ENG KU NEWS

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
นิสิตวิศวฯ เครื่องกล-วิศวฯ วัสดุ คว้ารางวัลชนะเลิศ แผนรณรงค์ สร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในสถานศึกษา Toyota Campus Challenge 2023วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานคณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 88 ปีอาจารย์คณะวิศวฯ-คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานในการประชุม Sino-Thai Symposium on Energy and New Materialsผู้บริหาร-อาจารย์คณะ หารือความร่วมมือด้านวิจัย-วิชาการ กับ Tamkang University, Taiwanผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ National Tsing Hua University (NTHU) ไต้หวันผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ Tunghai University ไต้หวันร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ MCUT ไต้หวัน  ผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ ร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการกับผู้บริหาร Yuan Ze University, Taiwanอาจารย์คณะได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น (ศ.11)

วิศวฯ การบินและอวกาศ นำอากาศยานไร้คนขับ ร่วมหาแนวทางอนุรักษ์สัตว์ป่า

อาจารย์ ดร.ไชยวัฒน์ กล่ำพล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ พร้อมด้วยทีมนักวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (iSAAC Laboratory) นำอากาศยานไร้คนขับ ร่วมลงพื้นที่สำรวจบริเวณ อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี เพื่อร่วมหาแนวทางในการใช้เทคโนโลยีทางวิศวกรรมเพื่อสนับสนุนภารกิจงานด้านอนุรักษ์ในพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก โดยมีนายสัตวแพทย์ ภัทรพล มณีอ่อน ประธานอนุกรรมการ ฝ่ายอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่า มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก ได้ร่วมกันลงพื้นที่และหารือ พร้อมกับทีมงาน ประกอบด้วย นายอยู่ เสนาธรรม ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 นายรนัตถ์ชัย พุ่งเจริญ นายอำเภอแก่งหางแมว และนายพิทักษ์ ยิ่งยง เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅในและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง หลังจากนั้นก็ได้ร่วมกันทดลองใช้อากาศยานไร้คนขับ iSAAC Mapper ขึ้นบินจากสนามหน้าที่ว่าการอำเถอแก่งหางแมว ไปยังพื้นที่เขาป้อม รวมระยะทางไป-กลับ 21 กิโลเมตร

นอกจากนี้ยังได้ร่วมกันลงพื้นที่รอยต่อระหว่างป่าและพื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้านที่มักจะพบข้างป่า ใช้เป็นทางผ่านเพื่อออกมาหากินในพื้นที่ โดยทีมงานจะรวบรวมปัญหาและความเป็นไปได้ต่างๆ ในพื้นที่จริงเหล่านี้มาสร้างสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมด้วยหลักการทางวิศวกรรม เพื่อใช้แก้ปัญหาต่อไป

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่