ENG KU NEWS

วันเสาร์ที่ 04 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
นิสิตวิศวฯ เครื่องกล-วิศวฯ วัสดุ คว้ารางวัลชนะเลิศ แผนรณรงค์ สร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในสถานศึกษา Toyota Campus Challenge 2023วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานคณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 88 ปีอาจารย์คณะวิศวฯ-คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานในการประชุม Sino-Thai Symposium on Energy and New Materialsผู้บริหาร-อาจารย์คณะ หารือความร่วมมือด้านวิจัย-วิชาการ กับ Tamkang University, Taiwanผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ National Tsing Hua University (NTHU) ไต้หวันผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ Tunghai University ไต้หวันร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ MCUT ไต้หวัน  ผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ ร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการกับผู้บริหาร Yuan Ze University, Taiwanอาจารย์คณะได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น (ศ.11)

Hope Suit นวัตกรรมใหม่แห่งความปลอดภัยในท้องทะเล

ทีมนิสิตวิศวกรรมเครื่องกล คิดนวัตกรรมใหม่เพื่อช่วยชีวิตเมื่อต้องตกอยู่ในภาวะคับขันในท้องทะเลหรือมหาสมุทร คือ Hope Suit หรือเสื้อชูชีพอัจฉริยะ นอกจากจะช่วยให้ผู้ใช้งานไม่จมน้ำแล้วยังช่วยให้ปลอดภัยจากสัตว์น้ำในทะเล รวมถึงการผลิตน้ำดื่มเพื่อยังชีพและส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือจากหน่วยกู้ภัยจากความอัจฉริยะของเสื้อชูชีพดังกล่าว ทำให้ได้รับรางวัลชนะเลิศในประเภทการออกแบบผลิตภัณฑ์และสิ่งอำนวยความสะดวกภายในอากาศยานเพื่อการพาณิชย์ จากการประกวดนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมการบิน ครั้งที่ 2  จัดโดยบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา
สมาชิกทีมประกอบด้วย นิสิตภาควิศวกรรมเครื่องกลชั้นปีที่ 1 คือ นายชินดนัย กชนิภาพงศ์ นายศุภกร ตัณฑรังษี และนายชัยวัฒน์ เจียรวรกุล ซึ่งทั้ง 3  คน ช่วยกันเล่าถึงผลงานที่ได้รับรางวัลครั้งนี้ว่า
“Hope Suit หรือเสื้อชูชีพอัจฉริยะ มาจากแนวคิดที่ว่าเมื่อต้องประสบกับอุบัติเหตุหรือเหตุภัยพิบัติ แล้วต้องตกอยู่ในท้องทะเลหรือมหาสมุทรและต้องลอยตัวอยู่ในน้ำ สิ่งแรกที่นึกถึงเพื่อเอาชีวิตรอด คือเสื้อชูชีพที่จะช่วยให้ลอยตัวอยู่เหนือผิวน้ำได้ในเบื้องต้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างรอหน่วยกู้ภัย คือ การเผชิญกับเหตุการณ์เสี่ยงอันตรายต่างๆ เช่น การขาดน้ำหรือการพบสัตว์ร้ายทางทะเล เป็นต้น จะแก้ปัญหาเหล่านั้นอย่างไร”

จากแนวคิดนำมาสู่การผลิต Hope Suit ต้นแบบ มีแนวคิดหน้าที่หลัก 4 อย่าง คือ การผลิตน้ำดื่ม สามารถส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือได้ ป้องกันสัตว์ร้ายในทะเล รวมทั้งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากกระแสน้ำทะเล ซึ่งการผลิตน้ำดื่ม Hope Suit จะมีแผ่นกรองกราฟีน (Graphene) เป็นแผ่นกรองที่มีช่องขนาดเท่าโมเลกุลของน้ำ ซึ่งน้ำที่ผ่านการกรองจากแผ่นกราฟีนจะมีความสะอาดที่สามารถดื่มได้ทันที  การส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ Hope Suit จะมีตัวส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือออกไปยังหน่วยกู้ภัยในคลื่นความถี่ระดับต่างๆ พร้อมสัญญาณไฟแสดงตำแหน่งเพื่อให้สังเกตเห็นได้ง่าย การป้องกันสัตว์ร้ายในทะเล ในที่นี้หมายถึงฉลาม โดยตัวเสื้อชูชีพอัจฉริยะ Hope Suit จะมีแผ่นโลหะที่คอยส่งกระแสไฟฟ้าแบบอ่อนเท่ากับถ่านไฟฉายซึ่งจะมีผลต่อฉลามแต่ปลอดภัยกับมนุษย์ เพราะฉลามมีความไวต่อกระแสไฟฟ้า เนื่องจากฉลามเป็นสัตว์น้ำที่มีอวัยวะตรวจจับกระแสไฟฟ้าจากเหยื่อ เมื่อฉลามได้รับกระแสไฟฟ้าแบบอ่อนจะทำให้เกิดความกลัวและหลบหนีไป การผลิตกระแสไฟฟ้าจากน้ำทะเลโดยใช้แผ่น Graphene Oxide Membranes กับแผ่นแมกนีเซียม โดยใช้น้ำทะเลเป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์ ในการผลิตกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้อุปกรณ์ส่วนใหญ่ที่ใช้ในการผลิตเสื้อชูชีพอัจฉริยะ Hope Suit สามารถนำมารีไซเคิล (Recycle) และนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง (Reuse) เช่น แผ่นกรองและอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้า เป็นต้น

เสื้อชูชีพอัจฉริยะ Hope Suit นับเป็นอุปกรณ์ต้นแบบที่สามารถช่วยชีวิตผู้ประสบอุบัติเหตุทางน้ำได้ในเบื้องต้นก่อนที่เจ้าหน้าที่จะมาช่วยเหลือต่อไป จากแนวคิดที่เป็นประโยชน์เช่นนี้ ทำให้ผลงาน Hope Suit ได้รับรางวัลชนะเลิศที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จัดขึ้น และสมาชิกทีมทั้ง 3 ได้รับรางวัลให้เดินทางไปชมบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของโลก ณ สาธารณรัฐฝรั่งเศส ในช่วงปลายปี 2559 นี้ อีกด้วย…

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่