ENG KU NEWS

วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ข่าวล่าสุด :
นิสิตวิศวฯ เครื่องกล-วิศวฯ วัสดุ คว้ารางวัลชนะเลิศ แผนรณรงค์ สร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในสถานศึกษา Toyota Campus Challenge 2023วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานคณะวิศวฯ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวนศาสตร์ มก. ครบรอบ 88 ปีอาจารย์คณะวิศวฯ-คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานในการประชุม Sino-Thai Symposium on Energy and New Materialsผู้บริหาร-อาจารย์คณะ หารือความร่วมมือด้านวิจัย-วิชาการ กับ Tamkang University, Taiwanผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ National Tsing Hua University (NTHU) ไต้หวันผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ Tunghai University ไต้หวันร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ กับ MCUT ไต้หวัน  ผู้บริหาร-อาจารย์ คณะวิศวฯ ร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการกับผู้บริหาร Yuan Ze University, Taiwanอาจารย์คณะได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น (ศ.11)

อาจารย์วิศวฯ โยธา ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา

   อาจารย์วิศวฯ โยธา ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา แก่รองศาสตราจารย์ ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ โดยโปรดเกล้าให้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีแทนพระองค์ เพื่อเข้ารับพระราชทานเหรียญดังกล่าว ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2558 ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา

เหรียญดุษฎีมาลาเป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์ สำหรับพระราชทานเป็นที่ระลึก เรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า เหรียญแพรแถบ เป็นเหรียญบำเหน็จความชอบในราชการ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2425 อันเป็นมหามงคล สมัยครบรอบ 100 ปี ที่หนึ่งนับแต่ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานีและทรงตั้งราชวงศ์จักรียั่งยืนมานาน จนถึงสมัยของพระองค์ท่าน

รองศาสตราจารย์ ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญฯ ในสาขาวิศวกรรมนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญงานด้านวิศวกรรมปฐพี ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมดิน ฐานราก ธรณีภัย ดินถล่ม แผ่นดินไหว วิศวกรรมเขื่อน การป้องกันตลิ่งแม่น้ำ เป็นต้น โดยเป็นผู้ที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านต่าง ๆ บางส่วนดังต่อไปนี้

  1. การป้องกันและลดผลกระทบจากดินถล่ม ผลงานบางที่สำคัญได้แก่
  • พัฒนาระบบเตือนภัยดินถล่มล่วงหน้าในลักษณะของแผนที่เตือนภัยทุกช่วงเวลา (AP Model) โดย เป็นระบบแรกในภูมิภาคที่สามารถเตือนภัยล่วงหน้าได้ถึง 3 วัน และสามารถนำไปใช้ในการเตือนภัยจริงในทางปฏิบัติได้โดยปัจจุบัน นำไปใช้โดยกรมทรัพยากรธรณี
  • พัฒนากล่องเตือนภัยดินถล่มประจำบ้าน ซึ่งเป็นกล่องเตือนภัยแบบไร้สายที่ติดตั้งประจำบ้านที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงดินถล่ม เป็นการคิดรูปแบบการรับข้อมูลการเตือนภัยแบบใหม่ทดแทนการใช้เสาสัญญาณ ที่อาจจะมีปัญหาในขณะฝนตกหนักและมีราคาสูง ปัจจุบันระบบดังกล่าว ได้ติดตั้งในหลายหมู่บ้านที่มีความเสี่ยงสูงโดยกรมทรัพยากรธรณี และมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก
  • พัฒนาระบบการเตือนภัยดินถล่มภายใต้ฐานชุมชน โดยพัฒนาระบบการเตือนภัยที่สามารถให้หน่วยงานรัฐและชุมชนสามารถร่วมกันเตือนภัยภายใต้ข้อมูลต่างระดับกัน โดยไม่จำเป็นต้องรอหรือพึ่งข้อมูลกันในสภาวะวิกฤติ
  • เป็นผู้พัฒนาและนำความรู้ทางวิศวกรรมปฐพีซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่สามารถอธิบายหรือทำนายพฤติกรรมดินถล่มได้ไปใช้ และถ่ายทอดให้กับหน่วยงานราชการและองค์กรที่รับผิดชอบในงานด้านดินถล่มต่าง ๆ ผ่านทางการทำให้โครงการร่วมกัน ทำให้เกิดการเชื่อมประสานทางองค์ความรู้ทางวิชาการ ได้แก่ กรมทรัพยากรณี กรมทรัพยากรน้ำ กรมชลประทาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน Asian Disaster Preparedness Center, Myanmar Engineering Society, UNDP in Lao PDR.
  1. งานศึกษาด้านธรณีวิศวกรรมแผ่นดินไหว ผลงานบางส่วนที่สำคัญได้แก่
  • การประเมินผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อชั้นดินในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล
  • การศึกษาวิธีในการลดผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานจากพฤติกรรมทรายเหลวเนื่องจากแผ่นดินไหว
  • การพัฒนาบ้านต้านทานแผ่นดินไหวสำคัญผู้มีรายได้น้อย

3. งานด้านวิศวกรรมความปลอดภัยเขื่อน

  • การประเมินความมั่นคงเขื่อนต่อแรงกระทำแผ่นดินไหว โดยได้ดำเนินการศึกษาและพัฒนาวิธีในการสำรวจและประเมินมาอย่างต่อเรื่อง และได้ทำการประเมินเขื่อนถมขนาดใหญ่ทุกเขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว อาทิเช่น เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ์ เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนรัชชประภา เป็นต้น รวมทั้งเขื่อนของกรมชลประทานอีกหลายแห่งทั้งที่สร้างไปแล้วและกำลังพัฒนาโครงการ
  • เป็นหัวหน้าคณะในการดำเนินการศึกษาเพื่อปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพ หรือซ่อมแซมเขื่อนขนาดใหญ่หลาย ๆ เขื่อนได้แก่ เขื่อนลำปาง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เขื่อนวชิราลงกรณ์ เขื่อนลำตะคองตอนบน เขื่อนแม่มาว เป็นต้น โดยความรู้จากการดำเนินการดังกล่าวได้นำมาเขียนเป็นหนังสือวิศวกรรมความปลอดภัยเขื่อน

4. งานช่วยเหลือสังคม โดยเป็นที่ประจักษ์ถึงการเข้าไปช่วยเหลือทางวิชาการแก่หน่วยงานต่าง ๆ หรือการให้ความรู้กับสื่อมวลชนในยามที่เกิดวิกฤตที่เกี่ยวข้องกับธรณีภัย น้ำท่วม และงานวิศวกรรมต่าง ๆ โดยดำเนินการในหลากหลายสถานะตามแต่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นกรณีการเกิดหลุมยุบที่ถนนพระรามที่ 4 การเข้าไปช่วยเหลือหน่วยงานต่าง ๆ ในเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงราย พ.ศ.2557 การร่วมกับสื่อมวลชนให้ความรู้ประชาชนระหว่างเหตุการณ์น้ำท่วมปี พ.ศ. 2554 การเข้าไปช่วยและให้ข้อคิดเห็นแก่ประชาชนในกรณีตลิ่งแม่น้ำพิบัติหลากหลายเหตุการณ์ การให้ความรู้ประชาชนด้านการป้องกันดินถล่มผ่านรายการโทรทัศน์ในหลายโอกาส เป็นต้น ทั้งนี้กิจกรรมต่าง ๆ ดังกล่าวได้แสดงได้ตามตำแหน่งในองค์กรต่าง ๆ ที่รับหน้าที่ดังตัวอย่างบางส่วน เช่น อุปนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ President, Thai Geotechnical Society Chairman, Disaster Mitigation committee, ASEAN Federation of Engineering Organization. กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ กรรมการคณะกรรมการขุดดินและถมดินและประธานมูลนิธิมดชนะภัย เป็นต้น

 

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรา

ข่าวล่าสุด

ติดตามเราได้ที่