ENG KU NEWS

วันพฤหัสที่ 09 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
นิสิตวิศวฯ เครื่องกล-วิศวฯ วัสดุ คว้ารางวัลชนะเลิศ แผนรณรงค์ สร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในสถานศึกษา Toyota Campus Challenge 2023วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานคณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 88 ปีอาจารย์คณะวิศวฯ-คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานในการประชุม Sino-Thai Symposium on Energy and New Materialsผู้บริหาร-อาจารย์คณะ หารือความร่วมมือด้านวิจัย-วิชาการ กับ Tamkang University, Taiwanผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ National Tsing Hua University (NTHU) ไต้หวันผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ Tunghai University ไต้หวันร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ MCUT ไต้หวัน  ผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ ร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการกับผู้บริหาร Yuan Ze University, Taiwanอาจารย์คณะได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น (ศ.11)

นิสิตวิศวฯ คว้าแชมป์ประเทศไทยTopGun Rally 2008

นิสิตวิศวฯ คว้าแชมป์ประเทศไทยTopGun Rally 2008

นิสิตวิศวกรรมศาสตร์ ทีม SKUBAA คว้ารางวัลชนะเลิศระดับประเทศจากการแข่งขัน TESA Top Gun Rally 2008 ประชันทักษะทางด้านสมองกลฝังตัว ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ การพัฒนาต้นแบบ Real-Time Engine Control Unit (ECU) จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)   ร่วมกับ   บริษัท โตโยต้า ทูโช อิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัทปูนซิเมนต์ไทยจำกัด (มหาชน) มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)   และคณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเป็นสถานที่จัดการแข่งขันครั้งนี้ด้วย จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-25 ตุลาคม 2551 มีนิสิต นักศึกษา 21 ทีม จำนวน 105 คน จาก 19 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศเข้าร่วมแข่งขัน โดยนิสิตทีม SKUBAA ได้เข้ารับโล่รางวัลพร้อมใบประกาศเกียรติคุณ และเงินรางวัล จำนวน 50,000 บาท จาก ผศ.อภิเนตร อูนากูล นายกสมาคมสมองกลฝังตัวไทย ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2551 ที่ผ่านมา

ทีม SKUBAA ประกอบด้วย   นิสิตวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 2 จำนวน 2 คน   คือ   นายปิยเมษฐ์ วสุนทพิชัยกุล และ นายณัฏฐ์ ปิยปราโมทย์ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 1 คน คือ นายชานน อ่อนมั่น พร้อมด้วยนิสิตวิศวกรรมไฟฟ้า ชั้นปีที่ 2 และ 4 ตามลำดับ คือ นายฐิติวัฒน์ มุนินทรวงศ์ และนายภัคชนม์ หุ่นสุวรรณ์

นายปิยเมษฐ์ฯ กล่าวว่า”เคยเข้าร่วมการแข่งขันเมื่อปีที่แล้วและได้รับรางวัลรองชนะเลิศ และในปีนี้ได้นำประสบการณ์จากการแข่งขันครั้งที่แล้วมาฝึกฝนและพัฒนาทักษะ ในระหว่างการแข่งขันจะมีการอบรมให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีก่อน และเขียนโปรแกรมแก้ไขปัญหาจากโจทย์ที่ได้รับในแต่ละวัน หลังจากนั้นจะมีคณะกรรมการประเมินออกมาเป็นคะแนนสะสมในแต่ละวัน ทีมที่มีคะแนนรวมสูงสุดจะเป็นผู้ชนะ ซึ่งทีม SKUBAA ทำได้ถึง 453.725 คะแนน ซึ่งสูงสุดในปีนี้ โดยทิ้งห่างจากทีมรองชนะเลิศถึง 70 กว่าคะแนน”

นายณัฐฏ์ฯ หนึ่งในสมาชิกทีม SKUBAA กล่าวเสริมว่า “ทีม SKUBAA ได้ใช้เวลาในการเตรียมตัวเพียง 1 สัปดาห์ก่อนการแข่งขัน โดยเป็นการตั้งโจทย์ขึ้นมาแล้วช่วยกันเขียนโปรแกรมขึ้นมา เพื่อดูว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้นบ้าง หลังจากนั้นก็ช่วยกันแก้ปัญหา เป็นการซักซ้อมความเข้าใจในการทำงานของแต่ละคนในทีม” โจทย์หลักๆ ของการแข่งขัน คือ การพัฒนาตัวควบคุมเครื่องยนต์ (Engine Control Unit : ECU) สำหรับเครื่องยนต์ 1 หลังจากได้รับโจทย์มาแล้ว จะร่วมทำงานแบบเป็นทีม โดยแบ่งงานตามความถนัด ของแต่ละคนอย่างชัดเจน แต่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้งานสำเร็จไปด้วยดี”

หลังจากได้รับรางวัลครั้งนี้แล้ว สมาชิกในทีม SKUBAA บางส่วนยังต้องเตรียมตัวเพื่อรับศึกการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์รอบชิงแชมป์ประเทศไทย ที่จะจัดขึ้นในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2551 อีกด้วย ความแตกต่างในสาขาวิชา หรือ ความถนัดที่แตกต่างกันในสมาชิกทีม SKUBAA แต่ละคน   ไม่เป็นอุปสรรคในการทำงานร่วมกันเลย เพียงแต่รู้จักนำความแตกต่างนั้นมาวางให้ถูกจุด ให้ทุกคนได้แสดงความสามารถในส่วนของตนอย่างเต็มที่ และช่วยกันแก้ปัญหาอย่างสุดความสามารถ รวมถึงการวางแผนและวิเคราะห์ถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า   และนี่คือเหตุผลว่าทำไมทีม SKUBAA จึงได้รับรางวัลชนะเลิศในครั้งนี้…..

– แยกกรอบ / แบ่งสี –

อาจารย์นนทวัฒน์ จันทร์เจริญ คณบดี กล่าวว่า “ทีม Top Gun Rally “SKUBAA” นับเป็นอีกตัวอย่างที่ชัดเจนของความมีคุณสมบัติ 3i-Engineer ตามวิสัยทัศน์ของคณะวิศวฯ มก. กล่าวคือ

Innovation   การพัฒนาต้นแบบ Real-Time Engine Control Unit (ECU) ถือว่าเป็นนวัตกรรมเป็นสิ่งใหม่ ที่ใช้ความรู้ความสามารถของตนเอง และ ผลงานมีศักยภาพที่จะพัฒนาต่อสู่เชิงพาณิชย์ได้

Integration   มีการบูรณาการที่ชัดเจนทั้งการใช้ความรู้หลากหลายด้านเข้าด้วยกัน และ นิสิตต่าง สาขาวิชา ต่างชั้นปี มาทำงานด้วยกันด้วยทีมเวิร์คที่เข้าขากันอย่างดี มีการตีโจทย์ปัญหาร่วมกันแล้วกระจายและแบ่งงานกันรับผิดชอบและนำผลงานมาผนวกรวมกัน (Integration) ได้ดีมาก

Improvement ทีม Top Gun Rally ของคณะวิศวฯ มก. มีพัฒนาการแต่ละปีอย่างต่อเนื่อง จากการได้รับรางวัลชมเชยในครั้งที่ 1   และต่อมา ได้รางวัลรองชนะเลิศ ในครั้งที่ 2 จนถึงล่าสุดคือครั้งที่ 3 ที่สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ มาครองได้สำเร็จ อย่างสมศักดิ์ศรี”

 

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่