ENG KU NEWS

วันพฤหัสที่ 01 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
[คณะวิศวฯ ร่วมงานสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 89 ปี]อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ หารือความร่วมมือด้านวิชาการ วิจัย ร่วมกับ NCAC มองโกเลียคณบดีและผู้บริหารคณะ รับมอบทุนสนับสนุนจัดซื้อครุภัณฑ์สำหรับอาคารหัวลำโพง จากนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ รุ่น E37คณะจัดเสวนาวิชาการ i-Forum เรื่อง SMR นิวเคลียร์ขนาดเล็ก ดีจริงหรือ?คณะฯ จัด PQI 2025 : Workshop & Coaching & Training ในโครงการพัฒนาคุณภาพและผลิตภาพภายในองค์กร (Productivity Quality Improvement: PQI)คณะวิศวฯ จัดโครงการ พัฒนาศักยภาพการวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ประจำปี 2568ขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาควิชาวิศวกรรมเคมี พร้อมนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ ได้รับรางวัล STAR OF CAMP ในงาน Start Up Thailand Leage 2025คณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน ครบรอบ 22ปีคณะวิศวฯ นำถังหมักเศษอาหารแบบเติมอากาศ ร่วมแสดงและสาธิตการใช้งาน ในโครงการไม่เทรวมคณะวิศวฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ i-Connect เชื่อมโยงโลกด้วย AI และทักษะภาษาอังกฤษ

วิศวฯ จับมือ บ.เบลตัน ร่วมวิจัยพัฒนากระบวนการผลิต

             เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2548 อ.นนทวัฒน์ จันทร์เจริญ คณบดี ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนาระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์กับบริษัท  เบลตัน (ประเทศไทย) จำกัด  ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ โดยมี Mr.Ronnie Chia กรรมการผู้จัดการฯ เป็นผู้ลงนามร่วมในพิธีที่จัดขึ้น ณ ห้องประชุม อาคารวิศวกรรมศาสตร์ 60 ปี

จากการร่วมมือดังกล่าว คณะวิศวกรรมศาสตร์โดยภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ และบริษัท เบลตัน (ประเทศไทย) จำกัด จะมีความร่วมมือกันในด้านการวิจัยและพัฒนาด้านกระบวนการผลิตและการควบคุมคุณภาพ รวมถึงการจัดฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำแก่ทางบริษัทโดยโครงการความร่วมมือแรกที่จะดำเนินการวิจัย คือ การวิจัยเรื่องการพัฒนากระบวนการวิเคราะห์หาอนุภาคหนัก (Hard Particles Analysis, HPA) ในกระบวนการผลิตโดยใช้เทคนิค Scanning Electron Microscopy ที่ติดตั้งอุปกรณ์วิเคราะห์ทางเคมี (SEM/EDS) ทำให้ได้ผลวิเคราะห์ที่น่าเชื่อถือและทำให้สามารถควบคุมกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ เนื่องจากหากมีการปนเปื้อนของอนุภาคหนักในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้จะก่อให้เกิดผลเสียต่อการทำงานของฮาร์ดดิสก์ โดยในเบื้องต้นทางบริษัทฯ ได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือของภาควิศวกรรมวัสดุที่ใช้ในการวิจัยนี้คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1 ล้านบาท

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่