ENG KU NEWS

วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
นิสิตวิศวฯ เครื่องกล-วิศวฯ วัสดุ คว้ารางวัลชนะเลิศ แผนรณรงค์ สร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในสถานศึกษา Toyota Campus Challenge 2023วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานคณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 88 ปีอาจารย์คณะวิศวฯ-คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานในการประชุม Sino-Thai Symposium on Energy and New Materialsผู้บริหาร-อาจารย์คณะ หารือความร่วมมือด้านวิจัย-วิชาการ กับ Tamkang University, Taiwanผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ National Tsing Hua University (NTHU) ไต้หวันผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ Tunghai University ไต้หวันร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ MCUT ไต้หวัน  ผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ ร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการกับผู้บริหาร Yuan Ze University, Taiwanอาจารย์คณะได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น (ศ.11)

นิสิตวิศวฯ โชว์ผลงานเยี่ยม กวาด 3 รางวัลพร้อมครองแชมป์ Young ICT

นิสิตวิศวฯ โชว์ผลงานเยี่ยม กวาด 3 รางวัลพร้อมครองแชมป์ Young ICT

        นิสิตวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศและรางวัลชมเชย จากการประกวด ICT Contest ประจำปี พ.ศ.2551 ในโครงการ Young ICT จัดโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อเฟ้นหาเยาวชนผู้มีความสามารถในการพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์อย่างสร้างสรรค์และมีจริยธรรม ประกอบด้วย นายชววัฒน์ ชาญศิริเจริญกุล จากผลงานเกม Green Alert Defense คว้ารางวัลชนะเลิศ ประเภทบุคคล นายอัคร์วัฒน์ ตรีอนุสรณ์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ประเภทบุคคล จากผลงาน ภาษาวิบัติ Hunter และทีมเรามองเห็นปัญหา โดยมีสมาชิกในทีม คือ นายนิพนธ์ เลิศหิรัญวงศ์ นายพัฒนา ลีลารัศมี นายภาณุพงษ์ ลิ้มพิสูจน์และนายไพบูลย์ พนัสบดี ได้รับรางวัลชมเชย ประเภททีม ด้วยผลงาน Green Analyzer นิสิตทั้งหมดได้เข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณพร้อมเงินรางวัล ………**…..…. บาท(ตามลำดับ) จากนายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในพิธีที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2551 ณ ห้องประชุมมัฆวานรังสรรค์ สโมสรทหารบก

จากผู้เข้าร่วมโครงการ 596 คนทั่วประเทศ การพัฒนาผลงานจนเอาชนะใจกรรมการและได้รับรางวัลชนะเลิศนั้น มีแรงบันดาลใจอย่างไรนั้น นายชววัฒน์ฯ กล่าวถึงผลงานว่า ”เกม Green Alert Defense หรือเกมรวมพลพรรครักษ์โลกนี้ เป็นเกมที่ต้องการสื่อให้กลุ่มเด็กและวัยรุ่นเห็นถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยผู้เล่นเกมจะต้องช่วยกันปกป้องต้นไม้แห่งโลกโดยการร่วมกันปลูกต้นไม้และสร้างคน เพื่อร่วมลดมลภาวะ ก่อนที่มลพิษจะเข้าไปถึงต้นไม้แห่งโลก มีตัวละครเป็นการ์ตูนที่มีสีสันสดใสในเกม คือ มลพิษ และกองกำลังรักษ์โลก

ส่วนที่ยากที่สุด คือ ขั้นตอนของการพัฒนาเกม คือ ต้องทำให้เกมมีความสมดุลและต้องมีความน่าสนใจ รวมถึงผู้เล่นต้องมีความรู้สึกสนุกในระหว่างการเล่นเกมด้วย ส่วนเครื่องมือที่ใช้พัฒนาเกม คือ Flash Interactive ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้โต้ตอบกับผู้ใช้งานนั่นเอง   ใช้เวลาในการพัฒนาเกมเพียง 2 สัปดาห์ โดยมี ผศ.ดร.จิตร์ทัศน์ ฝักเจริญผล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา”

นิสิตอีกหนึ่งคนที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ด้วยผลงานเกม ภาษาวิบัติ Hunter นายอัครวัฒน์ฯ กล่าวว่า”ในปัจจุบัน ในกลุ่มเด็กและวัยรุ่นมีการเขียนและใช้คำในภาษาไทยที่ผิดหลัก ด้วยความตระหนักถึงปัญหาในส่วนนี้ ได้คิดพัฒนาเกมที่สามารถตรวจทานคำผิด หากผู้เล่นพิมพ์คำในภาษาไทยผิด จะถูกยิงและหักคะแนน โดยในเกมจะแสดงคำที่เขียนถูกต้องให้ผู้เล่นได้ทราบด้วย ข้อสำคัญในการพัฒนาเกมครั้งนี้คือ นอกจากต้องการให้ผู้เล่นเกมได้รับความสนุกจากการเล่นเกมแล้ว ยังต้องการให้ได้รับความรู้ทางด้านภาษาไทยและนำไปใช้อย่างถูกต้องด้วย”

สำหรับกลุ่มนิสิตเจ้าของรางวัลชมเชย จากผลงาน Green Analyzer ช่วยกันกล่าวถึงผลงานว่า”โปรแกรมที่ได้พัฒนาขึ้นมานี้ ใช้เวลาในการพัฒนา 2 สัปดาห์ ด้วยภาษา PHP (Personal Home Page) เพื่อสำรวจและวัดปริมาณต้นไม้ในบริเวณที่กำหนด โดยมีแรงบันดาลใจมาจากการที่ต้องการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในเมืองใหญ่ๆ ด้วยการปลูกต้นไม้ให้มากขึ้น หากบริเวณใดมีปริมาณต้นไม้จำนวนน้อย โปรแกรมดังกล่าวจะแจ้งผลให้ทราบ โดยจะมีการคำนวณจำนวนต้นไม้และพื้นที่บริเวณนั้น ส่วนที่ยากที่สุดในการพัฒนาซอฟต์แวร์นี้ คือการแปลงภาพจากโปรแกรม Google Earth ให้เป็นภาพสีเพื่อนำมาวิเคราะห์พื้นที่สีเขียว

เกมและซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่นิสิตวิศวฯ กลุ่มนี้ได้พัฒนาขึ้นมานั้นนับเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของการร่วมกระตุ้นให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัว และช่วยกันหาทางแก้ไขเพื่อบรรเทาปัญหาเหล่านั้น นิสิตวิศวกรรมคอมพิวเตอร์กลุ่มนี้คงไม่อยากให้เป็นเพียงแค่ผลงานที่อยู่เพียงในจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น จะเป็นการดียิ่งหากทุกคนนำออกมาใช้นอกจอ โดยใช้ในชีวิตประจำวัน ผลงานที่พวกเขาเหล่านั้นคิดค้นและพัฒนา คงมีคุณค่ามากขึ้นอีกหลายเท่าตัว..

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่