ENG KU NEWS

วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
คณะวิศวฯ – สอวช. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ Foresight Workshop ครั้งที่ 5คณะวิศวฯ ร่วมเฝ้ารับเสด็จฯ และถวายการปลูกต้นไม้นิสิตคณะวิศวฯ คว้ารองแชมป์ การแข่งขันหุ่นยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก World RoboCup 2024 ประเภทหุ่นยนต์ใช้งานภายในบ้าน @Home SSPLวิศวะ ม.เกษตรฯ เปิดบ้านในงาน “KU ENGINEERING OPEN HOUSE”คณะวิศวฯ – NCKU ไต้หวัน ร่วมจัดประชุมวิชาการนานาชาติ 25th Conference of Asia Pacific Management Conferenceคณะวิศวฯ ร่วมพิธีลงนาม อนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัยอาจารย์คณะสมาคมนิสิตเก่าวิศวฯ มก. – คณะวิศวฯ จัดโครงการ KAMP4 Open House เปิดโอกาสให้นิสิตปัจจุบัน พบปะ ฟังวิสัยทัศน์จากรุ่นพี่-นิสิตเก่าที่ประสบความสำเร็จคณบดีนำนิสิตได้รับรางวัล เข้าพบอธิการบดีนิสิตเก่าวิศวฯ มก.- วิศวกรหญิง ได้รับรางวัลวิศวกรหญิงดีเด่น ปี 2567 ในงานวันวิศวกรหญิงสากลนิสิตวิศวฯ เครื่องกล คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 การแข่งขันนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ

คณะวิศวฯ – สมาคมนิสิตเก่าวิศวฯ มก. มอบตู้ความดันบวกให้แก่ รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า

คณะวิศวฯ – สมาคมนิสิตเก่าวิศวฯ มก. มอบตู้ความดันบวกให้แก่ รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า

รองศาสตราจารย์ พีรยุทธ์ ชาญเศรษฐิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ร่วมส่งมอบตู้ความดันบวกให้แก่โรงพยาบาลสมเด็จ        พระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ โดยมีนาวาเอกหญิงปิติยา ปิยะนุช รองผู้อำนวยการโรงพยาบาล เป็นผู้รับมอบ ในพิธีที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 โดยมีผู้บริหารของทั้งสองหน่วยงานร่วมในพิธี

          ตู้ความดันบวกดังกล่าว ออกแบบและพัฒนาโดยทีมอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวฯ มก.  นำโดย ผศ.ดร.ประพจน์ ขุนทอง หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล รศ.ดร.วีรชัย ชัยวรพฤกษ์ ผศ.ดร.เกรียงไกร         อัศวมาศบันลือ ผศ.ดร.อรรถพร วิเศษสินธุ์ และ ผศ.ดร.เจตวีย์ ภัครัชพันธุ์ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณการจัดสร้างตู้ความดันบวกส่วนหนึ่งจากสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ มก.

หลักการทำงานของตู้ความดันบวก คือ แพทย์ผู้ตรวจจะอยู่ภายในตู้ตรวจ และผู้ป่วยอยู่ภายนอก โดยแพทย์จะเข้า-ออกตู้ตรวจผ่านประตูกระจก เพิ่มความปลอดภัย มั่นใจทั้งผู้ใช้งานและผู้เข้ารับการตรวจ สามารถใช้ตรวจ   ผู้ป่วยได้ 20-30 คน/ชั่วโมง/ตู้

นอกจากนี้ ตู้ความดันบวกยังมีเครื่องปรับอากาศเพิ่มความสบายให้กับผู้ปฏิบัติงานภายในตู้ มีไมโครโฟนและลำโพงเพิ่มความชัดเจนในการสื่อสารระหว่างแพทย์ผู้ตรวจและผู้เข้ารับการตรวจที่อยู่ภายนอกตู้ตรวจ  รวมทั้งยังสามารถเปิดช่องให้ผู้ป่วยยื่นมือเข้าไปในตู้เพื่อทำการเจาะเลือดได้อีกด้วย ซึ่งการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งานอย่างต่อเนื่องของตู้ตรวจความดันบวกดังกล่าว คณะวิศวฯ ได้รับคำแนะนำจากการใช้งานจริงของทีมแพทย์โรงพยาบาลศิริราช

          จากสถานการณ์โควิด-19 เมื่อปี 2563 ตู้ความดันบวก เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีความจำเป็น  และเป็นที่ต้องการของโรงพยาบาล โดยคณะวิศวฯ ได้ผลิตตู้ความดันบวกไปส่งมอบให้กับทีมแพทย์โรงพยาบาลศิริราช เพื่อใช้คัดกรองผู้ป่วยมะเร็งก่อนเข้ารับการผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เฉลี่ยชั่วโมงละ 20 คน ซึ่งผลการใช้งาน เป็นที่พึงพอใจของแพทย์เป็นอย่างมาก

ล่าสุดในสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ ปี 2564 คณะวิศวฯ มก. ได้ผลิตและส่งตู้ความดันบวก  ไปยังโรงพยาบาลต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาภรณ์  โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า และโรงพยาบาลพระปกเกล้า จ.จันทบุรี

ทีมผู้พัฒนายังคงพัฒนาและปรับปรุงอุปกรณ์ย่อยของตู้ตรวจความดันบวกอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับให้มี ความเหมาะสมกับการใช้งานของบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งเพื่อลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศด้วยต่อไป       ในอนาคต….

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่