ENG KU NEWS

วันพฤหัสที่ 02 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
นิสิตวิศวฯ เครื่องกล-วิศวฯ วัสดุ คว้ารางวัลชนะเลิศ แผนรณรงค์ สร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในสถานศึกษา Toyota Campus Challenge 2023วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานคณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 88 ปีอาจารย์คณะวิศวฯ-คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานในการประชุม Sino-Thai Symposium on Energy and New Materialsผู้บริหาร-อาจารย์คณะ หารือความร่วมมือด้านวิจัย-วิชาการ กับ Tamkang University, Taiwanผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ National Tsing Hua University (NTHU) ไต้หวันผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ Tunghai University ไต้หวันร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ MCUT ไต้หวัน  ผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ ร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการกับผู้บริหาร Yuan Ze University, Taiwanอาจารย์คณะได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น (ศ.11)

วิศวกรรมเคมี เจ้าภาพจัดประกวด โครงงานวิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์แห่งประเทศไทย

ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นเจ้าภาพจัดประกวดโครงงานวิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์แห่งประเทศไทย ประจำปีการศึกษา 2557 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2558 โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.พีรยุทธ์ ชาญเศรษฐิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดงานและผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริพล อนันตวรสกุล หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวต้อนรับผู้ร่วมงาน จัดขึ้น ณ อาคารนานาชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภายในงานจัดให้มีการบรรยายพิเศษ เรื่อง “การศึกษาวิศวกรรมศาสตร์กับการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน” โดยมี ดร.วศิมน เรืองเล็ก นักวิจัยอาวุโสศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม บริษัท เอสซีจี เคมีคอลส์ จำกัด และรองศาสตราจารย์ ดร.ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นวิทยากรบรรยาย

การกประกวดโครงงานวิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์แห่งประเทศไทย ประจำปีการศึกษา 2557 มีทีมเข้าร่วมแข่งขัน 21 ทีมจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พรพจน์ เปี่ยมสมบูรณ์ อาจารย์จากภาควิชาเคมีเทคนิคจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้มอบรางวัล ทีมผู้ได้รับรางวัล มีดังนี้

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่
    ผลงานเรื่อง การพัฒนาตัวเก็บประจุไฟฟ้าเคมียิ่งยวดจากขยะวัสดุคาร์บอนในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
    เจ้าของผลงาน     นายณัฐพล ภัทรสุภากุล และนางสาวจุฑาภรณ์ วุฒิพรหม
    ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    อาจารย์ที่ปรึกษา  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มนตรี สว่างพฤกษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่
    ผลงานเรื่อง Synthesis of ZnS nanoparticles for application of solar concentrator
    เจ้าของผลงาน      นายธราวิชญ์ ประโยชน์วิบูลย์ และนางสาวมณีพร ตั้งมโนเพียรชัย
    ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    อาจารย์ที่ปรึกษา   ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ชรินพาณิชกุล
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่
    ผลงานเรื่อง       การพัฒนาลิเทียมไอออนแบตเตอรี่ด้วยวัสดุนาโนคาร์บอน
    เจ้าของผลงาน      นายเตวิช ธงสว่างชัย และนายพีรพัฒน์ เรืองเถาะ
    ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    อาจารย์ที่ปรึกษา   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มนตรี สว่างพฤกษ์
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ได้แก่
    ผลงานเรื่อง การผลิตไฮโดรเจนและก๊าซสังเคราะห์จากคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยเซล์อิเล็กโตรไลต์ออกไซด์ของแข็ง
    เจ้าของผลงาน       นายศุภฤกษ์ ลิขิตาภรณ์ และนางสาวธัญยธรณ์ ภัคเครือพันธุ์
    ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    อาจารย์ที่ปรึกษา   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรพร คิม
    ผลงานเรื่อง            การปรับปรุงคุณภาพ Carbon Black จากการไพโรไลซิสยางล้อรถยนต์เพื่อใช้ในการดูดซับ VOCs”
    เจ้าของผลงาน        นางสาวธนวันต์ เฉลิมศักดิ์ตระกูล และนายนรภัทร ธารางกูร
    ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    อาจารย์ที่ปรึกษา    รองศาสตราจารย์ ดร.อาทิวรรณ โชติพฤกษ์
  • รางวัลชมเชย ได้แก่
    ผลงานเรื่อง            การสกัดน้ำมันมะพร้าวจากตะกรันที่เกิดจากการกระบวนการพาสเตอร์ไรส์น้ำกะทิ
    เจ้าของผลงาน        นางสาวอังคณา สุขสง่า นางสาวชนกฉัตร นุชเนศร์ และนางสาววรรณกานต์ วรรณกายนต์
    ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    อาจารย์ที่ปรึกษา    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภณิดา ซ้ายขวัญ
    ผลงานเรื่อง            การพัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์สำหรับเซลล์เชื้อเพลิง NEXA ขนาด 1 กิโลวัตต์
    เจ้าของผลงาน        นายประสิทธิ์ จุฬานุตรกูล และนางสาวปณิตา จุลธีระ
    ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    อาจารย์ที่ปรึกษา     รองศาสตราจารย์ ดร.พรพจน์ เปี่ยมสมบูรณ์

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่