ENG KU NEWS

วันพฤหัสที่ 01 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ หารือความร่วมมือด้านวิชาการ วิจัย ร่วมกับ NCAC มองโกเลียคณบดีและผู้บริหารคณะ รับมอบทุนสนับสนุนจัดซื้อครุภัณฑ์สำหรับอาคารหัวลำโพง จากนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ รุ่น E37คณะจัดเสวนาวิชาการ i-Forum เรื่อง SMR นิวเคลียร์ขนาดเล็ก ดีจริงหรือ?คณะฯ จัด PQI 2025 : Workshop & Coaching & Training ในโครงการพัฒนาคุณภาพและผลิตภาพภายในองค์กร (Productivity Quality Improvement: PQI)คณะวิศวฯ จัดโครงการ พัฒนาศักยภาพการวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ประจำปี 2568ขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาควิชาวิศวกรรมเคมี พร้อมนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ ได้รับรางวัล STAR OF CAMP ในงาน Start Up Thailand Leage 2025คณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน ครบรอบ 22ปีคณะวิศวฯ นำถังหมักเศษอาหารแบบเติมอากาศ ร่วมแสดงและสาธิตการใช้งาน ในโครงการไม่เทรวมคณะวิศวฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ i-Connect เชื่อมโยงโลกด้วย AI และทักษะภาษาอังกฤษนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้รับรางวัลในโครงการสหกิจศึกษา ประจำปีการศึกษา 2568

อาจารย์วิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง พัฒนาระบบ KU Smart Bus แจ้งข้อมูลการเดินรถโดยสารสวัสดิการภายในมหาวิทยาลัย ผ่านจอแสดงผลและแอปพลิเคชันบน Smartphone

อาจารย์ ดร.สโรช บุญศิริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง ร่วมกับทีมนักวิจัย คิดค้น พัฒนาระบบแจ้งข้อมูลการเดินรถโดยสารสวัสดิการในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน หรือ KU Smart Bus ส่งเสริมการใช้รถสวัสดิการในมหาวิทยาลัย เพื่อลดการใช้พลังงานและลดปริมาณมลพิษในอากาศ รวมทั้งลดปัญหาการจราจรติดขัด จากการใช้รถยนต์ส่วนตัวหรือรถรับจ้างภายในมหาวิทยาลัย ผู้ใช้งานสามารถรับทราบข้อมูลการเข้าป้ายของรถสวัสดิการ สายรถสวัสดิการที่ผ่านป้ายหยุดรถแต่ละป้าย ระยะเวลาในการเดินทาง รวมถึงระยะเวลาที่รถจะมาถึงป้ายนั้นๆ ผ่านแสดงผลที่ติดตั้งตามป้ายหยุดรถและแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ Smartphone

อาจารย์ ดร.สโรช ในฐานะหัวหน้าโครงการ ได้กล่าวว่า “ในระยะหลายปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน มีนโยบายที่จะให้นิสิตและบุคคลากร ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวและจักรยานยนต์ในการเดินทางภายในมหาวิทยาลัย และใช้รูปแบบการเดินทางอื่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแทน เช่น การขี่จักรยาน และการใช้รถโดยสารสวัสดิการ ซึ่งนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัดได้แล้ว ยังจะช่วยลดการใช้พลังงานและลดมลพิษในมหาวิทยาลัยลงได้อีกด้วย”

จากนโยบายดังกล่าว มหาวิทยาลัยจึงได้มอบหมายให้ภาควิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาระบบแจ้งข้อมูลการเดินรถสวัสดิการในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน หรือ KU Smart Bus ผ่านระบบ GPS ที่ติดตั้งในรถสวัสดิการ เพื่อส่งเสริมการใช้รถสวัสดิการโดยผู้ใช้บริการสามารถทราบสายรถที่ผ่านสถานที่นั้นๆ ตลอดจนทราบระยะเวลาในการรอรถแต่ละสาย ทำให้สามารถวางแผนการเดินทางได้ผ่านได้อย่างเหมาะสมผ่านจอแสดงผลที่ติดตั้ง ณ จุดหยุดรถโดยสารสวัสดิการหลัก หรือผ่านแอปพลิเคชั่นบนมือถือ Smartphone ที่พัฒนาโดยทีมนักวิจัยในโครงการ สามารถรับทราบข้อมูลการเดินรถได้ตลอดไม่ว่าผู้ใช้บริการจะอยู่ ณ ที่ใดภายในมหาวิทยาลัย

หลักการทำงานของระบบดังกล่าว ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูลการเดินรถด้วยเทคโนโลยี GPS ส่วนนี้จะทำหน้าที่บันทึกข้อมูลการเดินรถ ได้แก่ พิกัด เวลา และความเร็วในการขับขี่ของรถโดยสาร โดยอุปกรณ์ GPS ซึ่งจะส่งข้อมูลพิกัดและความเร็วไปยัง Server ที่ใช้ในการประมวลผลผ่านการสื่อสารแบบ 3G จากนั้น ส่วนประมวลผล  ส่วนนี้เป็นส่วนรับข้อมูลจากส่วนแรก โดยนำข้อมูลตำแหน่ง และความเร็วรถมาใช้ในการประมวลผล ว่ารถสวัสดิการคันดังกล่าว จะมีระยะเวลาเดินทางไปยังป้ายถัดไปได้ภายในอีกกี่นาที และส่วนรายงานผล จะทำการรายงานผลระยะเวลาในการรอรถโดยสารที่ป้ายและระยะเวลาในการเดินทางไปยังจุดหมาย ซึ่งสามารถทำได้ใน 4 ช่องทาง เพื่อความสะดวกของผู้โดยสาร คือ ผ่านทางแอปพลิเคชั่นบนมือถือ Smartphone, ระบบการรายงานผลทาง SMS, จอแดสงผลที่ติดตั้งตามป้ายหยุดรถโดยสาร และทางเว็บไซต์ โดยออกแบบให้มีความทันสมัยและใช้งานง่าย

ภายหลังจากการเปิดให้ใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบ ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 จนกระทั่งปัจจุบัน ผลปรากฎว่ามีนิสิต อาจารย์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัย และบุคคลภายนอก ได้ให้ความสนใจในระบบการแจ้งข้อมูลการเดินรถโดยสารสวัสดิการ มก. เป็นจำนวนมาก โดยที่สามารถติดตามข่าวสารหรือมีข้อเสนอแนะให้กับทางทีมงานได้ทาง Facebook Fanpage KUSmartBus ซึ่งระบบนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับระบบการขนส่งมวลชนในพื้นที่อื่นได้เช่นกัน ยกตัวอย่าง เช่น Shuttle Bus ที่วิ่งระหว่างโรงแรมและสนามบิน รถที่วิ่งภายในศูนย์แสดงนิทรรศการ ตลอดจนรถประจำทางสายต่างๆ ในกรุงเทพมหานครได้อีกด้วย

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่