ENG KU NEWS

วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
นิสิตวิศวฯ เครื่องกล-วิศวฯ วัสดุ คว้ารางวัลชนะเลิศ แผนรณรงค์ สร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในสถานศึกษา Toyota Campus Challenge 2023วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานคณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 88 ปีอาจารย์คณะวิศวฯ-คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานในการประชุม Sino-Thai Symposium on Energy and New Materialsผู้บริหาร-อาจารย์คณะ หารือความร่วมมือด้านวิจัย-วิชาการ กับ Tamkang University, Taiwanผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ National Tsing Hua University (NTHU) ไต้หวันผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ Tunghai University ไต้หวันร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ MCUT ไต้หวัน  ผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ ร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการกับผู้บริหาร Yuan Ze University, Taiwanอาจารย์คณะได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น (ศ.11)

นิสิตวิศวฯ คว้ารางวัล Popular Photo Prize และ อันดับ 4 Singapore AUV Challenge 2016

นิสิตวิศวฯ คว้ารางวัล Popular Photo Prize และ อันดับ 4 Singapore AUV Challenge 2016

            นิสิตวิศวกรรมไฟฟ้า ทีม Caramel Macchiato คว้ารางวัล Popular Photo Prize และรางวัลอันดับ 4 จากการแข่งขันพัฒนาหุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำแบบอัตโนมัติ Singapore AUV Challenge 2016 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 4-6 มีนาคม 2559 จัดโดย IEEE OES Singapore ร่วมกับ Singapore Polytechnic ณ ประเทศสิงคโปร์

สมาชิกทีม Caramel Macchiato ประกอบด้วยนิสิตภาควิศวกรรมไฟฟ้า ระดับปริญญาโท 1 คน คือ นายธีรธัช อริยชาติผดุงกิจ และปริญญาตรีอีก 3 คน คือนายกันดิศ วงศ์สุวรรณ นายกลยุทธ์ สรงกระสินธ์ และนางสาวพฤฒาภรณ์ เมาลานนท์ และมีอาจารย์ ดร.กาญจนพันธุ์ สุขวิชชัย อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

ธีรธัช หนึ่งในสมาชิกทีม เล่าให้ฟังว่า “การแข่งขันครั้งนี้มีทีมต่างๆ จากทั่วโลกเข้าร่วมการแข่งขันมากถึง 19 ทีม จากประเทศอินเดีย สิงคโปร์ จีน มาเลเซีย บังคลาเทศ รัสเซีย อียิปต์ และไทย โดยหุ่นยนต์ใต้น้ำของทีม Caramel Macchiato ที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อแข่งขันครั้งนี้ ทางทีมได้พัฒนาให้มีขนาดเล็ก และใช้เทคโนโลยีที่มีในประเทศ สามารถพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถผลิตได้จริงในปริมาณมาก โดยมีราคาถูกกว่าเครื่องนำเข้าจากต่างประเทศ สามารถประยุกต์ใช้ในการเก็บข้อมูลแบบดิจิทัลของแนวปะการังและสภาพแวดล้อมตามแนวชายฝั่งได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย ลดความจำเป็นในการใช้ผู้เชี่ยวชาญในการดำน้ำได้อีกด้วย

นอกจากนี้ การร่วมแข่งขันครั้งนี้ได้รับประสบการณ์และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีจจากทีมต่างๆ ที่เข้าแข่งขัน เพื่อนำไปเป็นแนวทางการพัฒนาหุ่นยนต์ในอนาคตต่อไป

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่