ENG KU NEWS

วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
บุคลากรคณะได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งชำนาญการ/ชำนาญงานคณะวิศวฯ จับมือ คณะบริหารธุรกิจและบัณฑิตวิทยาลัย ม.เกษตรศาสตร์ เปิดโครงการเรียนล่วงหน้า 4+1 เรียน 5 ปี ได้ปริญญา 2 ใบ ป.ตรี วิศวกรรมศาสตร์ + ป.โท บริหารธุรกิจคณะผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุน ศึกษาดูงานระบบบริหารจัดการ-หารือความร่วมมือด้านวิชาการ ณ ประเทศญี่ปุ่นนิสิตวิศวฯ เครื่องกล-วิศวฯ วัสดุ คว้ารางวัลชนะเลิศ แผนรณรงค์ สร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในสถานศึกษา Toyota Campus Challenge 2023วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานคณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 88 ปีอาจารย์คณะวิศวฯ-คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานในการประชุม Sino-Thai Symposium on Energy and New Materialsผู้บริหาร-อาจารย์คณะ หารือความร่วมมือด้านวิจัย-วิชาการ กับ Tamkang University, Taiwanผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ National Tsing Hua University (NTHU) ไต้หวันผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ Tunghai University ไต้หวัน

โครงการ Impact-T

3)  การพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ด้านอุทกวิทยา (Hydrology Model) “H08” และ  “SiBUC”
ในการพยากรณ์หรือเตือนภัยสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอุทกวิทยานั้น จำเป็นต้องอาศัยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ด้านอุทกวิทยาที่ซึ่งได้นำปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบมาพิจารณาครบถ้วน และมีการทดสอบความถูกต้องแม่นยำของแบบจำลองกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เพื่อปรับปรุงการพยากรณ์ให้มีความถูกต้องหรือใกล้เคียงมากที่สุดซึ่งซอฟต์แวร์แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ด้านอุทกวิทยาที่ยอมรับและใช้กันแพร่หลายนั้นมีราคาจำหน่ายนับสิบล้านบาท โครงการ IMPAC-T ได้ปรับปรุงซอฟต์แวร์  Hydrology Model “H08” และ SiBUC”  ซึ่งเป็น Open Source หรือ Freeware ที่ใช้ได้ผลดีมาแล้วในประเทศญี่ปุ่นเพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทย ซึ่งได้มีการทดสอบผลและพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยมาจนเป็นที่มั่นใจแล้วว่าแบบจำลองให้ผลในการพยากรณ์ได้ใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริง จึงได้นำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างระบบเตือนภัยน้ำท่วม

ในอนาคตมีโครงการที่จะขยายผลและเผยแพร่ Hydrology Model “H08” ไปสู่นิสิตนักศึกษาและอาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดเกี่ยวกับ H08 สามารถดูได้จาก http://impact.eng.ku.ac.th

 

 4)  โครงการ IMPAC-T กับการช่วยแก้ปัญหาและผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งใหญ่ในภาคกลางปี 2554

เมื่อเกิดน้ำท่วม กทม. ครั้งใหญ่ในปลายปี 2554  โครงการ IMPAC-T ได้ให้ความร่วมมือกับทาง JICA ในการพัฒนาระบบรายงานสถานการณ์น้ำท่วมแบบออนไลน์ให้กับรัฐบาลไทย ซึ่งเป็นโครงการเร่งด่วนมากจึงต้องอาศัยคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Servers) ของ IMPAC-T ที่มีอยู่ดำเนินการไปก่อน รวมทั้งการใช้ Hydrology Model “H08” ของ IMPAC-T ในการวิเคราะห์และคาดคะเนด้วย ต่อมาเมื่อระบบมีความพร้อมและเสถียรจึงได้ย้ายไปยังเซิร์ฟเวอร์ซึ่งในอยู่ความดูแลของกรมชลประทาน  และได้เปิดให้บริการทั่วไปออนไลน์ 24 ชั่วโมงในช่วงฤดูฝน (พฤษภาคม-ธันวาคม)    เรียกว่า  Flood Risk Information  ซึ่งสามารถดูได้จากเว็บไซต์ http://floodinfo.rid.go.th/

 

 5)   การพัฒนาระบบเตือนภัยดินถล่ม (Landslide Monitoring System)

          ในปัจจุบันเมื่อฝนตกหนัก มักจะเกิดปัญหาดินถล่มในบริเวณพื้นที่ลาดชันหรือเชิงภูขาตามมาเสมอ  โครงการ IMPAC-T ได้วิจัยและพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อคาดคะเนความเสี่ยงของการเกิดดินถล่มในพื้นที่ลาดชันของประเทศไทย เพื่อนำเสนอเป็นแผนที่เสี่ยงภัยดินถล่ม (Landslide Hazard Map) และแจ้งเตือนให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ  โดยได้นำผลการวิจัยไปใช้งานจริงในพื้นที่ซึ่งเกิดดินถล่มมาแล้วและยังมีความเสี่ยงภัยสูง ที่หมู่บ้านห้วยน้ำแก้ว อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่  ซึ่งมีการทำงานร่วมกับชุมชนในพื้นที่จนประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง   ซึ่งสามารถนำมาเป็นต้นแบบให้กับการติดตั้งระบบเตือนภัยดินถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัยอื่น ๆ ของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

 

 6)  การศึกษาวิจัยผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อพื้นที่ชายฝั่งทะเลประเทศไทย
โครงการ IMPAC-T ได้ตรวจวัดและเก็บข้อมูลการสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลในบริเวณพื้นที่ 27 แห่ง ตามแนวชายฝั่งทะเลของประเทศไทย ซึ่งมีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 2,700 กิโลเมตร นอกจากนั้นยังได้ศึกษาวิจัยถึงการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งทะเลจากคลื่นและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ มีการประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Brunn Model) เพื่อคาดการณ์ระดับน้ำที่สูงขึ้นในอนาคต และจัดทำพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งสามารถดูผลได้จากเว็บไซต์ http://impact.eng.ku.ac.th

 

        

 

 

 

 7)  การพัฒนา Forcing Data สำหรับพัฒนาและทดสอบโมเดลทางภูมิอากาศและอุทกวิทยา ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา
ในการทำวิจัยและพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ด้านอุทกวิทยา (Hydrology Model) จำเป็นต้องมีข้อมูลที่เป็นจริงของสภาพภูมิอากาศ ให้ได้มากที่สุดเพื่อใช้ในการสร้างและทดสอบความถูกต้องของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ต่อการคาดคะเนผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อปัจจัยนำเข้าต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป โครงการ IMPAC-T  จึงได้รวบรวมข้อมูลสภาพภูมิอากาศในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาจากหน่วยงานต่างๆ ซึ่งมีสถานีวัดอากาศ เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน เป็นต้น และแหล่งอื่นๆ ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และเป็นระยะเวลาย้อนหลังนับ 10 ปี  ซึ่งข้อมูลที่สำคัญได้แก่ ปริมาณฝนตกรายชั่วโมง ความเร็วลมรายชั่วโมง ความดันบรรยากาศรายชั่วโมง ความชื้นจำเพาะรายวัน การแผ่รังสีคลื่นยาวราย 3 ชั่วโมง การแผ่รังสีคลื่นสั้นรายวัน และอุณหภูมิผิวดินทุก 3 ชั่วโมง โดยได้นำข้อมูลที่ได้รับเหล่านั้นมาวิเคราะห์ความถูกต้องสมบูรณ์ด้วยกระบวนการทางสถิติ ได้ทำการคัดกรองข้อมูลที่ไม่แน่ใจว่าถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ทิ้งไป ทั้งนี้เพื่อให้ได้เป็นชุดข้อมูลภูมิอากาศที่เชื่อถือได้ว่าเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งเรียกว่า “Forcing Data”  ที่จะนำไปใช้ในการสร้างและทดสอบแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ  ซึ่งได้ศึกษาวิจัยและพัฒนาขึ้นมา  พร้อมกับได้เผยแพร่ให้นักวิจัย download นำไปใช้ได้ทางเว็บไซต์  http://impact.eng.ku.ac.th  (Data Center) ซึ่งโครงการ IMPAC-T  จะปรับปรุง “Forcing Data” ให้ทันสมัยและมีปริมาณเพิ่มมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

 8)   การคาดคะเนพื้นที่ภัยแล้งและการประเมินความเสี่ยงภัยแล้งต่อทำการเกษตรในลุ่มน้ำเจ้าพระยา

นอกเหนือจากศึกษาวิจัยเรื่องน้ำท่วมแล้ว โครงการ IMPAC-T  ยังได้ศึกษาวิจัยถึงภาวะขาดแคลนน้ำหรือภัยแล้ง (Drought) ควบคู่ไปด้วย  โดยได้พัฒนาโมเดลการประเมินความเสี่ยงต่อภัยแล้งในการทำเกษตรกรรมซึ่งให้ผลรวดเร็วในลักษณะที่ใกล้เคียงกับ real-time  ทั้งนี้อาศัยข้อมูลดาวเทียมผนวกกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ นอกจากนั้นยังใช้ดัชนีภัยแล้งทางอุตุนิยมวิทยา (meteorological drought index)  ในการคาดคะเนล่วงหน้า 3 เดือน ถึงพื้นที่เกิดภัยแล้งต่อการทำเกษตรกรรมในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน รวมถึงการศึกษาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีภัยแล้งทางอุตุนิยมวิทยากับผลของภัยแล้งที่มีต่อการปลูกพืช

 

 10)  การติดตั้งสถานีวัดอากาศอัตโนมัติ  30 แห่ง ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา

โครงการ IMPAC-T ได้ติดตั้งสถานีวัดอากาศอัตโนมัติ (Automatic Weather Stations) และสถานีวัดระดับน้ำ รวมไม่น้อยกว่าจำนวน 30 สถานี ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นการติดตั้งเสริมให้แก่กรมชลประทาน และ กรมอุตุนิยมวิทยา ในพื้นที่ซึ่งยังไม่มี   โดยทุกสถานีจะส่งข้อมูลทางไกลผ่านทางระบบโทรมาตร (Telemetering)  มายังศูนย์ข้อมูลใน กทม.

 

 11)  การออกแบบและพัฒนาการสื่อสารไร้สายระยะไกล และพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ Wireless sensor nodes
เนื่องจากมีสถานีวัดอากาศ จุดเฝ้าสังเกตหรือเซนเซอร์ตรวจจับบางแห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่งไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ GPRS/GSM หรือมีสัญญาณแต่มักจะเกิดปัญหา หรือ Cellular link ล่มบ่อยๆ ดังนั้นจึงต้องศึกษาวิจัยหาแนวทางที่ให้สามารถตรวจสอบหรือรวบรวมข้อมูลจากแหล่งดังกล่าวแบบ real time ได้    โครงการ IMPAC-T ได้ออกแบบและพัฒนา Real-Time, Fault-Tolerant Hybrid Network แบบ Wireless Sensor network พัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ wireless sensor nodes ซึ่งทดสอบการใช้งานแล้วได้ผลเป็นที่พอใจ

 

 12) การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Data Center)

โครงการ IMPAC-T ได้ใช้งบลงทุนประมาณ 30 ล้านบาทในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Data Center)  ขึ้นที่ชั้น 9 อาคารบุญสม สุวชิรัตน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยงานหลัก ได้แก่ การประมวลผลข้อมูลที่ได้จากสถานีวัดสภาพอากาศของ IMPAC-T การปรับปรุงและ Update  “Forcing Data”  ให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น การ  run หรือใช้โมเดลทางอุทกวิทยา  “HO8” และอื่น ๆ การประมวลผลข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม การประมวลผลข้อมูลแผ่นดินถล่ม เว็บไซต์ของ IMPAC-T สื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฯลฯ ซึ่งได้มีการจัดหาและติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์สมรรถนะสูง(High Performance Server) และ Servers ย่อย อื่น ๆ อีกนับ 20 เครื่อง  โดยศูนย์ข้อมูลดังกล่าวได้เปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2557 ที่ผ่านมา

          

13) การเผยแพร่และตีพิมพ์ผลงานวิจัยจากโครงการ IMPAC-T

โครงการ IMPAC-T  มีทุนสนับสนุนให้นักวิจัยไปนำเสนอหรือตีพิมพ์ผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ  ซึ่งมีผลงานของนักวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับสากลรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 50 เรื่อง ซึ่งรายละเอียดสามารถดูได้จากทางเว็บไซต์ของโครงการ IMPAC-T ซึ่งโครงการได้จัดให้มีการสัมมนาทางวิชาการสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจทั่วไปอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เป็นประจำทุกปี นอกจากนั้นยังได้เข้าร่วมจัดการประชุมระดับชาติและนานาชาติอันเกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำที่สำคัญหลายครั้ง เช่น  2nd  Asia Pacific Water Summit เป็นต้น

 

 

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่