ENG KU NEWS

วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ ต้อนรับนักศึกษาจาก TU Delft เนเธอร์แลนด์ ร่วมโครงการ Multidisplinary Project (รุ่นที่ 7)คณะวิศวฯ ต้อนรับ คณะครู-นักเรียนจากโรงเรียนหอวัง ปทุมธานี รับฟังข้อมูลหลักสูตร – เยี่ยมชมภาควิชาคณะวิศวฯ รับมอบห้องปฏิบัติการวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์กำลังไฟฟ้าจาก Delta ใช้ในการเรียนการสอนสำหรับนิสิตคณะคณะวิศวฯ ต้อนรับผู้บริหารมูลนิธิมิตซูบิชิ อิเล็คทริคไทย มอบทุนการศึกษาแก่นิสิตคณะอาจารย์วิศวฯ การบินและอวกาศ ได้รับรางวัล Best Paper ในงาน SAWAE2024คณะวิศวฯ จัดเสวนา “วิกฤตน้ำท่วม ปัญหา และการแก้ไขอย่างยั่งยืน”คณะวิศวฯ ร่วมงาน สืบสาน วันสืบ นาคะเสถียรศูนย์วิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม บางเขน คณะวิศวฯ – เทศบาลเมืองคูคต นำผลงานถังหมักเศษอาหาร กึ่งอัตโนมัติแบบเติมอากาศ ตัวช่วยชุมชนเดชเจริญ เพื่อลดขยะให้เป็นศูนย์ ร่วมแสดงในงาน RUN towards IMPACTนิสิตวิศวกรรมวัสดุ กวาด 4 รางวัล การประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2567คณะวิศวฯ ม.เกษตร – จุฬา – ม. KOREA ร่วมจัดงานสัมมนาระดับนานาชาติ ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี

นิสิตภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คว้ารางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 Delta Cup ครั้งที่ 7

นิสิตภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ทีม Maew Maew Sweety นำผลงานโครงงานระบบบริการจัดส่งอัตโนมัติเพื่อรักษาระยะห่างทางสังคมระหว่างร้านอาหารและลูกค้าคว้ารางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ในการแข่งขันออนไลน์ Delta International Smart & Green Manufacturing Contest หรือ เดลต้า คัพ (Delta Cup) ครั้งที่ 7 จัดโดยบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-25 กรกฎาคม 2564

การแข่งขันครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อการแข่งขัน คือ การเฟ้นหาผู้มีความสามารถด้าน IIoT อัจฉริยะ (Seeking Smart IIoT Talents) และนำเสนอโครงงานใน 3 ด้าน ได้แก่ นวัตกรรมเครื่องจักร (Innovative Machines), โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) และ ชีวิตแห่งโลกอนาคตที่ดีกว่า (Better Future Living) เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาได้ทดลองและพัฒนานวัตกรรมด้านระบบอัตโนมัติ โซลูชันการผลิตอัจฉริยะ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทีม Maew Maew Sweety จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วยนิสิตสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิตและสาขาวิศวกรรมเครื่องกล ชั้นปีที่ 4  ได้แก่ นายยศกร จิรพงศานานุรักษ์ (หัวหน้าทีม) นายธนวัฒน์ วัฒนจัง และนายอินทรัช นพรัตน์สุวรรณ โดยมี ผศ.ดร.วรพงษ์ สว่างศรี ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้ผ่านการคัดเลือกและเข้ารอบเป็นตัวแทนระดับประเทศ (1 ใน 3 ทีม) ไปเข้าร่วมแข่งขันในระดับนานชาติซึ่งมีจำนวน 100 ทีมจากทั่วโลก โดยรูปแบบการแข่งขันในปีนี้เป็นการนำเสนอหุ่นยนต์ต้นแบบผ่านระบบออนไลน์ (เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19)

       

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ศูนย์วิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม บางเขน คณะวิศวฯ – เทศบาลเมืองคูคต นำผลงานถังหมักเศษอาหาร กึ่งอัตโนมัติแบบเติมอากาศ ตัวช่วยชุมชนเดชเจริญ เพื่อลดขยะให้เป็นศูนย์ ร่วมแสดงในงาน RUN towards IMPACT

อ่านต่อ »

ติดตามเราได้ที่