะลงทุนด้วยธุรกิจจะดำเนินการต่อไปได้อย่างไร โดยเชื่อว่า ถ้าตัวเองยังชนะตัวเองไม่ได้ จะเป็นผู้นำคนอื่นได้อย่างไร “เอาชนะตัวเอง ก่อนจะนำผู้อื่น”

ปี 2015 (พ.ศ.2557) ได้ผลิตภัณฑ์ออกมา 1 ชิ้น คือ การเอาโฆษณาไปติดบนเว็บไซต์แล้วเราก็แบ่งรายได้กับเจ้าของเว็บไซต์ แต่ในที่สุดได้คิดค้นเป็นผลิตภัณฑ์โฆษณารูปแบบ 360 องษา หรือ Virtual Reality เช่น โฆษณารถฮอนด้าที่เสมือนผู้ใช้งานเข้าไปนั่งขับรถคันนี้จริง ผลิตภัณฑ์นี้ได้แนวคิดมาจากการซื้อกล้อง 360 องศา มาใช้งานและเขียนโปรแกรมจากความรู้ที่มี จากการค้นพบนี่เอง ทำให้รู้ว่า การทำอะไรให้ดีขึ้นกว่าเดิม แตกต่างจากเดิม จะทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นขายได้

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการถ่ายทอดประสบการณ์กว่า 8 ปี หลังเรียนจบจากคณะวิศวฯ มก. ของปรัชญา startup คนไทยที่ประสบความสำเร็จในสหรัฐอเมริกา ที่มีความเชื่อว่า ต้องเอาชนะตัวเองให้ได้ ก่อนจะเป็นผู้นำคนอื่น ซึ่งในวันนี้ความเชื่อนั้นพิสูจน์ให้เห็นถึงความเป็นผู้นำของปรัชญา ไพศาลวิภัชพงศ์ ผู้เปลี่ยนวงการโฆษณาให้กลายเป็นรูปแบบเสมือนจริงยิ่งขึ้นนั่นเอง…

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่