ENG KU NEWS

วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
คณะวิศวฯ – สอวช. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ Foresight Workshop ครั้งที่ 5คณะวิศวฯ ร่วมเฝ้ารับเสด็จฯ และถวายการปลูกต้นไม้นิสิตคณะวิศวฯ คว้ารองแชมป์ การแข่งขันหุ่นยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก World RoboCup 2024 ประเภทหุ่นยนต์ใช้งานภายในบ้าน @Home SSPLวิศวะ ม.เกษตรฯ เปิดบ้านในงาน “KU ENGINEERING OPEN HOUSE”คณะวิศวฯ – NCKU ไต้หวัน ร่วมจัดประชุมวิชาการนานาชาติ 25th Conference of Asia Pacific Management Conferenceคณะวิศวฯ ร่วมพิธีลงนาม อนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัยอาจารย์คณะสมาคมนิสิตเก่าวิศวฯ มก. – คณะวิศวฯ จัดโครงการ KAMP4 Open House เปิดโอกาสให้นิสิตปัจจุบัน พบปะ ฟังวิสัยทัศน์จากรุ่นพี่-นิสิตเก่าที่ประสบความสำเร็จคณบดีนำนิสิตได้รับรางวัล เข้าพบอธิการบดีนิสิตเก่าวิศวฯ มก.- วิศวกรหญิง ได้รับรางวัลวิศวกรหญิงดีเด่น ปี 2567 ในงานวันวิศวกรหญิงสากลนิสิตวิศวฯ เครื่องกล คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 การแข่งขันนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ

คณะวิศวฯ มก. – คณะแพทย์ มก. – คณะแพทย์ มศว. – มทร.ธัญบุรี ร่วมพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ป้องกันการเลื่อนหลุดสำหรับผู้ป่วยเด็กที่ได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำ

คณะวิศวฯ มก. – คณะแพทย์ มก. – คณะแพทย์ มศว. – มทร.ธัญบุรี

ร่วมพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ป้องกันการเลื่อนหลุดสำหรับผู้ป่วยเด็กที่ได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำ

ใช้งานจริง ณ ศูนย์การแพทย์ฯ มศว.

                       คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) โดยภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) พัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ป้องกันการเลื่อนหลุดสำหรับผู้ป่วยเด็กที่ได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำ ซึ่งได้ทดลองใช้งานจริง ณ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และได้รับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ทั้งความสะดวกในการใช้งาน ประสิทธิภาพการใช้งานในการป้องกันการเลื่อนหลุดของเข็มและสายน้ำเกลือ และป้องกันการดูดซับของเหลว

เมื่อผู้ป่วยเด็กเข้ารับการรักษาและได้รับการทำหัตถการวิธีต่างๆ ซึ่งหัตถการที่พบได้บ่อยในการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็ก คือ การแทงเส้นเลือดดำเพื่อเก็บเลือดส่งตรวจหรือให้สารน้ำทางหลอดเลือด (Intravenous, IV) เมื่อมีการทำหัตถการด้วยการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำหรือให้ยาปฏิชีวนะโดยการให้สารละลายผ่านทางหลอดเลือดดำ (Intravenous infusion, IVF) หรือการใส่อุปกรณ์ขนาดเล็กคาไว้ที่หลอดเลือดดำ (Heparin lock, HL) ซึ่งตำแหน่งที่แทงเข็มส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริเวณที่มีการขยับเคลื่อนไหวเช่นบริเวณแขนหรือขา ทำให้มักพบปัญหาคือสายน้ำเกลือหรือ Heparin lock บริเวณที่คาไว้เกิดการเลื่อนหลุด นอกจากนี้ผู้ป่วยเด็กไม่สามารถดูแลอุปกรณ์ให้น้ำเกลือได้เองและมีความซุกซนอยากรู้อยากเห็น รวมทั้งอุปกรณ์ผูกยึดเดิมมีขนาดที่ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยเด็กในทุกช่วงวัย ซึ่งการเลื่อนหลุดของเข็มที่แทงจะส่งผลทำให้ผู้ป่วยเด็กต้องเจ็บหลายครั้งจากการแทงเส้นให้น้ำเกลือใหม่ ส่งผลต่อร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยเด็กรวมถึงส่งผลต่อการบริการพยาบาลโดยตรง

ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) คิดค้น พัฒนาอุปกรณ์ป้องกันการเลื่อนหลุดสำหรับผู้ป่วยเด็กที่ได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำ โดยการดำเนินโครงการดังกล่าว มีรองศาสตราจารย์ ดร.อภิรัตน์ เลาห์บุตรี ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มก. เป็นหัวหน้าโครงการ

รองศาสตราจารย์ ดร.อภิรัตน์ กล่าวว่า “การออกแบบอุปกรณ์ป้องกันการเลื่อนหลุด ทีมผู้วิจัยได้ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้อุปกรณ์ป้องกันการเลื่อนหลุดสำหรับผู้ป่วยเด็กที่ได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำที่หออภิบาลผู้ป่วยเด็กวิกฤต (Pediatric intensive care unit, PICU) หอผู้ป่วยเด็กสามัญและเด็กพิเศษ ที่เข้ารับการรักษาในศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

จากเดิมศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้ใช้อุปกรณ์ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นเองโดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายภายในโรงพยาบาล ด้วยการใช้ผ้ามาตัดเย็บเป็นซองแล้วใช้ตีนตุ๊กแกเป็นตัวยึดติดเข้าด้วยกันและเพิ่มความแข็งแรงด้วยฟิวเจอร์บอร์ด แต่การใช้อุปกรณ์ดังกล่าวยังพบปัญหาจากการใช้งาน เช่น อุปกรณ์มีขนาดที่ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยเด็กในทุกช่วงวัย ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ การทำความสะอาดหรือการนำมาใช้ซ้ำ และอายุการใช้งาน รวมทั้งอุปกรณ์ผูกยึดดังกล่าวเป็นที่ต้องการจำนวนมาก ดังนั้นถ้าหากพัฒนาอุปกรณ์ผูกยึดให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่โดยการทำความสะอาด หรือยืดอายุการใช้งานซึ่งยังคงปราศจากเชื้อโรคต่างๆ ได้ จะช่วยลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจากการใช้แล้วทิ้ง รวมทั้งแบ่งเบาภาระของบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องจัดทำอุปกรณ์ผูกยึดขึ้นเอง

จากปัญหาดังกล่าว ทีมผู้วิจัยได้นำมาออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ป้องกันการเลื่อนหลุดสำหรับผู้ป่วยเด็กที่ได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำ โดยคำนึงถึงผู้ป่วยเด็กที่ต้องใช้งานและการแบ่งเบาภาระของบุคลากรทางการแพทย์เป็นหลัก อีกทั้งต้องให้ความสำคัญกับการเลือกสรรอุปกรณ์ คือ การเลือกชนิดของผ้าฝ้าย 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นเนื้อผ้าที่เบาบาง สวมใส่สบาย และระบายอากาศได้ดี และมีผิวสัมผัสที่เหมาะสมกับเด็ก ตลอดจนการพัฒนาวัสดุผ้าภายนอกไม่ให้ผ้าดูดซับของเหลวหรือมีสมบัติของการสะท้อนน้ำ และทำให้มีสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรียเพื่อป้องกันการสะสมของแบคทีเรียจากสารคัดหลั่ง

นอกจากนี้ ทีมผู้พัฒนายังได้ให้ความสำคัญกับการตัดเย็บที่มีประสิทธิภาพ การเลือกสีสันของผ้าฝ้ายที่สวยงาม น่าใช้งาน สำหรับวัสดุภายในอุปกรณ์ผูกยึดป้องกันการเลื่อนหลุดได้เปลี่ยนจากวัสดุเดิมที่เป็นกระดาษแข็งหรือฟิวเจอร์บอร์ด เป็นแผ่นโฟมยาง เพื่อให้มีความนิ่มและปลอดภัยเมื่อสัมผัสกับผิวของผู้ป่วยเด็กและทารก และเมื่อนำไปใช้งานกับผู้ป่วยเด็กจะได้ไม่เกิดการกดทับจากแผ่นของแข็ง นอกจากนี้แผ่นโฟมยางยังมีสมบัติที่ไม่ดูดหรืออุ้มน้ำและได้รับการห่อหุ้มจากผ้าที่ได้ผ่านการชุบให้มีสมบัติการสะท้อนน้ำและสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย ส่งผลให้เมื่ออุปกรณ์เปื้อนสารคัดหลั่งหรือสกปรกจากงานใช้งาน จะสามารถทำความสะอาดได้ทั้งชุด ทำความสะอาดได้ง่ายและแห้งเร็ว ไม่ต้องถอดแผ่นโฟมยางออก นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ลดภาระการทำอุปกรณ์ใหม่ของบุคลากรทางการแพทย์”

    ไซศ์ S

    ไซส์ M

   ไซส์ L

  ไซส์ XL

ขนาดของอุปกรณ์ป้องกันการเลื่อนหลุดที่ทีมวิจัยได้พัฒนาขึ้น มี 4 ขนาด แบ่งเป็น ขนาด S M L และ XL ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กผู้ใช้งานตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงเด็กโต ความหนาของแผ่นรองด้านใน มีขนาด 0.8-1.0 เซนติเมตร ซึ่งเป็นแผ่นโฟมยางชนิด Ethylene vinyl acetate (EVA) การตัดเย็บแผ่นโฟมยางจะถูกห่อหุ้มด้วยผ้าที่ผ่านการพัฒนาการสะท้อนน้ำและต้านเชื้อแบคทีเรีย สายรัดมีขนาด กว้าง 2.54 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร

ผลจากการใช้งานจริงกับผู้ป่วยเด็กและพยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กในศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้รับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ทั้งความสะดวกในการใช้งาน ประสิทธิภาพการใช้งานในการป้องกันการเลื่อนหลุดของเข็มและสายน้ำเกลือ และป้องกันการดูดซับของเหลว

ทีมผู้วิจัย ประกอบด้วย

รองศาสตราจารย์ ดร.อภิรัตน์ เลาห์บุตรี ดร.นลพรรณ นุชสุวรรณ และว่าที่ร้อยตรีกันต์กวี สุขถาวร ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มก.

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์โอฬาร พรหมาลิขิต คณะแพทยศาสตร์ มก.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรชัย วีระนิติสกุล ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี

และนางสาวกัลยาณี ธูปแก้ว หัวหน้างานการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตเด็กโต (PICU) ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คณะแพทยศาสตร์ มศว.

 

*****************************************************************************************************************

 

 

 

 

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่