ENG KU NEWS

วันจันทร์ที่ 06 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
นิสิตวิศวฯ เครื่องกล-วิศวฯ วัสดุ คว้ารางวัลชนะเลิศ แผนรณรงค์ สร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในสถานศึกษา Toyota Campus Challenge 2023วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานคณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 88 ปีอาจารย์คณะวิศวฯ-คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานในการประชุม Sino-Thai Symposium on Energy and New Materialsผู้บริหาร-อาจารย์คณะ หารือความร่วมมือด้านวิจัย-วิชาการ กับ Tamkang University, Taiwanผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ National Tsing Hua University (NTHU) ไต้หวันผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ Tunghai University ไต้หวันร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ MCUT ไต้หวัน  ผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ ร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการกับผู้บริหาร Yuan Ze University, Taiwanอาจารย์คณะได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น (ศ.11)

วิศวฯ เปิดสถานีภาคพื้นดิน รับ – ส่งสัญญาณดาวเทียม SMMS

วิศวฯ เปิดสถานีภาคพื้นดิน รับ – ส่งสัญญาณดาวเทียม SMMS

ภายหลังจากความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในโครงการร่วมสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์ Small Multi-Mission Satellite (SMMS)   ซึ่งในส่วนของประเทศไทย คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยคณะนักวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ และภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ได้รับความไว้วางใจจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ให้ทำการศึกษา วิจัย ออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์สื่อสารย่าน Ka-Band เพื่อติดตั้งในดาวเทียม SMMS รวมถึงการจัดสร้างสถานีภาคพื้นดินเพื่อใช้ในการสื่อสารกับระบบดังกล่าว ในวงเงินสนับสนุน 105 ล้านบาท

ในช่วงที่ผ่านมา คณะนักวิจัย นำโดย รศ.ดร.ศานติ วิริยะวิทย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ ในฐานะหัวหน้าโครงการ และ รศ.ดร.มงคล รักษาพัชรวงศ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ในฐานะหัวหน้าคณะวิจัย พร้อมด้วยคณะทำงาน ได้เดินทางไปทำการวิจัย ออกแบบและพัฒนา รวมถึงการทดสอบอุปกรณ์สื่อสารย่าน Ka-Band รวมถึงติดตั้งอุปกรณ์บนดาวเทียม SMMS ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างต่อเนื่อง   และเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2551   ได้มีพิธีส่งดาวเทียม SMMS ในชื่อของ HJ-1A ขึ้นสู่วงโคจร ณ ศูนย์ส่งดาวเทียมเมืองไท่หยวน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากดาวเทียมดวงดังกล่าวใน 3 ด้าน คือ ด้านการสื่อสาร ด้านการสังเกตการณ์โลก และด้านการทดลองวิทยาศาสตร์         และยังรวมถึงการใช้งานในด้านการบริหารการจัดการชายฝั่ง     การเฝ้าระวังภัยพิบัติ   การเกษตรกรรม การชลประทาน   การประมง   การสำรวจและการจัดทำแผนที่อีกด้วย

นอกจากการร่วมสร้างและส่งดาวเทียม   SMMS ขึ้นสู่วงโคจรแล้ว   อีกหนึ่งผลงานที่สำคัญของคณะนักวิจัย   คือ   การจัดสร้างสถานีภาคพื้นดินและติดตั้งอุปกรณ์ภายในสถานีเพื่อรับ-ส่งสัญญาณ Ka-Band จากดาวเทียม SMMS ที่โคจรผ่านบริเวณประเทศไทยวันละ 2 รอบ รอบละประมาณ 8-12 นาที ปัจจุบันสถานีดังกล่าวติดตั้งแล้วเสร็จพร้อมใช้งานแล้ว โดยจะเป็นสถานีรับ-ส่งสัญญาณย่าน Ka-Band แห่งแรกของประเทศไทย ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสื่อสารอวกาศ ในเบื้องต้นจะมีโครงการศึกษาผลกระทบของสภาพบรรยากาศต่อการสื่อสารย่าน Ka-Band ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการออกแบบระบบสื่อสารย่านดังกล่าวของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้ยังจะมีการศึกษาความสัมพันธ์ของคุณภาพสัญญาณกับการเกิดภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ได้ในอนาคตอีกด้วย

ล่าสุดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้จัดให้มีพิธีเปิดสถานีภาคพื้นดินอย่างยิ่งใหญ่ ณ อาคารชูชาติ กำภู ภายในงานได้มีการลงนามส่งมอบการใช้งานสถานีให้แก่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยมีนายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ลงนามร่วมกับรองศาสตราจารย์วุฒิชัย กปิลกาญจน์   อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   และนายจาง เว่ย เลขานุการใหญ่องค์กรความร่วมมือในด้านเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์แห่งภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก (AP-MCSTA)     พร้อมด้วยนายจาง หงไถ่ รองประธานกรรมการของสภาเทคโนโลยีอวกาศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (CAST)  มีอาจารย์ นักวิจัย สื่อมวลชนและผู้สนใจเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง

ดาวเทียม SMMS เป็นดาวเทียมวงโคจรต่ำ อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 649 กิโลเมตร มีน้ำหนัก 510 กิโลกรัม โคจรในแนวเหนือ-ใต้ มีอายุการใช้งานประมาณ 3 ปี สำหรับข้อมูลที่ประเทศไทยได้จากดาวเทียม SMMS ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนไม่ได้คิดค่าใช้จ่ายเนื่องจากเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ และเพื่อให้การนำข้อมูลจากดาวเทียม SMMS ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คณะวิศวฯ ได้จัดอบรมถ่ายทอดความรู้การประยุกต์ใช้งานข้อมูลจากดาวเทียม SMMS แก่หน่วยงานต่างๆ ในอนาคตอาจจะมีการร่วมมือในการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมดวงอื่นๆ ของจีนที่กำลังทยอยส่งขึ้นสู่วงโคจรในเร็วๆ นี้

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่