ENG KU NEWS

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
นิสิตวิศวฯ เครื่องกล-วิศวฯ วัสดุ คว้ารางวัลชนะเลิศ แผนรณรงค์ สร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในสถานศึกษา Toyota Campus Challenge 2023วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานคณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 88 ปีอาจารย์คณะวิศวฯ-คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานในการประชุม Sino-Thai Symposium on Energy and New Materialsผู้บริหาร-อาจารย์คณะ หารือความร่วมมือด้านวิจัย-วิชาการ กับ Tamkang University, Taiwanผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ National Tsing Hua University (NTHU) ไต้หวันผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ Tunghai University ไต้หวันร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ MCUT ไต้หวัน  ผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ ร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการกับผู้บริหาร Yuan Ze University, Taiwanอาจารย์คณะได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น (ศ.11)

อาจารย์วิศวฯ ไฟฟ้า คิดต้นแบบเครื่องมือสื่อสารใช้ในภาวะภัยพิบัติ

อาจารย์วิศวฯ ไฟฟ้า คิดต้นแบบเครื่องมือสื่อสารใช้ในภาวะภัยพิบัติ

           จากเหตุการณ์ภัยพิบัติธรรมชาติที่เกิดขึ้นหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นภัยดินถล่ม น้ำท่วมฉับพลัน หรือแม้กระทั่งเหตุการณ์สึนามิ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งด้านชีวิตและทรัพย์สินนั้น อุปสรรคสำคัญที่พบในขณะที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันในขณะเกิดเหตุการณ์นั้นๆ ได้   เนื่องมาจากเครื่องสื่อสารต่างๆ ไม่สามารถใช้งานได้ หรือเกิดจากการใช้เครื่องสื่อสารคนละประเภท วิทยุสื่อสารคนละย่านความถี่ เครือข่ายล้มเหลว   ทำให้การประสานงานหรือการปฏิบัติงานเป็นไปคนละทิศทาง เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวทำให้ 2 อาจารย์นักวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าคิดค้นต้นแบบเครื่องสื่อสารเพื่อใช้ในภาวะภัยพิบัติขึ้น

            รศ.ดร.มงคล รักษาพัชรวงศ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และ ผศ.วัชรี วีรคเชนทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า 2 อาจารย์นักวิจัยผู้คิดค้น ต้นแบบระบบสื่อสารด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมเพื่อใช้ในภาวะภัยพิบัติ ได้กล่าวถึงที่มาของการคิดค้นต้นแบบอุปกรณ์ดังกล่าวว่า “จากปัญหาการสื่อสารระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในขณะเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ ที่ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จึงได้คิดค้นอุปกรณ์ที่สามารถทำให้ระบบสื่อสารต่างประเภท หรือวิทยุที่มีย่านความถี่ต่างกัน ใช้งานร่วมกันได้ โดยการดำเนินการผ่านระบบสื่อสารด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม IP Star ของประเทศไทย เช่น การสื่อสารด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์พื้นฐาน อุปกรณ์สื่อสารทางเสียงผ่าน IP (VoIP) หรือแม้แต้เครื่องคอมพิวเตอร์ ให้สามรถติดต่อกันได้ นอกจากจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศที่มีราคาสูงแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการใช้งานเป็นของตัวเอง ส่งเสริมการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีอวกาศ การประยุกต์ใช้ดาวเทียมสื่อสารของประเทศเพื่อใช้ในกิจการต่างๆ ให้แพร่หลายขึ้นด้วย”

ต้นแบบระบบระบบฯ ดังกล่าว ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ศูนย์บัญชาการส่วนกลาง ใช้เป็นอุปกรณ์ประสานงานด้านการสื่อสารของอุปกรณ์ส่วนหน้าให้สามารถเชื่อมต่อจากในพื้นที่ประสบภัยมายังศูนย์บัญชาการส่วนกลางได้ เพื่อติดต่อขอความช่วยเหลือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้โดยตรง อุปกรณ์หลัก คือ ระบบวิทยุสื่อสารและสายอากาศ ระบบเครือข่ายข้อมูล ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมและระบบไฟฟ้า สื่อสารของประเทศเพื่อใช้ในกิจการต่างๆ ให้แพร่หลายขยมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการใช้งานเป็ฯำงานไปคนละทิศูนย์บัญชาการส่วนหน้าหรือชุดเคลื่อนที่ ทำหน้าที่ ประสานงานหน่วยงานในพื้นที่และศูนย์บัญชาการส่วนกลาง เปรียบเสมือนตัวกลางในการสื่อสารข้อมูลเป็นส่วนที่ต้องนำเข้าไปในพื้นที่ภัยพิบัติ จึงต้องสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพแวดล้อม อุปกรณ์ที่ใช้ ประกอบด้วย ระบบเครือข่ายข้อมูล ระบบวิทยุและสายอากาศ ระบบสื่อสารข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ระบบ Wi-Fi Long Range และระบบไฟฟ้า ส่วนประกอบสุดท้ายคือ ชุดปฏิบัติการย่อยหรือชุดขยายพื้นที่ ใช้เป็นอุปกรณ์ขยายพื้นที่ในการปฏิบัติงานโดยเฉพาะการใช้งานเป็นอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่าย สำหรับให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงาน ซึ่งเน้นไปเพื่อใช้ในงาน Tele-Conference และ Tele-Medicine เป็นหลัก โดยใช้ระบบ Wi-Fi Long Range และระบบไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์หลัก โดยชุดเคลื่อนที่นี้เปรียบเสมือนระบบสื่อสารสำรองในยามที่ภัยพิบัติที่ระบบหลักๆ ไม่สามารถดำเนินการได้ อีกทั้งยังมีเครือข่ายที่เป็นของตัวเองไม่อ้างอิงกับระบบอื่นๆ ทำให้สามารถนำระบบอื่นๆ เข้ามาใช้งานร่วมกันได้อีกด้วย

รศ.ดร.มงคลฯ กล่าวต่อว่า “ทีมนักวิจัยได้ออกแบบให้ต้นแบบระบบกล่าว สามารถติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว สะดวกในการดำเนินการ รวมถึงมีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ มีระบบหลักและระบบสำรองให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง มีความสามารถในการรองรับปริมาณข้อมูล ข่าวสารและเชื่อต่อกับชุดเคลื่อนที่ เพื่อให้สามารถประสานงานสั่งการหรือบังคับบัญชาได้รวมถึงสามารถรองรับการติดต่อสื่อสารทดแทนระบบสื่อสารหลักในยามที่เกิดวิกฤติการณ์ด้านการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ภัยพิบัติให้สามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้มากขึ้น”

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นจะเห็นได้ถึงประโยชน์มากมายในการนำระบบสื่อสารฯ นี้ไปใช้งานในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภัย ธรรมชาติโดยปัจจุบันมีกว่า 2,000 แห่ง ทั่วประเทศไทย (ข้อมูลจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ) และจะเห็นได้อีกว่าถ้าระบบดังกล่าวนี้ติดตั้งไปยังองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลอำเภอ ที่ว่าการจังหวัด หรือส่วนราชการต่างๆ แล้ว ข้อมูลข่าวสารในเรื่องต่างๆ ก็จะเชื่อมต่อกันได้อย่างเป็นระบบ และยังสามารถนำไปจัดสร้างเป็นข้อมูลด้านพื้นที่เสี่ยงภัย ข้อมูลด้านทรัพยากรทางการสื่อสาร หรือข้อมูลที่สำคัญอื่นๆ อาทิเช่น ข้อมูลการเกษตร (สำหรับนำมาวิจัยและพัฒนา) ข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยา (เพื่อนำไปทำนายน้ำฝน) เป็นต้น ซึ่งสามารถสร้างให้ประเทศไทยมีองค์ความรู้ในด้านต่างๆ มากยิ่งขึ้น ……

แนวคิดในการออกแบบต้นแบบระบบสื่อสารด้วยเทคโนโลยี 

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่