ENG KU NEWS

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
ผู้บริหารคณะวิศวฯ ร่วมพิธีเปิดกิจกรรม Mini-Symposium and Collaboration Discussion KU-USTBผู้บริหารคณะวิศวฯ ร่วมทีมผู้บริหาร ม.เกษตรศาสตร์ เข้าพบเอกอัครราชทูตเนปาล หารือแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ-วิจัยคณะวิศวฯ มก. – คณะวิศวฯ มกธ. ลงนามร่วมมือทางวิชาการม.เกษตรฯ และ วว. จับมือร่วมวิจัยพัฒนานวัตกรรมยานยนต์พลังงานสะอาดขับเคลื่อนไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืนคณะวิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์-เทศบาลเขตรอุดมศักดิ์ ลงนามความร่วมมือจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนแบบบูรณาการผู้บริหาร-บุคลากรคณะวิศวฯ ร่วมในพิธีเปิด โครงการสร้างสังคม Strong รุ่นที่ 1คณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดงาน Open House: KU Engineering Sparksคณะวิศวฯ ต้อนรับคณะเยี่ยมชมศึกษาดูงาน ด้านประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กรคณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดการประชุมบุคลากร ครั้งที่ 1/2568คณะวิศวฯ จัดอบรมเปิดแผนที่ทุนวิจัยนวัตกรรม: เตรียมพร้อมปั้นแนวคิดสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

คณะวิศวฯ มก. ร่วมกับกลุ่มบริษัท อินเทลโนเวชั่น ส่งมอบตู้ความดันบวก แก่ รพ.พระนั่งเกล้า

เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2564 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.)  ร่วมกับกลุ่มบริษัท อินเทลโนเวชั่น ส่งมอบตู้ความดันบวกให้ทีมแพทย์โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.พีรยุทธ์ ชาญเศรษฐิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วยคุณภัทรันดา ลีละยูวะ และนายสัตวแพทย์ธนันต์ ลีละยูวะ ผู้บริหารกลุ่มบริษัท อินเทลโนเวชั่น ร่วมส่งมอบตู้ความดันบวกให้กับนายแพทย์มณเฑียร เพ็งสมบัติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

ตู้ความดันบวกดังกล่าว ออกแบบและพัฒนาโดยทีมอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวฯ มก.  นำโดย ผศ.ดร.ประพจน์ ขุนทอง หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล รศ.ดร.วีรชัย ชัยวรพฤกษ์ ผศ.ดร.เกรียงไกร  อัศวมาศบันลือ ผศ.ดร.อรรถพร วิเศษสินธุ์ และ ผศ.ดร.เจตวีย์ ภัครัชพันธุ์ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณการจัดสร้างตู้ความดันบวกจากกลุ่มบริษัท อินเทลโนเวชั่น จำนวน 1.5 แสนบาท

หลักการทำงานของตู้ความดันบวก คือ แพทย์ผู้ตรวจจะอยู่ภายในตู้ตรวจ และผู้ป่วยอยู่ภายนอก โดยแพทย์จะเข้า-ออกตู้ตรวจผ่านประตูกระจก เพิ่มความปลอดภัย มั่นใจทั้งผู้ใช้งานและผู้เข้ารับการตรวจ สามารถใช้ตรวจ   ผู้ป่วยได้ 20-30 คน/ชั่วโมง/ตู้

นอกจากนี้ ตู้ความดันบวกยังมีเครื่องปรับอากาศเพิ่มความสบายให้กับผู้ปฏิบัติงานภายในตู้ มีไมโครโฟน และลำโพงเพิ่มความชัดเจนในการสื่อสารระหว่างแพทย์ผู้ตรวจและผู้เข้ารับการตรวจที่อยู่ภายนอกตู้ตรวจ             รวมทั้งยังสามารถเปิดช่องให้ผู้ป่วยยื่นมือเข้าไปในตู้เพื่อทำการเจาะเลือดได้อีกด้วย ซึ่งการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งานอย่างต่อเนื่องของตู้ตรวจความดันบวกดังกล่าว คณะวิศวฯ ได้รับคำแนะนำจากการใช้งานจริงของทีมแพทย์    โรงพยาบาลศิริราช

          จากสถานการณ์โควิด-19 เมื่อปี 2563 ตู้ความดันบวก เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีความจำเป็น     และเป็นที่ต้องการของโรงพยาบาล โดยคณะวิศวฯ ได้ผลิตตู้ความดันบวกไปส่งมอบให้กับทีมแพทย์โรงพยาบาลศิริราช เพื่อใช้คัดกรองผู้ป่วยมะเร็งก่อนเข้ารับการผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เฉลี่ยชั่วโมงละ 20 คน ซึ่งผลการใช้งานเป็นที่พึงพอใจของแพทย์เป็นอย่างมาก

ล่าสุดในสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ ปี 2564 คณะวิศวฯ มก. ได้ผลิตและส่งตู้ความดันบวกไปยังโรงพยาบาลต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาภรณ์  โรงพยาบาลพระปิ่นเกล้า และโรงพยาบาลพระปกเกล้า จ.จันทบุรี

ทีมผู้พัฒนายังคงพัฒนาและปรับปรุงอุปกรณ์ย่อยของตู้ตรวจความดันบวกอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานของบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งเพื่อลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศด้วยต่อไป  ในอนาคต….

 

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่