ENG KU NEWS

วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
คณะวิศวฯ – สอวช. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ Foresight Workshop ครั้งที่ 5คณะวิศวฯ ร่วมเฝ้ารับเสด็จฯ และถวายการปลูกต้นไม้นิสิตคณะวิศวฯ คว้ารองแชมป์ การแข่งขันหุ่นยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก World RoboCup 2024 ประเภทหุ่นยนต์ใช้งานภายในบ้าน @Home SSPLวิศวะ ม.เกษตรฯ เปิดบ้านในงาน “KU ENGINEERING OPEN HOUSE”คณะวิศวฯ – NCKU ไต้หวัน ร่วมจัดประชุมวิชาการนานาชาติ 25th Conference of Asia Pacific Management Conferenceคณะวิศวฯ ร่วมพิธีลงนาม อนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัยอาจารย์คณะสมาคมนิสิตเก่าวิศวฯ มก. – คณะวิศวฯ จัดโครงการ KAMP4 Open House เปิดโอกาสให้นิสิตปัจจุบัน พบปะ ฟังวิสัยทัศน์จากรุ่นพี่-นิสิตเก่าที่ประสบความสำเร็จคณบดีนำนิสิตได้รับรางวัล เข้าพบอธิการบดีนิสิตเก่าวิศวฯ มก.- วิศวกรหญิง ได้รับรางวัลวิศวกรหญิงดีเด่น ปี 2567 ในงานวันวิศวกรหญิงสากลนิสิตวิศวฯ เครื่องกล คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 การแข่งขันนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ

นิสิตวิศวฯ ทีม  Olo Plus คว้ารางวัลรองชนะเลิศ Delta Cup ครั้งที่ 8

นิสิตวิศวฯ ทีม  Olo Plus

คว้ารางวัลรองชนะเลิศ Delta Cup ครั้งที่ 8

            นิสิตภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ทีม Olo Plus นำผลงาน Re-electric Warehouse ระบบแปลงพลังงานการสั่นสะเทือนของเครื่องจักรอุตสาหกรรมผ่านแผ่นเพียโซอิเล็กทริกเป็นพลังงานไฟฟ้า จากนั้นพลังงานไฟฟ้าจะถูกส่งไปยังระบบ PLC และสายพานลำเลียงเพื่อขนส่งสินค้าไปยังคลังสินค้าต่อไป คว้ารางวัลรองชนะเลิศ ในการแข่งขันออนไลน์ Delta International Smart & Green Manufacturing Contest หรือ เดลต้า คัพ (Delta Cup) ครั้งที่ 8 จัดโดยบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระหว่างวันที่ 6-7 สิงหาคม 2565

โดยโครงงานทดลอง Re-electric Warehouse ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ระบบอัตโนมัติของเดลต้า ดังต่อไปนี้:

  • อุปกรณ์ควบคุมระบบ (PLC) PLC-AS218RX-A
  • หน้าจอสัมผัสรับ-ส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้กับเครื่องจักร (HMI) DIAVH-PPCXXXA
  • มิเตอร์วัดพลังงานไฟฟ้า
  • สวิตช์อีเธอร์เน็ตอุตสาหกรรม DVS-008W01 3 ตัว
  • ตัวแปลงเครือข่ายอุตสาหกรรม IFD9506 1 ตัว
  • พาวเวอร์ซัพพลาย 24vdc 1 ตัว
  • โฟโต้อิเล็กทริกเซนเซอร์ 4 ตัว

การแข่งขันครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อการแข่งขัน คือ การเฟ้นหาผู้มีความสามารถด้านเทคโนโลยีการผลิตคาร์บอนต่ำ เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษามีโอกาสได้ทดลองและพัฒนานวัตกรรมด้านระบบอัตโนมัติ โซลูชันการผลิตอัจฉริยะและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

สมาชิกทีม Olo Plus ประกอบด้วย

  • นิสิตหลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ได้แก่ นายอินทรัช นพรัตน์สุวรรณ  หัวหน้าทีม
  • นิสิตหลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต ได้แก่ นายธนบูรณ์ เศษสมบูรณ์ นางสาวภควดี จาดเกิด               นางสาวอคิราภ์ ชวาลารัตน์ นายพีรวิชญ์ จิรไกรโกศล นายกิตติพศ แสงแก้ว และนายณัฐภูริชกร จงสุขพิพัฒน์

โดยมี ผศ.ดร.วรพงษ์ สว่างศรี ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาทีม

ทีม Olo Plus เป็น 1 ใน 3 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกและเข้ารอบ เป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมแข่งขันในระดับนานาชาติ ซึ่งมีจำนวนกว่า 100 ทีมจากทั่วโลก โดยรูปแบบการแข่งขัน ในปีนี้เป็นการนำเสนอโครงงานผ่านระบบออนไลน์ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19

 

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่