ENG KU NEWS

วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
คณะวิศวฯ มก. – คณะวิศวฯ มกธ. ลงนามร่วมมือทางวิชาการม.เกษตรฯ และ วว. จับมือร่วมวิจัยพัฒนานวัตกรรมยานยนต์พลังงานสะอาดขับเคลื่อนไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืนคณะวิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์-เทศบาลเขตรอุดมศักดิ์ ลงนามความร่วมมือจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนแบบบูรณาการผู้บริหาร-บุคลากรคณะวิศวฯ ร่วมในพิธีเปิด โครงการสร้างสังคม Strong รุ่นที่ 1คณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดงาน Open House: KU Engineering Sparksคณะวิศวฯ ต้อนรับคณะเยี่ยมชมศึกษาดูงาน ด้านประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กรคณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดการประชุมบุคลากร ครั้งที่ 1/2568คณะวิศวฯ จัดอบรมเปิดแผนที่ทุนวิจัยนวัตกรรม: เตรียมพร้อมปั้นแนวคิดสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์คณะวิศวฯ จัดประชุมเครือข่ายหัวหน้าสำนักงานเลขานุการ 9 ส่วนงานคณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนากรมชลประทาน ครบรอบ 123 ปี

โครงการต้นแบบการพัฒนาเกษตรกรชาวนาผู้ผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ฯ

23 พฤศจิกายน 2562 อ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า หัวหน้าโครงการวิจัยฯ เป็นวิทยากรเปิดโลกทัศน์ ให้แก่ทีมน้องๆ จากวิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์ ว่าที่ “หน่วยบริการนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร” และทีมพี่เลี้ยงจาก มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ พร้อมแกนนำเกษตรกร ที่เดินทางมาเข้าค่ายปฐมนิเทศที่ศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมนิสิต มก. ในชุดโครงการวิจัย TRP2 (สกสว.) และในช่วงบ่ายได้นำน้องๆ สู่สนามจริง นาแปลงใหญ่เขตหนองจอก…รู้จักและฝึกหัดขับ I-KIAM KU

โครงการ “ต้นแบบการพัฒนาเกษตรกรชาวนาผู้ผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยระบบพี่เลี้ยงของหน่วยบริการเทคโนโลยีและนวัตกรรม : กลุ่มเกษตรกรที่ผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดสุรินทร์” ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก “สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และ นวัตกรรม (สกสว.) ฝ่ายเกษตร”  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีจากงานวิจัยต้นแบบสู่เกษตรกร ผ่านตัวกลางคือ สถาบันอาชีวศึกษาในท้องถิ่น โดยมีมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเป็นพี่เลี้ยงในพื้นที่ นำนักศึกษาอาชีวศึกษามาร่วมกันทำ Start up จัดตั้งเป็นหน่วยบริการนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร ฝึกภาคปฏิบัติด้านการผลิตและการซ่อมบำรุงในพื้นที่ และให้บริการเป็นธุรกิจในรูปแบบ Service Provider ให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง ด้วยวิธีแบบนี้ เกษตรกรก็ไม่จำเป็นต้องลงทุนสูง แต่ใช้วิธีเรียกใช้บริการจากหน่วยบริการนี้ ซึ่งก็คือบุตรหลานในพื้นที่นั่นเอง (ถือว่าบุตรหลานในพื้นที่เป็น Young Smart Farmer ที่มีศักยภาพสูงทางเทคโนโลยีแบบครบวงจร)

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่