ENG KU NEWS

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
นิสิตวิศวฯ เครื่องกล-วิศวฯ วัสดุ คว้ารางวัลชนะเลิศ แผนรณรงค์ สร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในสถานศึกษา Toyota Campus Challenge 2023วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานคณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 88 ปีอาจารย์คณะวิศวฯ-คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานในการประชุม Sino-Thai Symposium on Energy and New Materialsผู้บริหาร-อาจารย์คณะ หารือความร่วมมือด้านวิจัย-วิชาการ กับ Tamkang University, Taiwanผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ National Tsing Hua University (NTHU) ไต้หวันผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ Tunghai University ไต้หวันร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ MCUT ไต้หวัน  ผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ ร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการกับผู้บริหาร Yuan Ze University, Taiwanอาจารย์คณะได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น (ศ.11)

การท่าเรือว่าจ้างวิศวฯ กว่า 300 ล้านบาท ติดตั้งระบบอัตโนมัติ ควบคุมผ่านเข้า-ออกประตูและจัดเก็บค่ายานพาหนะผ่านท่า

การท่าเรือว่าจ้างวิศวฯ กว่า 300 ล้านบาท ติดตั้งระบบอัตโนมัติ ควบคุมผ่านเข้า-ออกประตูและจัดเก็บค่ายานพาหนะผ่านท่า

       สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับความไว้วางใจจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย หน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม ให้ดำเนินโครงการวิจัยและติดตั้งระบบควบคุมการผ่านเข้า-ออกประตูตรวจสอบอัตโนมัติ (e-Gate) ของท่าเรือกรุงเทพ คลองเตย     และงานติดตั้งระบบจัดเก็บค่ายานพาหนะผ่านท่า (e-Toll Collection system)   ของท่าเรือแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี     ด้วยงบประมาณทั้งสิ้น   315,000,000 บาท (สามร้อยสิบห้าล้านบาทถ้วน) ในระยะเวลาตั้งแต่ 29 สิงหาคม 2551 – 28 ตุลาคม 2552 โดยมี ผศ.ดร.สมนึก คีรีโต ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ ลงนามในบันทึกความร่วมมือกับ นางสุนิดา สกุลรัตนะ   ผู้อำนวยการท่าเรือแห่งประเทศไทย และ อ.นนทวัฒน์ จันทร์เจริญ   คณบดี   ร่วมเป็นสักขีพยาน เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2551   ในพิธีที่จัดขึ้น ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารการท่าเรือแห่งประเทศไทย

ผศ.ดร.สมนึกฯ   ในฐานะหัวหน้าโครงการ   กล่าวว่า “งานวิจัยและติดตั้งระบบที่ท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง เป็นระบบควบคุมการผ่านเข้า-ออกประตูตรวจสอบโดยอัตโนมัติ โดยอาศัยเทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification) ระบบประมวลผลภาพ (Image Processing)   ระบบอ่านหมายเลขตู้คอนเทนเนอร์อัตโนมัติ (Optical Character Recognition) ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV-Closed Circuit Television System) ระบบเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP-Voice over Internet Protocol) และระบบตรวจสอบลักษณะของรถบรรทุก โดยทำงานประสานกับระบบตรวจสอบผู้ขับขี่รถบรรทุก ตรวจสอบลักษณะยานพาหนะ และตรวจสอบตู้สินค้า เพื่อควบคุมการผ่านเข้า-ออกได้โดยอัตโนมัติ และยังสามารถควบคุมการทำงานได้จากระยะไกลอีกด้วย โดยระบบดังกล่าวจะถูกนำไปติดตั้งในช่องทางเดินรถเข้า-ออกท่าเรือทั้งสองแห่งมากกว่า 64 ช่องทางใน 10 สถานีตรวจสอบ เพื่อควบคุมการผ่านเข้า-ออกของยานพาหนะทุกประเภท โดยอัตโนมัติและไม่จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ประจำในแต่ละช่องทางอีกต่อไป

สถาบันนวัตกรรมฯ   มีความมุ่งมั่นที่จะทำโครงการนี้ให้ประสบผลสำเร็จ  เพื่อให้ท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรืออัตโนมัติ (Electronics Port: e-Port) มีความทันสมัยและอำนวยความสะดวกกับผู้ใช้บริการมากขึ้น พร้อมทั้งรองรับการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือและการเดินเรือระหว่างประเทศตามมาตรฐานสากลอีกด้วย”

นอกเหนือจากสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นหน่วยงานหลักแล้ว การดำเนินการยังมีคณาจารย์ ทีมนักวิจัยและนักพัฒนาระบบผู้มีความเชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา ทั้งด้านวิศวกรรมโยธา สถาปัตยกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ วิศวกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และด้านการบริหารโครงการ ที่มีประสบการณ์และผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องในเรื่องที่เกี่ยวข้องมามากกว่า 10 ปีร่วมงานในครั้งนี้ด้วย

 

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่