ENG KU NEWS

วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
คณะวิศวฯ มก. จับมือหน่วยงานชั้นนำด้านระบบราง สทร. – ESTACA และ EGIS ฝรั่งเศส ใช้เทคโนโลยี AI พัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศคณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดงาน ดงตาลผูกพัน สายสัมพันธ์วันเกษียณ 2566[นิสิตวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คว้ารางวัลชนะเลิศ และรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม การแข่งขัน Innovation Robotic AI&IoT Contest 2023 (iRAIC)]สมาคมนิสิตเก่าวิศวฯ มก. – คณะวิศวฯ จัดพิธีปิดโครงการ KAMP Engineering รุ่นที่ 3อาจารย์คณะร่วมเป็นกรรมการตัดสินการประกวดนวัตกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมระดับประเทศคณะวิศวฯ จับมือ ปตท. ร่วมมือทางวิชาการคณะวิศวฯ จัดประกวดโครงการ PQI ประเภทที่ 2 Output/Outcome Oriented Focusคณะวิศวฯ รับมอบทุนการศึกษานิสิต จากมูลนิธิมิตซูบิชิ อิเล็คทริคไทยคณะวิศวฯ – สอวช. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ Foresight Workshop ครั้งที่ 2นิสิตวิศวฯ ไฟฟ้า โครงการ IUP คว้ารางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 การแข่งขัน YouThful Issue Competition

อาจารย์และนิสิตคณะวิศวฯ ทีม CiiBA คว้ารางวัลที่ 3 ของโลก IMAV 2022 การแข่งขันอากาศยานไร้คนขับด้านการเกษตรในโรงเรือน

อาจารย์และนิสิตคณะวิศวฯ ทีม CiiBA คว้ารางวัลที่ 3 ของโลก IMAV 2022

การแข่งขันอากาศยานไร้คนขับด้านการเกษตรในโรงเรือน

            ทีมอาจารย์และนิสิตจากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในชื่อทีม CiiBA สร้างชื่อให้ประเทศไทยด้วยการคว้ารางวัลที่ 3 ของโลกมาครอง จากการเข้าร่วมแข่งขันอากาศยานไร้คนขับด้านการเกษตรในโรงเรือน ระดับนานาชาติ International Micro Air Vehicle Conference and Competition 2022  หรือ IMAV 2022 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12- 16 กันยายน 2565 ณ เมืองเดลฟท์ ประเทศเนเธอร์แลนด์

การแข่งขัน IMAV 2022 เป็นการแข่งขันหุ่นยนต์บินอัตโนมัติที่ใหญ่ที่สุดในโลก จัดขึ้นเป็นปีที่ 13  มี 25 ทีมจากมหาวิทยาลัยและบริษัทเอกชนจาก 11 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมการแข่งขัน  เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ สเปน  เยอรมนี บราซิล อังกฤษ ไทย เป็นต้น โดยในการแข่งขัน แต่ละทีมจะต้องสร้างสร้างหุ่นยนต์บินอัตโนมัติ หรือโดรน  เพื่อทำภารกิจต่าง ๆ

สำหรับทีม CiiBa เป็นทีมที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมการแข่งขันทีมเดียวจากประเทศไทย โดยทีม CiiBa ได้เข้าร่วมการแข่งขันประเภท Greenhouse Challenge ซึ่งเป็นการแข่งขันหุ่นยนต์บินอัตโนมัติ สำหรับใช้งานเพื่อสำรวจและตรวจสอบผลมะเขือเทศในโรงเรือนกระจก โดยหุ่นยนต์บินจะต้องขึ้นบินสำรวจ มะเขือเทศ ตรวจสอบ ความผิดปกติ เช่น แมลง และ โรคพืชชนิดต่าง ๆ แบบอัตโนมัติผ่านระบบปัญญาประดิษฐ์ รวมทั้งยังต้องเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน ทั้งอุณหภูมิ ความชื้น คาร์บอนไดออกไซด์ ตามจุดต่าง ๆ ภายในโรงเรือนอีกด้วย      โดยจากการแข่งขันในครั้งนี้ ทีม CiiBa ทำคะแนนรวมได้เป็นอันดับที่ 3 และยังเป็นทีมจากมหาวิทยาลัยที่มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมเวิร์กที่ดีที่สุดในการแข่งขัน

สมาชิกทีม CiiBa ประกอบด้วย นิสิตระดับปริญญาตรี-เอก ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ได้แก่ นายณัฐชนน นนทพิบูลย์ (ป.ตรี) นายกันต์ ยาใจ และนายสิทธิพร ตันติบริรักษ์ (ป.โท) และนายนภณัฏฐ์ ทองตัน (ป.เอก)  นิสิตระดับปริญญาตรีภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ ได้แก่ นางสาวจารวี พรมนารี นายกิตติภณ ฝ่ายเดช นางสาวรุจิพา ชยุตาพงศ์ นายปิติพล เกื้อกูล นายสิรินทร์ เกตุรวม นายภคพล ชัยวงศ์นาถ นายรัฐนันท์ ลาภสุขสถิต นางสาวสโรชา  เจตะวัฒนะ นายวรนภ ใหลตระกูล โดย มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนพันธุ์ สุขวิชชัย ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชินภัทร ทิพโยภาส ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาทีม

(ที่มา: ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า)

 

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่