ENG KU NEWS

วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
นิสิตวิศวฯ เครื่องกล-วิศวฯ วัสดุ คว้ารางวัลชนะเลิศ แผนรณรงค์ สร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในสถานศึกษา Toyota Campus Challenge 2023วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานคณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 88 ปีอาจารย์คณะวิศวฯ-คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานในการประชุม Sino-Thai Symposium on Energy and New Materialsผู้บริหาร-อาจารย์คณะ หารือความร่วมมือด้านวิจัย-วิชาการ กับ Tamkang University, Taiwanผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ National Tsing Hua University (NTHU) ไต้หวันผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ Tunghai University ไต้หวันร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ MCUT ไต้หวัน  ผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ ร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการกับผู้บริหาร Yuan Ze University, Taiwanอาจารย์คณะได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น (ศ.11)

คณะวิศวฯ ม.เกษตร หนึ่งในเบื้องหลังความสำเร็จ สนามบินสุวรรณภูมิ

                 ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการไปแล้วสำหรับสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2548 ที่ผ่านมา สนามบินที่ไทยตั้งใจคาดหวังจะให้เป็นสนามบินศูนย์กลางการบินนานาชาติของภาคพื้นเอเชีย และอย่างที่เราทราบกันดีว่า พื้นที่โดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิตั้งอยู่ ณ พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำหลาก มักจะเกิดปัญหาน้ำท่วมเวลาที่ฝนตกหนัก การศึกษาและออกแบบเพื่อแก้ไขปัญหาการระบายน้ำและบรรเทาน้ำท่วมในพื้นที่บริเวณโดยรอบสนามบิน จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการออกแบบสนามบินหรืองานออกแบบโครงสร้างความแข็งแรง และหน่วยงานหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในการศึกษาออกแบบระบบระบายน้ำบริเวณโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ มีชื่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นแกนหลักรวมอยู่ด้วย

รศ.ดร.วีระพล แต้สมบัติ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ กล่าวว่า “จากการที่กรมชลประทานได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหาการระบายน้ำและบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะบริเวณโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ จึงได้ทำการว่าจ้างสถาบันที่ปรึกษา 3 แห่ง ประกอบด้วยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาทำการสำรวจและออกแบบระดับ Tender Design ซึ่งเป็นการออกแบบที่ผู้รับเหมาสามารถทำการประมูลแต่ต้องผ่านการอนุมัติจึงจะสามารถดำเนินการต่อได้ในโครงการศึกษาทบทวนโครงการระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ โดยมีระยะเวลาดำเนินการศึกษา12 เดือน        ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2546 – เดือนมกราคม 2548        ในวงเงินว่าจ้าง 18 ล้านบาท  คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์รับผิดชอบงานประมาณ 70% ของโครงการทั้งหมด ในส่วนของการศึกษาความเหมาะสม การสำรวจออกแบบต่างๆ   ศึกษาแผนหลัก แผนเร่งด่วน ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น รวมทั้งการประชาสัมพันธ์”

รศ.ดร.วีระพลฯ กล่าวถึงแผนเร่งด่วนว่า “ในส่วนของแผนเร่งด่วนก็จะเป็นการขุดคลองระบายน้ำสายใหม่บริเวณตั้งแต่คลองสำโรงถึงชายทะเลพร้อมอาคารสถานีสูบน้ำและการติดตั้งระบบโทรมาตร

การขุดคลองระบายน้ำจะเป็นคลองเปิดและมีคันกั้นน้ำเลาะโอบทั้งสองด้านของคลอง เวลาที่เร่งน้ำออก น้ำจากบริเวณโดยรอบสนามบินก็จะมาเข้าคลองสำโรงและระบายออกทะเลโดยตรงด้วยคลองสายใหม่นี้  และเนื่องจากเป็นคลองที่มีคันกั้นน้ำก็เลยทำเป็นถนน ฝั่งละ 2 เลน ซึ่งนอกจากจะเป็นคลองระบายน้ำแล้วยังสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งปี  คือเป็นเส้นทางคมนาคม เป็นคลองเก็บน้ำไว้อุปโภคบริโภคได้ และที่สำคัญเวลาน้ำท่วมยังทำหน้าที่พร่องน้ำ ระบายน้ำออกจากสนามบินโดยตรง

แผนเร่งด่วนอีก 1 แผน คือ การติดตั้งระบบโทรมาตร เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำหลากโดยการวัดปริมาณน้ำฝนและระดับน้ำทุกๆ ชั่วโมงหรือทุกๆ 15 นาที ระบบจะส่งข้อมูลจากสถานีติดตั้งมายังหน่วยควบคุมซึ่งจะทำให้ทราบว่าปริมาณน้ำฝนและระดับน้ำเป็นอย่างไร ทำให้สามารถจัดการกับน้ำได้ว่าจะให้ไหลไปทางไหนได้หรือเร่งระบายออกไปสู่บริเวณใด  และระบบโทรมาตรนี้ ม.เกษตร รับผิดชอบในส่วนของการออกแบบ”

ในส่วนของแผนระยะสั้นในพื้นที่เร่งด่วน คือ มีการเสนอให้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพการระบายน้ำและคลองระบายน้ำจากถนนบางนา-ตราดถึงคลองสำโรง จำนวน 22 สาย  ส่วนพื้นที่นอกเขตพื้นที่เร่งด่วนเสนอให้มีการปรับปรุงสภาพลำน้ำและระบบระบายน้ำเพื่อเร่งผันน้ำลงสู่แม่น้ำบางปะกงและอ่าวไทยตามแนวพระราชดำริ โดยเพิ่มขีดความสามารถของการระบายน้ำทางทุ่งฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา     ด้วยการใช้ระบบคลองและลำน้ำที่มีอยู่เดิม

สำหรับแผนระยะยาว เสนอให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการขุดคลองผันน้ำบางไทร-คลองด่าน-อ่าวไทย โดยมีจุดเริ่มต้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาผ่านทุ่งฝั่งตะวันออกและระบายน้ำลงทะเลที่อ่าวไทย และศึกษาแนวทางเลือกเพื่อเปรีบยเทียบทางเลือก ได้แก่ การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง การกำหนดและพัฒนาพื้นที่ชะลอน้ำท่วมและแก้มลิงขนาดใหญ่ในบริเวณพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา เป็นต้น โดยมาตรการดังกล่าวจะต้องมีการศึกษาทบทวนและเปรียบเทียบมาตรการอื่นๆ แบบบูรณาการทั้งลุ่มน้ำเจ้าพระยาก่อนที่จะดำเนินการลำดับต่อไป

ขณะนี้การศึกษาทบทวนโครงการระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์และได้ส่งมอบผลการศึกษาทั้งหมดให้กับกรมชลประทานเพื่อดำเนินการต่อไปเรียบร้อยแล้ว และจะเริ่มดำเนินการก่อสร้าง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2548 เป็นต้นไป โดยมีระยะเวลาก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 26 เดือน”

และนี่เป็นมาตรการที่จะจัดการน้ำหลากและระบายน้ำในพื้นที่บริเวณโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ  สนามบินที่ดีและทันสมัยที่สุดในโลก โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตร มีส่วนเป็นหนึ่งในผู้เป็นเบื้องหลังความสำเร็จของสนามบินซึ่งถือเป็นประตูด่านแรกของการเข้าสู่เมืองไทยของคนต่างชาติ เป็นหน้าเป็นตาที่คนไทยภูมิใจ……………….

 

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่