ENG KU NEWS

วันพฤหัสที่ 01 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ หารือความร่วมมือด้านวิชาการ วิจัย ร่วมกับ NCAC มองโกเลียคณบดีและผู้บริหารคณะ รับมอบทุนสนับสนุนจัดซื้อครุภัณฑ์สำหรับอาคารหัวลำโพง จากนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ รุ่น E37คณะจัดเสวนาวิชาการ i-Forum เรื่อง SMR นิวเคลียร์ขนาดเล็ก ดีจริงหรือ?คณะฯ จัด PQI 2025 : Workshop & Coaching & Training ในโครงการพัฒนาคุณภาพและผลิตภาพภายในองค์กร (Productivity Quality Improvement: PQI)คณะวิศวฯ จัดโครงการ พัฒนาศักยภาพการวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ประจำปี 2568ขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาควิชาวิศวกรรมเคมี พร้อมนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ ได้รับรางวัล STAR OF CAMP ในงาน Start Up Thailand Leage 2025คณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน ครบรอบ 22ปีคณะวิศวฯ นำถังหมักเศษอาหารแบบเติมอากาศ ร่วมแสดงและสาธิตการใช้งาน ในโครงการไม่เทรวมคณะวิศวฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ i-Connect เชื่อมโยงโลกด้วย AI และทักษะภาษาอังกฤษนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้รับรางวัลในโครงการสหกิจศึกษา ประจำปีการศึกษา 2568

อาจารย์วิศวฯ นำผลงานร่วมแสดงมหากรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2559

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2559 ไทยแลนด์รีเสิร์ช เอ็กซ์โป 2016 (Thailand Research Expo 2016) และการสัมมนาวิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน ครั้งที่ 5 ในหัวข้อ หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ไทย-จีนปัจจุบัน สู่อนาคต จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ รวมทั้งสถาบันการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ตลอดจนสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน ระหว่างวันที่ 17-21 สิงหาคม 2559 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ และบางกอกคอนเวนชัน เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชีนีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 และเพื่อเป็นการสร้างสรรค์แรงขับเคลื่อนนำองค์ความรู้ ผลผลิต เทคโนโลยีและนวัตกรรมการวิจัย ไปสู่การใช้ประโยชน์ ตอบโจทย์แก้ไขปัญหาของประเทศ ภายใต้แนวคิดวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

          ในโอกาสนี้ได้เสด็จทอดพระเนตรผลงานหุ่นยนต์ Bi-Robot Touch ซึ่งเป็นระบบการควบคุมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการแพทย์และอุตสาหกรรม ผลงานของอาจารย์ ดร.เชาวลิต มิตรสันติสุข ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทรงใช้งานระบบดังกล่าว โดยได้ทรงวาดตัวอักษร RUN หมายถึง เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network: RUN) หลังจากนั้น หุ่นยนต์ได้วาดตามคำสั่งค่าตำแหน่งและแรงสัมผัสพู่กันที่ได้ทรงวาดไว้ ทั้งหมด 7 ฉบับ เพื่อส่งไปยังมหาวิทยาลัยในเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อไป

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่