ENG KU NEWS

วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
คณะวิศวฯ มก. จับมือหน่วยงานชั้นนำด้านระบบราง สทร. – ESTACA และ EGIS ฝรั่งเศส ใช้เทคโนโลยี AI พัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศคณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดงาน ดงตาลผูกพัน สายสัมพันธ์วันเกษียณ 2566[นิสิตวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คว้ารางวัลชนะเลิศ และรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม การแข่งขัน Innovation Robotic AI&IoT Contest 2023 (iRAIC)]สมาคมนิสิตเก่าวิศวฯ มก. – คณะวิศวฯ จัดพิธีปิดโครงการ KAMP Engineering รุ่นที่ 3อาจารย์คณะร่วมเป็นกรรมการตัดสินการประกวดนวัตกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมระดับประเทศคณะวิศวฯ จับมือ ปตท. ร่วมมือทางวิชาการคณะวิศวฯ จัดประกวดโครงการ PQI ประเภทที่ 2 Output/Outcome Oriented Focusคณะวิศวฯ รับมอบทุนการศึกษานิสิต จากมูลนิธิมิตซูบิชิ อิเล็คทริคไทยคณะวิศวฯ – สอวช. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ Foresight Workshop ครั้งที่ 2นิสิตวิศวฯ ไฟฟ้า โครงการ IUP คว้ารางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 การแข่งขัน YouThful Issue Competition

นิสิตวิศวฯ คอมพิวเตอร์ คว้ารางวัลชนะเลิศ Thailand Cyber Top Students 2021

นิสิตวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ทีม IDK IDK IDK ได้รับรางวัลชนะเลิศ จากการเข้าแข่งขันในรูปแบบออนไลน์ ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย Thailand Cyber Top Students 2021 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 โดยสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พร้อมเป็นตัวแทนประเทศไทยร่วมกับอีก 9 ทีม เข้าร่วมแข่งขันในรายการ “THE 3rd ASEAN STUDENTS CONTEST ON INFORMATION SECURITY in 2021” ที่จะจัดขึ้น ณ  ประเทศเวียดนาม

สมาชิกทีม IDK IDK IDK ประกอบด้วย นายพิชวัชร ลัคนาธิติ (ปี 4)  นายอิทธิกร  ปุญสิริ (ปี 4) นายธนกฤต เมฆอ่อน (ปี 3) และนายธนพลธรณ์ เด่นสิริเดชา (ปี 2) โดยมี ผศ.ดร.ภารุจ รัตนวรพันธุ์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

พิชวัชร หัวหน้าทีม เล่าว่า “รูปแบบการแข่งขันเป็นการแข่ง Capture the Flag  ในรูปแบบ Jeopardy  มีผู้เข้าแข่งขันทั้งสิ้น 35 ทีม จาก 14 สถาบันอุดมศึกษา โดยแต่ละทีมจะมีสมาชิกไม่เกิน 4 คน โดยผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกโจทย์ในหัวข้อใดทำก่อนก็ได้ คะแนนของโจทย์แต่ละหัวข้อจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระดับความยากง่ายของโจทย์

เมื่อเริ่มการแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะเห็นโจทย์ทั้งหมดที่มี ที่จะแบ่งเป็น    5 ประเภท ได้แก่ Pwnable, Reverse Engineering, Web, Network/Forensic, และ Crypto/ACM โดยในแต่ละประเภทก็จะมีความยาก วิธีและเทคนิคในการหาคำตอบที่ต่างกันออกไป

หน้าที่ของผู้เข้าแข่งขันคือพยายามหาช่องโหว่ในโปรแกรม/ระบบที่กำหนด เมื่อพบช่องโหว่จะมีข้อความลับ (flag) ปรากฎ ซึ่งจะต้องนำกลับมาตอบในระบบการแข่งขัน หากถูกต้อง  จะได้รับคะแนนในข้อนั้น และหากตอบถูกเป็นทีมแรก ก็จะได้คะแนนมากกว่าทีมที่ตอบทีหลัง”

สมาชิกทีมคนอื่นๆ ช่วยเสริมต่อ ว่า “โจทย์ในการแข่งขันครั้งนี้ค่อนข้างท้าทายและแปลกใหม่เนื่องจากผู้ออกโจทย์เอง  เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Cybersecurity ชั้นนำหลายบริษัท  ในประเทศไทย ได้เลือกที่จะออกโจทย์ให้มีความทันสมัยเท่ากับ Software ที่ใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบัน

พื้นฐานของสมาชิกทีมเองทุกคนล้วนเป็นคนช่างสงสัยและมีความเป็นนักสำรวจอยู่ในตัว ทำให้โดยปกติแล้วก็จะเข้าไปฝึกฝนโจทย์ในเว็บไซต์ที่รวบรวมโจทย์ในแต่ละแนวเอาไว้  เช่น picoCTF หรือ Hack The Box ทำให้ทราบว่าโจทย์ในแต่ละประเภทจะต้องใช้เครื่องมือหรือต้องใช้วิธีการใดในการแก้โจทย์ครับ

อีกความท้าทายหนึ่งของการแข่งขันในครั้งนี้คือเป็นการแข่งขันออนไลน์ยาว 8 ชั่วโมง 9:00-17:00 น. ทำให้ผู้เข้าแข่งขันทุกคนต้องเปิดกล้องแชร์ภาพหน้าจอในระบบ Discord ของผู้จัดงานเพื่อความโปร่งใสในการทำโจทย์ สำหรับ Gen Z แล้วนี่อาจจะเป็นเรื่องที่ทำให้รู้สึกอึดอัดบ้างเล็กน้อย แต่ว่าเมื่อเข้าใจถึงที่มาที่ไปว่าทำเพื่อป้องกันการทุจริตก็ทำให้ทุกคนยินดีที่จะปฏิบัติตามครับ

สำหรับการเตรียมตัวในการแข่งขันที่เวียดนามที่กำลังจะถึงนี้ ทีมเราคิดว่าระหว่างนี้ต้องฝึกฝนทำโจทย์ในลักษณะใหม่ ๆ ให้มากขึ้น เพราะในรอบคัดเลือกตัวแทนประเทศเองเ ราก็ได้เห็นแล้วว่าปัจจุบันเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ก็ได้พัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ อันที่จริงเราก็รู้สึกกดดัน  มากกว่าเดิม ด้วยเวลาที่มีจำกัด และต้องฝึกฝนเรียนรู้ไปด้วย ในขณะที่สมาชิกทุกคนก็ยังมีหน้าที่การเรียนของตัวเองตามปกติ

สุดท้ายไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร เราจะพยายามทำให้เต็มความสามารถของเราทุกคนครับ ช่วยกันส่งแรงใจให้เราและทีมชาติไทยไซเบอร์ทั้ง 10 ทีมนำชัยชนะกลับมาด้วยนะครับ” สมาชิกทีมกล่าวทิ้งท้าย…..

 

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่